อยู่อย่างสิ้นหวัง ไทยฆ่าตัวตายมากที่สุดอันดับ 1 ของอาเซียน

ต้องสิ้นหวังขนาดไหน คนไทยถึงฆ่าตัวตายมากมายขนาดนี้และยังมากติดอันดับ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย 

ปีที่ผ่านมา ผลจากโควิดระบาดทำให้คนตกงานนับล้านราย อัญกาญจน์ บู๊ประเสริฐ หญิงวัย 59 ปี เป็นอีกหนึ่งคนที่รู้สึกสิ้นไร้ไม้ตอก ไร้เพื่อนและญาติมิตรที่จะให้ความช่วยเหลือเธอได้ เธอเล่าว่า เธอต้องแบ่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ซองให้สามารถกินได้ 3 มื้อเพื่อประทังชีวิต

suicide, mental health in Thai

อัญกาญจน์หมดหวังจากการรอเงินเยียวยาของรัฐบาล 5,000 บาทต่อเดือนซึ่งมีระยะเวลาจ่าย 3 เดือนรวมเป็น 15,000 บาท เธอบอกว่า เธอก็เป็น 1 ใน 15 ล้านคนที่ขอรับความช่วยเหลือจากรัฐ แต่คุณสมบัติเธอไม่ผ่านเกณฑ์ที่จะได้รับความช่วยเหลือนั้น เธอไปกระทรวงการคลัง เธอพบว่าพวกเขาไม่ฟังคำเรียกร้องจากเธอเลย พวกเขาทำราวกับว่าคนจนเหมือนกับหมูหรือไม่ก็หมาขี้เรื้อน 

เธอพยายามฆ่าตัวตายด้วยยาเบื่อหนูหน้ากระทรวงการคลัง เธอบอกว่าเธอต้องการประท้วง “มันไม่ได้เกิดขึ้นกับฉันแค่คนเดียว คนอื่นก็ประสบชะตากรรมแบบเดียวกัน” 

เธอคิดว่ารัฐบาลน่าจะต้องการกำจัดความยากจนในประเทศ แต่สิ่งที่พวกเขาทำน่าจะเป็นจริง พวกเขากำลังกำจัดชีวิตคนทีละคน ทีละคน หลังจากที่เธอพยายามฆ่าตัวตาย ภาครัฐก็เข้ามาทบทวนกรณีของเธออีกครั้งและตัดสินใจให้เธอคุณสมบัติผ่านได้รับความช่วยเหลือ

การฆ่าตัวตายในไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงที่เกิดโควิดระบาด ยอดรวมอยู่ที่ 2,551 ภายในระยะเวลาครึ่งปีแรกของปี 2020 เพิ่มขึ้นถึง 22% เทียบจากช่วงเดียวกันปี 2019 

กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิดระบาดหนักมีทั้งพนักงานธุรกิจการท่องเที่ยว พนักงานให้บริการทางเพศและแรงงานอพยพ ซึ่งสองกลุ่มหลังนี้ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมจึงไม่สามารถเข้าถึงสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากโครงการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังของรัฐได้ ในส่วนของการท่องเที่ยวมีรายได้เป็น 12% ของ GDP การไม่เปิดให้ประเทศสามารถเดินทางได้สะดวกอย่างก่อนหน้านี้ย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงลบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

depress เศร้า ซึมเศร้า mental health
ภาพจาก Shutterstock

ข้อมูลปี 2019 โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า การฆ่าตัวตายของไทยรายปีอยู่ที่ 14.4 ต่อ 100,000 คน ขณะที่เฉลี่ยแล้วในระดับโลกอยู่ที่ 10.5 ต่อ 100,000 คน ถ้าเปรียบเทียบกับสมาชิกอาเซียนในฟิลิปปินส์อยู่ที่ 3.2 และสิงคโปร์อยู่ที่ 11.2 ต่อ 100,000 คน 

ทุกๆ 10 นาที มีการพยายามฆ่าตัวตายในไทย

เรื่องนี้ Antonio L Rappo รองศาสตราจารย์สังคมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ ผู้ศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และการเมืองไทยกว่า 20 ปี ระบุว่า อัตราการฆ่าตัวตายในไทยสัมพันธ์กับเหตุผลทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ถ้าแยกเรื่องเศรษฐกิจออกไป คนไทยมีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการต่อสู้ทางจิตใจมาอย่างยาวนานเกี่ยวกับแนวคิดว่าด้วยเรื่องความตาย 

ประเทศที่มีวัฒนธรรมการประท้วง หมายความว่า ประชาชนอาจจะยินดีที่จะตาย 

ในช่วงที่มีโควิดระบาด ก็มีการให้ความช่วยเหลือผู้ที่จะฆ่าตัวตาย เช่น หน่วยงานที่เรียกว่าสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย เป็นสมาคมที่ให้บริการเป็นเพื่อนพูดคุยทางโทรศัพท์ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย โดยมีอาสาสมัครจากหลายอาชีพ ผลัดเปลี่ยนกันมาทำหน้าที่นี้โดยไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆ 

นอกจากนี้ นายแพทย์ วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ ที่เป็นทั้งจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และเป็นโฆษกกรมสุขภาพจิต ก็ยังต้องเพิ่มคู่สายเป็น 20 สายให้คนสามารถโทรศัพท์เข้ามาปรึกษาได้ เนื่องจาก ผู้โทรเข้ามาต้องรอสายยาวนาน 10-12 นาที ก่อนจะมีใครสักคนมารับสาย นพ. วรตม์ ระบุว่า ไม่มีใครต้องการรอจนกว่าคนจะมารับสาย เขาต้องการรอสายแค่ภายใน 5 นาทีเท่านั้น  

ภาพจาก Shutterstock

อย่างไรก็ดี ภาครัฐก็มีสิ่งที่ให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตให้บัตร 30 บาทรักษาทุกโรคสามารถครอบคลุมเรื่องนี้ได้ด้วย  เรื่องนี้ อมรเทพ สัจจะมุณีวงศ์ก็เคยเจอปัญหา ผ่านประสบการณ์เป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน

เขาพูดถึงช่องว่างของเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานด้านสุขภาพจิตขาดแคลน ระยะเวลาการรอคอยที่ยาวนานถ้าต้องการรับการรักษาจากโรงพยาบาลของรัฐ ไปจนถึงหากคิดจะรักษาในโรงพยาบาลเอกชนก็มีราคาค่อนข้างแพงอีก เขายังได้สร้างแอปพลิเคชันที่เรียกว่า Sati เพื่อเป็นพื้นที่ให้ผู้ใช้งานที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพจิตไว้คุยกับคนที่ได้รับการฝึกฟังมาบ้างแล้ว

ทั้งนี้ ภาครัฐได้จัดตั้งทีมเฉพาะกิจที่เรียกว่า Hope Task Force โดยใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, TikTok และ Line เพื่อสื่อสารกับคนที่ประสบปัญหาอยู่ ซึ่งก็จะมีการจัดเตรียมช่องทางให้อาสาสมัครและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตให้สามารถพูดคุยกันได้ นอกจากนี้ก็ยังมีแอปพลิเคชั่น Mental Health Check Up ที่ผู้ใช้งานสามารถตอบคำถามเช็คสุขภาพจิตทั้งเรื่องหมดไฟในการทำงาน ความเครียด รวมถึงอาการซึมเศร้าด้วย

ภาพจาก Unsplash

นพ.วรตม์ ระบุว่า เรื่องการฆ่าตัวตายและประเด็นเรื่องสุขภาพจิตควรจะเป็นปัญหาของทุกคนด้วย เขาบอกว่าปัจจุบัน เราขาดทรัพยากรในการให้ความช่วยเหลือเรื่องสุขภาพจิตในไทย เพราะโควิด-19 ระบาด แต่เราสามารถแก้ปัญหานี้ด้วยการเชิญภาคีหลายฝ่ายและพูดคุยกับผู้คนจำนวนมากเพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหา สำหรับคนที่มีปัญหาต้องการความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต สามารถโทรสายด่วนที่กรมสุขภาพจิตเบอร์ 1323 หรือเบอร์สมาคมสมาริตันส์เบอร์ 02-713-6793

ที่มา – CNA

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา