MUJI สาขาจีน ไม่เปลี่ยนใจ ยืนยันใช้ฝ้ายจากซินเจียง

MUJI แบรนด์แฟชั่นค้าปลีกสัญชาติญี่ปุ่นก็เป็นอีกหนึ่งรายที่เปิดเผยไว้เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า MUJI สาขาจีนจะยังใช้สินค้าที่ผลิตจากฝ้ายซินเจียงต่อไป โดย Global Times ที่เปรียบดั่งกระบอกเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนโควทคำพูดผู้แทน MUJI สาขาในจีนระบุว่า บริษัทเราจะยังใช้ฝ้ายจากซินเจียงต่อไป

MUJI Xinjiang forced labor

ทั้งนี้ สินค้าจาก MUJI ที่แสดงใน Tmall ระบุไว้ในแผ่นป้ายติดสินค้าชัดเจนว่าเป็นฝ้ายจากซินเจียง แต่ยังไม่แน่ชัดว่า MUJI จะยังใช้ฝ้ายจากซินเจียงสำหรับเสื้อผ้าที่ขายในญี่ปุ่นหรือประเทศอื่นหรือไม่

ในแถลงการณ์ระบุว่า ได้ให้ความสนใจต่อรายงานที่เกี่ยวกับประเด็นการเหยียดเชื้อชาติว่าด้วยเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นชนกลุ่มน้อยและการบังคับใช้แรงงานในซินเจียงแล้ว รู้สึกกังวลอย่างยิ่ง ซึ่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเว็บไซต์ของบริษัท MUJI สาขาจีนได้ระบุป้ายที่สินค้าว่าเป็นฝ้ายจากซินเจียงสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างไรก็ดี ทาง MUJI ไม่ได้ตอบข้อซักถามกับ Nikkei Asia กรณีที่ว่าสำหรับสินค้าในญี่ปุ่นหรือที่ผลิตขายในประเทศอื่นๆ ใช้ฝ้ายจากซินเจียงหรือไม่ แต่ก็ทำให้หุ้นตกลงไป 6.8%

MUJI ระบุว่า ทางบริษัทจะสอบถามไปยังบริษัทที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานให้พัฒนาสภาพการทำงานและระมัดระวังมาตรการที่ไม่เหมาะสม เพื่อปกป้องไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานของสินค้า MUJI หากมีมาตรการไม่เหมาะสม ทางบริษัทจะสอบถามไปยังซัพพลายเออร์ทันทีเพื่อความถูกต้องและยุติสัญญาจนกว่าจะมีการพัฒนาแนวทางในการผลิตสินค้าที่ดีขึ้น

ภาพจาก Shutterstock

จีนเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับ MUJI ถือเป็นสัดส่วน 17% ของยอดขาายนับตั้งเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายนในปีงบประมาณ 2019 ข้อมูลจากเดือนสิงหาคม ปีเดียวกัน ระบุว่า MUJI มีหน้าร้านอยู่ในจีนมากถึง 274 แห่ง รัฐบาลชาติตะวันตกทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อังกฤษและแคนาดาล้วนออกแถลงการณ์ตอบโต้การละเมิดสิทธิมนุษยชนชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ในซินเจียงแต่ญี่ปุ่นไม่ได้เข้าร่วมด้วย MUJI ไม่ใช่แบรนด์สัญชาติญี่ปุ่นรายเดียวที่ไม่คว่ำบาตรจีนเรื่องนี้ แต่ยังมี Asics ด้วยที่ยังคงยินดีใช้ฝ้ายคุณภาพสูงจากซินเจียงต่อไป

สื่อจาก Taiwan News ระบุว่า MUJI หุ้นตก แต่ทางบริษัทก็ไม่ได้ออกมาเปิดเผยว่าเรื่องหุ้นตกนี้เกี่ยวข้องกับการใช้ซัพลลายเออร์ฝ้ายจากซินเจียงหรือไม่อย่างไร อย่างไรก็ดีการที่หุ้นของ Ryohin Keikaku ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ MUJI มูลค่าตลาดลดลง 2.29 หมื่นล้านเยนหรือประมาณ 208.84 ล้านเหรียญสหรัฐ

หลายแบรนด์เดินหน้าคว่ำบาตรจีน ไม่ว่าจะเป็น H&M, Nike, Zara, Burberry ขณะเดียวกันผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตก็รุมคว่ำบาตรแบรนด์กลับไม่ต่างกัน ซึ่งก็รวม Adidas, GAP, Uniqlo, New Balance และ Fila รวมทั้ง BCI ด้วย ข้อมูลล่าสุดยังไม่พบว่าแบรนด์ต่างๆ ได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรของชาวจีนหรือไม่

ที่มา – Nikkei Asia, Business & Human Rights, Taiwan News, Weibo

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา