บ้านก็ต้องผ่อน หนี้ก็ต้องใช้ เปิดวิธีใช้เงินอย่างไรในวันที่ไม่มีรายได้ช่วงวิกฤตโควิด

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจประเภทต่างๆ อย่างหนัก ผู้ประกอบการหลายรายจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานเพื่อความอยู่รอด

SAN PEDRO SULA, HONDURAS – AUGUST 19: Laura Guevara holds her son Emerson, 14 months, outside her one-room home in an impoverished neighborhood on August 19, 2017 in San Pedro Sula, Honduras. Honduras is consistently ranked as one of the poorest nations in the Western Hemisphere and has one of the highest murder rates in the world. The poverty and violence have driven immigration to the U.S. although the numbers of U.S.-bound immigrants has dropped greatly during the first months of the Trump Presidency. (Photo by John Moore/Getty Images)

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในเดือนมีนาคม 2563 ไทยมีผู้ว่างงานประมาณ 3.92 แสนคน เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีผู้ว่างงานประมาณ 3.46 แสนคน (ดูสถิติฉบับเต็มได้ที่นี่)

จำนวนผู้ว่างงานที่สูงขึ้นในช่วง 1 ปีนี้ทำให้เกิดคำถามที่ว่า หากอยู่ๆ คุณก็กลายเป็นผู้ว่างงานอย่างกระทันหัน คุณจะทำอย่างไรกับหนี้สินที่มีอยู่ ทั้งหนี้บ้าน หนี้รถยนต์ หนี้เพื่อการศึกษา รวมถึงหนี้บัตรเครดิต ทางออกที่ดีที่สุดคือการเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อช่วยประคับประคองให้ผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายนี้ไปได้

มองภาพรวมพื้นฐานทางการเงินของคุณก่อน

การมองภาพรวมพื้นฐานทางการเงินเป็นสิ่งแรกที่คุณควรทำ หากอยู่ๆ คุณต้องกลายเป็นคนว่างงานอย่างไม่ทันตั้งตัว คุณควรตั้งสติให้ดีก่อนเพื่อป้องกันการตัดสินใจที่ผิดพลาดในช่วงนี้ โดยอาจมองภาพรวมในชีวิตก่อนก็ได้ว่า คุณมีหนี้สินอะไรบ้างที่จำเป็นต้องรีบจ่ายในเร็วๆ นี้ จากนั้นมองไปที่หนี้ในระยะยาว และความจำเป็นพื้นฐานในชีวิตที่ต้องใช้เงิน

ภาพจาก Shutterstock

โดยหนี้ที่มี คุณต้องจำแนกให้ได้ว่าคุณติดหนี้อยู่เท่าไหร่ อัตราดอกเบี้ยแพงแค่ไหน รวมถึงช่วงเวลาที่คุณจะต้องจ่ายหนี้ เมื่อทราบข้อมูลเหล่านี้หมดแล้ว สิ่งที่คุณต้องให้ความสนใจในลำดับถัดไปคือ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น ค่าอาหาร ของใช้ภายในบ้าน รวมถึงหนี้บ้าน

แม้ว่าคุณจะไม่สามารถทำให้หนี้หายไปในเวลาสั้นๆ ได้ แต่คุณสามารถวางแผนจัดการกับหนี้ โดยให้ความสำคัญกับสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันมากที่สุดก่อน โดยเฉพาะที่อยู่อาศัย และปากท้องที่ต้องกินอิ่มทุกๆ วัน

ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่มีความจำเป็นก็ควรตัดออกไปให้ได้มากที่สุด เช่น ค่าเสื้อผ้า อาหารราคาแพง หรือสินค้าที่มีความฟุ่มเฟือยอื่นๆ รวมถึงพยายามไม่ดึงเงินจากเงินที่จะเตรียมเพื่อเกษียณอายุมาใช้ แต่ให้ใช้เงินจากส่วนอื่นๆ ที่เก็บไว้ในยามฉุกเฉินแทน

ในช่วงนี้ไม่ควรหยุดใช้หนี้ แต่ต้องเลือกหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงก่อน ภาพจาก pixabay.com

ทั้งนี้ไม่ใช่แค่การพยายามจัดการกับหนี้เก่าเท่านั้นที่มีความสำคัญ แต่การไม่ก่อหนี้ใหม่ก็สำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดีขึ้น จนคุณอาจสามารถกลับเข้าไปทำงานได้ตามปกติแล้ว คุณควรสร้างวินัยทางการเงินที่ดี เพื่อหลีกเลี่ยงการก่อหนี้ที่ไม่จำเป็นเพิ่ม

ค่อยๆ ใช้หนี้ต่อไป อย่าหยุด

ถึงแม้ว่ารายได้ของคุณจะหายไปบางส่วนเพราะถูดลดเงินเดือน หรือไม่มีรายได้เลยเพราะตกงาน แต่หากคุณยังพอมีเงินที่จะใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอย่างเพียงพอ คุณสามารถจัดสรรเงินเหล่านั้นมาเพื่อใช้หนี้บางส่วนได้

แต่อย่าลืมว่าหนี้ทุกอย่างอาจไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ให้หมดในเวลาเดียวกัน หนี้ที่คุณควรให้ความสนใจคือหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ซึ่งหากปล่อยไว้นานๆ จะกลายเป็นว่าหนี้จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอย่างหนี้เพื่อการศึกษา สามารถค่อยๆ ทยอยจ่ายคืนไปเรื่อยๆ ได้

แต่เรื่องบ้านและรถยนต์ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน อย่ามัวแต่พะวงกับหนี้บัตรเครดิต จนลืมสิ่งที่เป็นพื้นฐานให้กับชีวิตอย่างบ้านและรถยนต์ งหากถูกยึดไปคุณอาจไม่มีที่อยู่อาศัย และใช้ชีวิตอย่างยากลำบากกว่าเดิมได้

มองหามาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาล

สำรวจดูมาตรการเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนของรัฐบาล เช่น มาตรการเราไม่ทิ้งกันที่จะมอบเงินช่วยเหลือให้กับบุคคลที่ได้รับความเดือดร้อน เดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับกลุ่มคนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม

ส่วนคนที่เป็นแรงงานอยู่ในระบบประกันสังคม หากถูกเลิกจ้างหรือพักงานชั่วคราวโดยไม่ได้รับเงินเดือน เพราะบริษัทได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็สามารถขอรับเงินช่วยเหลือจากสำนักงานประกันสังคมได้เช่นกัน

มาตรการคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า ช่วยลดรายจ่ายได้ ภาพจาก pixabay.com

นอกจากนี้ยังมีมาตรการอื่นๆ ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันให้กับประชาชนทางอ้อม โดยเฉพาะการคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า การให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำปะปา รวมถึงให้สิทธิ์ในการใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือฟรี แม้ว่าจะดูเป็นเงินจำนวนไม่มากนักแต่ก็สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนได้ เรียนรู้และรักษาสิทธิประโยชน์ส่วนตัวบ้าง

ปรึกษาธนาคารตรงๆ อย่าปิดบัง

ในช่วงสถานการณ์ที่ยากลำบากแบบนี้ หลายธนาคารได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคาร ทั้งการลดอัตราการผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตจากเดิม 10% เหลือเพียง 5% การพักชำระหนี้บางประเภทชั่วคราว รวมถึงการลดอัตราดอกเบี้ย

หลายธนาคารออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้บัตรเครดิตแล้ว ภาพ pixabay.com

ซึ่งข้อมูลการช่วยเหลือของธนาคารคุณสามารถติดตามได้จากหน้าเว็บไซต์ของแต่ละธนาคาร ซึ่งจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป โดยบางมาตรการจะมีผลบังคับใช้กับลูกหนี้ของธนาคารทุกราย แต่บางมาตรการอาจต้องอาศัยการติดต่อเข้าไปเพื่อขอใช้มาตรการความช่วยเหลือ

อย่างไรก็ตามการติดต่อธนาคารเพื่อปรึกษาปัญหาทางการเงินเป็นสิ่งที่ควรทำมากที่สุด หากธนาคารรู้สถานะทางการเงินของคุณ ว่าคุณได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ธนาคารจะได้ร่วมกันกับคุณในการหามาตรการเพื่อช่วยเหลือในการผ่อนชำระหนี้ได้อย่างดีที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ที่มา – Money, สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา