ไทยเริ่มเนื้อหอม! พานาโซนิคย้ายฐานการผลิตจากจีนและญี่ปุ่นมาไทย ทยอยลงทุนกว่า 1.4 แสนล้านบาท

BOI เผย พานาโซนิคปรับฐานการผลิต ปิดโรงงานเล็ก รวมผลิตภัณฑ์แบบเดียวกันไว้ในโรงงานใหญ่

พานาโซนิคปรับกลยุทธ์ระดับโลก ลงทุนในไทยเพิ่ม โดยย้ายฐานการผลิตอุปกรณ์อัตโนมัติจากจีนและญี่ปุ่นมาไทย โดย นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผย หลังมีข่าว พานาโซนิค อีโคโลจี ซีสเต็มส์ จังหวัดสมุทรปราการ ปิดตัวลงในเดือนมิถุนายน 2566

Panasonic

BOI ได้รับแจ้งจากผู้บริหารของบริษัทฯ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น โดยจะควบรวมโรงงานที่มีผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันรวมไว้ในโรงงานขนาดใหญ่ และปิดโรงงานขนาดเล็ก ทำให้ในไทยจะมีการปิดโรงงานขนาดเล็ก แต่จะลงทุนเพิ่มอีกหลายผลิตภัณฑ์

ปัจจุบัน พานาโซนิคในไทยมีโรงงาน 11 แห่ง โรงงานขนาดใหญ่ 4 แห่ง คิดเป็นสัดส่วนยอดขาย 80% ของทั้งกลุ่ม ส่วนโรงงานขนาดเล็กอีก 7 แห่ง มียอดขาย 20% ของทั้งกลุ่ม ปี 2020 ที่ผ่านมา มีการปิดโรงงานขนาดเล็ก 3 แห่ง เพื่อย้ายไปรวมกับโรงงานที่มีขนาดใหญ่

โดยโรงงานที่กำลังปิดในเดือนมิถุนายน เป็นโรงงานขนาดเล็กแห่งที่ 4 ผลิตพัดลมระบายอากกาศ ภายใต้ชื่อบริษัท พานาโซนิค อีโคโลจี ซิสเต็มส์ ส่วนโรงงานขนาดเล็กที่เหลืออีก 3 แห่ง เป็นโรงงานสำคัญที่ยังผลิตสินค้าต่อเนื่อง ส่วนโรงงานขนาดใหญ่ในไทยทั้ง 4 แห่ง ผลิตระบบ Infotainment ในยานยนต์ ถ่านไฟฉาย และอุปกรณ์อุตสาหกรรมยังเดินหน้าผลิตและขยายการลงทุนต่อเนื่อง มีการปิดโรงงานในต่างประเทศเพื่อมาใช้กำลังการผลิตในไทยด้วย

ล่าสุด บริษัท พานาโซนิค อินดัสเตรียล ดิไวซ์ ซังค์ ประเทศญี่ปุ่นและจีน เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน Electronic Measuring Instrument และอุปกรณ์อัตโนมัติ เช่น Programmable Logic Controller (PLC) ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน ใช้ทักษะแรงงานสูงได้ย้ายฐานการผลิตมายังไทย ทำให้มีการใช้วัตถุดิบและจ้างแรงงานในไทยจำนวนมาก

สำหรับช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา (มกราคมถึงพฤษภาคม 2566) BOI ให้การส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รวม 79 โครงการ มูลค่า 143,860 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่ 7 เท่า จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

นอกจาการลงทุนโดยพานาโซนิคแล้ว ยังมีโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่น่าสนใจ เช่น กิจการผลิตชิ้นส่วนสำหรับระบบโทรคมนาคมแบบใยแก้วนำแสงและระบบชิพควบคุมระบบกำลัง (Power Chip) สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนที่ตัดสินใจมาลงทุนในไทย

ที่มา – BOI

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา