สื่อโฆษณาตอบรับแคมเปญต้านการใช้ hate speech ต่อเนื่อง ถือว่ามาถูกทางแล้วสำหรับ “Stop Hate for Profit” ที่จุดกระแสติดได้มากพอสมควร เพราะหลายแบรนด์ หลากองค์กรธุรกิจให้ความสนใจร่วมระงับโฆษณาบนแพลตฟอร์ม Facebook, Instagram รวมถึงโซเชียลมีเดียรายอื่นๆ ด้วย
#StopHateforProfit เตรียมเดินหน้าแบน Facebook ในสื่อโฆษณายุโรป
ล่าสุด แคมเปญ “Stop Hate for Profit” เตรียมขยายเครือข่ายแบน Facebook ด้วยการเริ่มเรียกร้องให้บริษัทในยุโรปหันมาร่วมมือให้การสนับสนุนเพื่อ boycott แล้ว โดย Jim Steyer ซึ่งเป็นทั้ง CEO และผู้ก่อตั้ง Common Sense Media ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า นับตั้งแต่ปล่อยแคมเปญให้คนหันมาบอยคอตต์ Facebook ตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา ตอนนี้มีกว่า 160 บริษัทแล้วที่ร่วมรณรงค์ด้วย
ขณะที่ Wall Street Journal รายงานว่า จำนวนบริษัทที่ร่วมแบน Facebook ในปัจจุบันพุ่งไปกว่า 240 บริษัทแล้วที่ร่วมแคมเปญ #StopHateForProfit เรื่องนี้ Steyer ระบุว่า ด่านต่อไปก็คือพื้นที่ยุโรป ที่จะทำให้จุดยืนด้านนี้แข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เพิ่งจะออกกฎใหม่สำหรับบริษัทด้านเทคโนโลยีทั้งหลาย ซึ่งก็รวมถึง Facebook ด้วย
กฎที่ว่าก็คือ Code of Conduct ที่บริษัทไอทีหรือบริษัทด้านเทคโนโลยีทั้งหลายจะต้องยื่นรายงานประจำเดือนให้คณะกรรมาธิการยุโรปทุกเดือน เพื่อชี้แจงว่าข่าวสารที่เผยแพร่บนแพลตฟอร์มมีการจัดการข้อความที่มี hate speech อย่างไร
.@Starbucks, @CocaCola, @Unilever, @Hersheys & 100+ others have made a stand against Facebook ignoring the hate on it's platform. Join #StopHateForProfit w/@CommonSense, @ADL, @NAACP, @slpng_giants, @ColorOfChange & @freepress at stophateforprofit. org. https://t.co/qCzwjMBoqD
— Jim Steyer (@jimsteyer) June 28, 2020
ยิ่งเมินเฉยต่อการแก้ปัญหา ยิ่งกระทบรายได้โฆษณา
Facebook พยายามรับมือแคมเปญ #StopHateforProfit หลังจากสงวนท่าทีอยู่นาน ด้วยการจัดทีมทำงานที่มีทั้งกลุ่มสิทธิพลเมืองและผู้เชี่ยวชาญขึ้นมา เพื่อพัฒนาเครื่องมือที่จะต่อสู้กับ hate speech โดย Mark Zuckerberg ระบุว่าได้ลงทุนเทคโนโลยี AI เพื่อที่จะค้นหาและตรวจจับ hate speech ได้มากเกือบ 90% ก่อนที่ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มจะกด report เนื้อหาอีก
ผลกระทบต่อรายได้ของ Facebook นี้ Rich Greenfield นักวิเคราะห์ด้านสื่อและเทคโนโลยีจาก LightShed Partners ซึ่งเป็นบริษัทด้านวิจัยเทคโนโลยีและสื่อ พูดถึงประเด็นนี้ว่า เฉพาะแค่ Unilever เจ้าเดียว น่าจะจ่ายเงินไปกับ Facebook มากถึง 200-250 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (7.74 พันล้านบาท) 10% อาจจะจ่ายเฉพาะในสหรัฐอเมริกา อีก 90% ใช้จ่ายในต่างประเทศ
ดังนั้น ที่ Unilever ระบุว่า จะระงับโฆษณาที่เหลืออีกครึ่งปีตลอดจนสิ้นปีนี้ น่าจะอยู่ที่ประมาณ 11.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.4 พันล้านบาทที่จะหายไปจากค่าโฆษณาทั้งหมดใน Facebook ของทุกสื่อรวมกันราว 7.7 หมื่นล้านเหรียญสรัฐ (2.3 ล้านล้านบาท)
Some Unilever/Facebook context $FB
We believe @UnileverSA spends $200-$250 million on Facebook annually, but 90% is overseas
So, only half a year of $20-$25 million in US ad spend at @unileverusa being pulled
$11.3 million on a base of $77 billion in ads — still TINY https://t.co/zso2LGqd9x pic.twitter.com/OEhInwewC7
— Rich Greenfield, LightShed (@RichLightShed) June 26, 2020
Honestly don't understand why Twitter figured out the "right" thing to do, while Facebook first went in the exact opposite direction — well done @jack and happy to see Facebook reversing their stance today
— Rich Greenfield, LightShed (@RichLightShed) June 26, 2020
จุดยืน Twitter ชัดเจน: ไม่เอาความรุนแรง ไม่เลือกปฏิบัติ
ท่าทีหรือจุดยืนของ Facebook ต่อเรื่องนี้เป็นปัญหาที่ทำให้หลายฝ่ายข้องใจไม่ต่างกันคือ ถ้าเนื้อหาข้อความใดที่เป็นการสร้างความเกลียดชังและนำไปสู่การสร้างความรุนแรงได้ ก็ควรถูกแบน ข้อความจากนักการเมืองก็ไม่ควรได้รับการยกเว้นเช่นกัน
สำหรับ Twitter สามารถรับมือได้ทันที แต่ Facebook กลับวางเฉยต่อข้อความดังกล่าวและมองว่าตัวเองพยายามแสดงความเป็นกลางอยู่ (คลิกที่นี่ ดูข้อความที่โดนัลด์ ทรัมป์ทวีตสนับสนุนความรุนแรง)
ขณะที่ Mark Zuckerberg เพิกเฉยต่อการสร้างความรุนแรงผ่าน hate speech บนแพลตฟอร์มตัวเอง แต่ Twitter ไม่ทำเช่นนั้น เนื่องจากออกนโยบายชัดเจนและลงมือจัดการกับปัญหาจริงจังโดยไม่เลือกปฏิบัติว่าข้อความดังกล่าวที่อาจนำไปสู่การสร้างความรุนแรงในสังคมจะเป็นข้อความของใครก็ตาม
ท่าทีของ Mark Zuckerberg กับความพยายามแสดงความเป็นกลางทางการเมือง แท้จริงแล้วกำลังปล่อยให้ Facebook กลายเป็นแพลตฟอร์มที่กระจาย Fake news และ hate speech อย่างมหาศาล
แบรนด์ใหญ่เดินหน้าแบนโฆษณาบน Facebook: มีประสิทธิภาพ ทรงพลัง
การเริ่มแคมเปญ #StopHateforProfit ในระยะแรกถือว่ากระแสค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากแบรนด์ใหญ่หลากหลายแบรนด์ยังไม่แสดงจุดยืนร่วมต้านการใช้ hate speech ยังไม่ร่วมต้านการเหยียดสีผิวบนแพลตฟอร์ม Facebook หรือ Instagram หรือพื้นที่ Social Media อื่นๆ ชัดเจนนัก
หลังจากที่เริ่มประกาศจุดยืนร่วมแคมเปญแบนจริงจัง แน่นอนว่า โลกต้องหันมามอง เพราะเป็นแบรนด์ใหญ่ แบรนด์ดัง ผู้คนส่วนใหญ่ย่อมรู้จัก ขณะเดียวกัน Mark Zuckerberg ก็ต้องหันมาทบทวนนโยบายตัวเอง เนื่องจากเป็นฐานรายได้แหล่งใหญ่ของตัวเองเช่นกัน
อย่าลืมว่าการใช้สื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์ม Facebook นั้น เรียกได้ว่าค่อนข้างขูดรีดคนใช้บริการหรือลูกค้าที่เป็นผู้ต้องการใช้แพลตฟอร์มเพื่อโฆษณา เป็นพื้นที่ซึ่งมีฐานลูกค้าสูงมากถึง 2.9 พันล้านคน ขณะที่องค์กรธุรกิจที่ใช้บริการมีมากถึง 140 ล้านองค์กร
การเริ่มหันมาแบน Facebook ในอีกทางหนึ่งช่วยทำให้สังคมไม่ส่งเสริมการใช้ hate speech ที่นำไปสู่การสร้างความรุนแรงมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาที่ผู้ใช้บริการถูกขูดรีดมานานแสนนาน ส่วน Mark Zuckerberg ก็ถึงเวลาที่ควรเรียนรู้ว่า ถ้ามีการระงับโฆษณาบนแพลตฟอร์มตัวเองบ้าง จะได้รับผลกระทบอย่างไร ควรทบทวนนโยบายมากน้อยแค่ไหน
เราปฏิเสธไม่ได้ว่าพื้นที่สำหรับโฆษณาอย่าง Facebook ก็เป็นแพลตฟอร์มผูกขาดเจ้าใหญ่ของโลกรายหนึ่งเช่นกัน ซึ่งในที่สุดแล้ว Mark ก็ออกมาบอกว่าจะรับมือกับ hate speech ทั้งในส่วนของการสร้างทีมเพื่อสร้างเครื่องมือในการจัดการข้อความที่สร้างความเกลียดชังนี้ รวมถึงการติดป้ายที่ข้อความเพื่อให้รู้ว่าข้อความนั้นๆ กำลังนำไปสู่การใช้ความรุนแรง แต่ก็ไม่แน่ว่าเครื่องมือดังกล่าวจะทรงประสิทธิภาพแค่ไหน เรื่องนี้ไม่น่าจะจบลงได้ง่ายๆ เพราะเป็นปัญหายืดเยื้อเรื้อรังมานานแล้ว
- วิกฤตศรัทธา: หลากธุรกิจเดินหน้าแบน Facebook ผู้บริหารรับกระทบหนัก “สื่อขาดความไว้วางใจ”
- North Face แบรนด์ใหญ่เจ้าแรกหยุดโฆษณาใน Facebook ประท้วงจัดการ Hate Speech ล้มเหลว
- Facebook โดนแบนโฆษณาต่อเนื่อง เพราะไม่จัดการ hate speech ในแพลตฟอร์มจริงจัง
- Starbucks ประกาศ! เตรียมหยุดโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย ร่วมต้าน Hate Speech
- PepsiCo ร่วมต้านการเหยียดผิว เตรียมหยุดโฆษณาบน Facebook กรกฎาคมนี้
ที่มา – Reuters, WSJ, Facebook (1), (2), European Commission, Stop Hate for Profit, Twitter Inc.
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา