อยู่ไม่ได้! นักข่าว BBC ในจีนต้องอพยพไปไต้หวันเพราะเปิดโปงเรื่องอุยกูร์ ซินเจียง

สำนักข่าว BBC เผย มีนักข่าวที่ทำข่าวอยู่ในจีนต้องย้ายออกจากจีนไปอยู่ไต้หวัน การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นขณะที่กำลังมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์จีนอย่างหนักเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนมุสลิมอุยกูร์ในซินเจียง ทั้งนี้ BBC ไม่ได้ระบุว่าเหตุใด John Sudworth (จอห์น ซัดเวิร์ธ) ถึงต้องย้ายออกจากจีน  แต่ในแถลงการณ์ระบุว่า ผลงานของจอห์นเปิดโปงความจริงของเจ้าหน้าที่จีนที่ไม่ต้องการให้โลกรู้

BBC in China in case forced labor in Xinjiang

รายงานการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์พ่นพิษ: นักข่าว BBC ต้องย้ายออกจากจีน

ทั้งนี้ BBC ได้เปิดเผยรายงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่ามีผู้หญิงในซินเจียงถูกกักตัวในค่ายสำหรับชาวอุยกูร์ ที่มีทั้งการข่มขืน การล่วงละเมิดทางเพศ และการทรมาน แม้ว่านักข่าวจอห์นจะไม่ใช่หนึ่งในนักข่าวที่ BBC อ้างชื่อในรายงานที่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแต่กระทรวงต่างประเทศจีน สื่อจีนที่สนับสนุนโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนต่างก็วิพากษ์วิจารณ์ถึงชื่อจอห์น

อย่างไรก็ดี จีนพยายามพูดถึงประเด็นนี้หลายครั้งว่าการรายงานข่าวของ BBC มีความผิดพลาด และปฏิเสธข้อมูลดังกล่าวที่รัฐบาลตะวันตกระบุว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียง ขณะเดียวกัน Global Times ที่เป็นดั่งกระบอกเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์ ก็อ้างว่ามีการเผยแพร่ข่าวปลอม มีการเผยแพร่ข่าวลือเกี่ยวกับซินเจียงและมีการพูดให้ร้ายนโยบายจีนที่มีต่อพื้นที่นี้

ทั้งนี้ Joanne Ou โฆษกกระทรวงต่างประเทศของไต้หวันไม่ได้แสดงความคิดเห็นต่อกรณีนี้โดยเฉพาะเจาะจง แต่กล่าวแสดงความยินดีที่จะต้อนรับนักข่าวทุกคนให้มาไต้หวันและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับเสรีภาพในการนำเสนอข่าวและการพูดได้

[ทวีตข้อความของไช่ อิงเหวิน กรณีการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง ไช่ อิงเหวินขอให้จีนเคารพหลักการสิทธิมนุษยชนเพราะเป็นหลักการสากล จีนควรหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าด้วยการหยุดกดปราบและใช้กำลังบังคับใช้แรงงานชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบในฐานะมหาอำนาจโลก]

ในส่วนของ จอห์น ซัดเวิร์ธ ซึ่งเป็นผู้นำเสนอรายงานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง จีนนั้น ทางด้าน BBC ระบุว่า ขณะที่จอห์นเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ในซินเจียง ผลงานชิ้นนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลด้วย แต่ตอนนี้เขาและครอบครัวก็ได้ย้ายออกจากจีนแล้ว BBC ทวีตข้อความภูมิใจในการทำหน้าที่ผู้สื่อข่าวอย่างเต็มภาคภูมิของเขาอย่างมาก

BBC จีนไม่ใช่รายแรกที่โดนข่มขู่ คุกคาม สำนักข่าวหลายแห่งก็ถูกกระทำเช่นเดียวกัน

จอห์นอยู่จีนมาเป็นเวลา 9 ปีแล้ว เขาและครอบครัวต้องย้ายออกจากจีนหลังจากที่รายงานข่าวและมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จีนกรณีบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียงดังไปทั่วโลก เขาพบว่าเขาเริ่มใช้ชีวิตยากขึ้น เขาและทีมงานต้องเผชิญกับการสอดส่องอยู่ตลอดเวลา มันทำให้เขาเริ่มมีอุปสรรคในการทำงาน มีการคุกคามคามเขาผ่านกฎหมาย การข่มขู่ เมื่อใดก็ตามที่เขาพยายามจะถ่ายทำ เขาและทีมถูกติดตามและฟุตเทจที่เขาถ่ายไว้ก็ถูกลบทิ้งในช่วงปลายปี 2020 ที่ผ่านมา

ปีที่ผ่านมา จีนขับไล่ผู้สื่อข่าวจากหลากหลายองค์กร ทั้ง The New York Times, Washington Post และ Wall Street Journal นอกจากนี้ ยังให้นักข่าวชาวออสเตรเลียสองรายบินกลับบ้านหลังจากที่มีความขัดแย้งทางการทูตกับออสเตรเลียได้เพียงห้าวัน ขณะที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศในจีนระบุว่านักข่าวกำลังถูกจับตาและจำกัดเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลอย่างหนัก

ประเด็นเรื่องการแบนการนำเสนอข่าวของ BBC ในจีนนั้น สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศในจีนเคยออกแถลงการณ์ผ่านทวิตเตอร์ว่า จีนได้จำกัดการนำเสนอข้อมูลต่างประเทศในจีนมาหลายปีแล้ว และยังเซ็นเซอร์การใช้อินเทอร์เน็ตของพลเมือง มีการบล็อคเว็บไวต์สำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่ง ซึ่งก็รวมถึง BBC ด้วย

[คลิปด้านบนเป็นการรายงานการบังคับใช้แรงงานชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ในซินเจียงที่จอห์น ซัดเวิร์ธนำเสนอ]

ที่มา – The Guardian, BBC (1), (2), John Sudworth

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา