ผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคาร 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา ครม. มีมติรับทราบสรุปผลการประชุมประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด-19 (ศบค.) โดยมีการนำเสนอแนวทางการฉีดวัคซีนแบบผสมสูตร กรณีติดเชื้อโควิด-19 ไว้ โดยเมื่อ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา และมีมติเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 2 เข็ม ดังนี้
วัคซีนผสมสูตร
- กรณีรับวัคซีน Sinovac เข็มที่ 1 และวัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 2 ให้ฉีดห่างกัน 3-4 สัปดาห์
- กรณีรับวัคซีน AstraZeneca จำนวน 2 เข็ม ให้ฉีดห่างกัน 10-12 สัปดาห์ (2 เดือนครึ่งถึง 3 เดือน)
กรณีฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุให้พิจารณารับวัคซีน AstraZeneca 2 เข็ม และฉีดวัคซีน Sinovac 2 เข็มจะฉีดเฉพาะกรณีไป
แนวทางการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose)
ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็ม สามารถฉีดวัคซีน AstraZeneca หรือ Pfizer เป็นเข็มกระตุ้น 1 เข็มหลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ (1 เดือน) (สูตรก็คือ Sv-Sv-Az หรือ Sv-Sv-Pf) เมื่อมีวัคซีนเพียงพอและกลุ่มเสี่ยงได้รับวัคซีนแล้ว จะพิจารณาฉีดเข็มกระตุ้นให้ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในระยะถัดไป
หมอยงหรือ ศ นพ. ยง ภู่วรรณโพสต์ข้อความผ่าน Facebook ถึงกรณีการฉีดวัคซีนผสมสูตร ใจความสำคัญคือ “ถ้าให้วัคซีนสลับกัน โดยให้วัคซีนเชื้อตาย แล้วตามด้วยไวรัสเวกเตอร์ที่ 3-4 สัปดาห์ ภูมิต้านทานจะสูงที่ 700 หน่วย ในขณะที่ให้วัคซีน mRNA 2 ครั้งห่างกัน 3 สัปดาห์ ภูมิต้านทานจะขึ้นมาสูงถึงพัน 1700 หน่วย แต่การให้วัคซีนเชื้อตาย 2 เข็ม ตามด้วยวัคซีน virus Vector อย่างที่ขณะนี้บุคลากรทางการแพทย์ด้านหน้าทำอยู่ พบว่าภูมิต้านทานเฉลี่ยสูงขึ้นมา เฉลี่ยเป็น 10,000 หน่วย”
สิ่งที่หมอยงบอกคือ ฉีดวัคซีนเชื้อตาย 2 โดสตามด้วยวัคซีนที่เป็นไวรัสเวกเตอร์โดยมีระยะเวลาห่างกัน 3-4 สัปดาห์ ภูมิต้านทานสูงกว่าวัคซีน mRNA 2 โดส
แนวทางการจัดหาวัคซีน ปี 2565
จัดหาวัคซีนในกรอบ 120 ล้านโดส โดยพิจารณาดำเนินการกับผู้ผลิตวัคซีนที่มีการพัฒนาวัคซีนรุ่นที่สองที่สามารถจะครอบคลุมไวรัสที่มีการกลายพันธุ์ โดยให้มีเป้าหมายการส่งมอบภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 รวมทั้งรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การสนับสนุนการวิจัยพัฒนาวัควีนต้นแบบเพื่อรองงรับการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส การกำหนดแนวทางการขึ้นทะเบียนวัคซีนที่พัฒนาในประเทศ กสนับสนุนการศึกษาภูมิคุ้มกันระยะยาวของผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ตลอดจนติดตามเฝ้าระวังไวรัสกลายพันธุ์ในปี 2565 และติดตามความหน้าการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มเติม
แนวทางการจัดสรรวัคซีน
มีแผนการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม-31 สิงหาคม 2564 พิจารณาให้กับผู้ที่ได้จองฉีดวัคซีนล่วงหน้า (ผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง) แบ่งเป็น 3 กลุ่มจังหวัด
- จังหวัดที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดและจังหวัดควบคุมสูงสุดบางจังหวัด) 11 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาสและชลบุรี
- จังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือมีความเร่งด่วนในการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ภายหลังการระบาดและแผนเปิดการท่องเที่ยวระยะถัดไป 18 จังหวัด คือเชียงราย เชียงใหม่ ตาก หนองคาย สระแก้ว บุรีรัมย์ พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า) ตรัง พังงา และกระบี่
- จังหวัดอื่นๆ 48 จังหวัด
เกณฑ์การจัดสรรวัคซีนป้องกันโควิด-19 (15 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม 2564)
- จำนวนประชากรที่นำมาคำนวณมาจากฐานข้อมูลประชากรจากทะเบียนบ้านและประชากรแฝง
- เป้าหมายฉีดให้ได้อย่างน้อย 70% ของจำนวนประชากรดังกล่าวทั้งผู้มีสัญชาติไทยและไม่มีสัญชาติไทย
- เป้าหมายให้บริการวัคซีน 13 ล้านโดสระหว่าง 15 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม จำนวนวัคซีนที่จัดสรรจริงอาจปรับเปลี่ยนตามปริมาณวัคซีนที่ไทยจัดหาได้ กรณี* จัดหาวัคซีนได้ไม่ถึง 13 ล้านโดสจะลดลงตามสัดส่วนวัคซีนที่ได้
- ประเภทการจัดสรรเป็นไปตามมติศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19
- หลังพบศพคนติดโควิดถูกทิ้งข้างทาง รัฐประกาศ “ทุกวัดเผาศพโควิดฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย”
- 593 วัดทั่วไทย ร่วมเจตนารมณ์รัฐ: เผาศพโควิดฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
ที่มา – รัฐบาลไทย, สถาบันวัคซีนแห่งชาติ
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา