Panasonic ให้พนักงานทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ ดัน Flexiblie Working เต็มที่ สนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดี และชีวิตด้านอื่นๆ ของพนักงาน
Panasonic ประกาศทำงาน 4 วัน/สัปดาห์
ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำจากญี่ปุ่น Panasonic ให้พนักงานทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ เพิ่มวันหยุดประจำสัปดาห์ให้อีก 1 วัน สำหรับผู้ที่มีความสนใจ แย้งกับภาพลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นที่ทุ่มเทโหมทำงานหนักเพื่อองค์กร
นอกจากนี้ Panasonic ยังประกาศว่าจะหันไปสนับสนุนการทำงานแบบยืดหยุ่นอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันให้พนักงานทำงานทางไกล เป็นต้น
หากลองมองภาพใหญ่กว่านั้น แม้ว่าเราจะคุ้นกับภาพว่าคนญี่ปุ่นจงรักภักดีกับและทุ่มทุกอย่างให้กับบริษัท แต่ทุกวันนี้ภาพนั้นเริ่มเปลี่ยนไปทีละน้อย เพราะมีรายงานว่าคนญี่ปุ่นสมัยใหม่ทำงานลดลงเรื่อยๆ ในปี 2020 คนญี่ปุ่นทำงานเพียง 1,811 ชั่วโมง/ปี ลดลงจากปี 2018 ถึง 116 ชั่วโมง ที่สำคัญยังลดลงมาถึง 3 ปี ติดต่อกัน
แม้แต่บริษัทขนาดใหญ่ในประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องวัฒนธรรมการทำงานหนักแบบเข้มข้นยังเปลี่ยนแปลง หลังจากนี้องค์กรที่ไม่ปรับตัว เปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร จะไม่เป็นที่ดึงดูดสำหรับคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพอีกต่อไป
Work-life Balance ปัจจัยสำคัญอันดับ 1
สาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้ Panasonic ปรับตัวคือการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิมให้กับพนักงาน
ทั้งนี้ Panasonic ชี้แจ้งว่าคาดว่าที่จะให้พนักงานมีเวลาในการใช้ชีวิตตามความสนใจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานอาสาสมัครหรือทำงานเสริมอื่นๆ
Yuki Kusumi ซีอีโอและประธานของบริษัทชี้แจงเองว่า “เราต้องสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานของเรา”
ในปี 2020 มีบริษัทแค่ 8% เท่านั้นที่การันตีกับพนักงานว่าจะได้หยุด 2 วัน/สัปดาห์ จากการสำรวจของกระทรวงสุขภาพ แรงงาน และสวัสดิการ บริษัทที่เคลื่อนไหวในเรื่องนี้ก่อนย่อมได้เปรียบในเรื่องการดึงดูดแรงงานศักยภาพสูง
เพราะปัจจุบันคนรุ่นใหม่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อความก้าวหน้าในอาชีพเพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความสำคัญกับมิติด้านอื่นๆ ในชีวิตของตนเอง
Encourage Technologies บริษัทผู้ให้บริการระบบ IT ในญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ มาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมากล่าวว่า “คนทำงานรุ่นใหม่ให้ความสำคัญต่อวันหยุด ซึ่งนี่ทำให้เราได้เปรียบคนอื่นถ้าพูดถึงเรื่องการจ้างงาน”
- วิจัยชี้ การทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ เป็นไปได้ในปัจจุบัน
- เมื่อชั่วโมงการทำงานไม่ได้บอกความสำเร็จ Jack Dorsey เผย ทำงานนานๆ เป็นเรื่องไร้สาระ
ที่มา – Business Insider, Nikkei Asia, NHK
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา