ปัญหาสังคมผู้สูงอายุของญี่ปุ่นอาจทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นในอนาคตย่ำแย่กว่าที่คาด นอกจากนี้ IMF ยังได้แนะนำวิธีแก้ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปเรื่องแรงงานเพื่อลดผลกระทบ
ปัญหาสังคมผู้สูงอายุในญี่ปุ่น ท้ายที่สุดแล้วอาจมีจุดจบที่ไม่สวยงามนัก ซึ่งปัจจุบันญี่ปุ่นมีอัตราประชากรเสียชีวิตเฉลี่ยประมาณวันละ 1,000 คน ล่าสุด รายงานจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ได้ให้ความเห็นว่าถ้าหากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ภายใน 40 ปี GDP ของประเทศญี่ปุ่นอาจลดลงถึง 25% เลยทีเดียว
IMF ให้ความเห็นว่าประชากรญี่ปุ่นที่ลดลงในอนาคตจะทำให้ภาคการผลิตถดถอยลง ส่งผลต่อเนื่องไปถึงภาคการบริโภค เนื่องจากปัญหาแรงงานขาดแคลนอย่างหนัก และได้แนะนำให้รัฐบาลญี่ปุ่นปรับนโยบายการรับแรงงานจากต่างประเทศเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยในเรื่องนี้ IMF มองว่าการปฏิรูปโครงสร้างแรงงานของญี่ปุ่นยังถือว่าช้ามาก
ยังรวมไปถึง IMF ยังได้เสนอให้รัฐบาลปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจญี่ปุ่นในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของธรรมาภิบาลของบริษัท เรื่องของการค้าเสรี ฯลฯ จะทำให้ GDP ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 15% ภายใน 40 ปี ซึ่ง IMF คิดในกรณีที่เป็นไปได้มากที่สุด
- [ภาคต่อทำงานญี่ปุ่น] อะไรคือ “โอกาส” และ “ปัญหา” เมื่อแรงงานต่างชาติจะได้ค่าแรงและสวัสดิการเทียบเท่าคนญี่ปุ่น
- สังคมสูงวัย ร้านอาหารญี่ปุ่นเริ่มใช้แรงงานหุ่นยนต์มากขึ้น ยังรวมไปถึงแรงงานต่างชาติด้วย
- ญี่ปุ่นเปิดรับแรงงานต่างชาติ ถ้าทักษะสูง-ฝีมือดี ชวนให้อยู่ยาว และเอาครอบครัวมาอยู่ได้
- ผลสำรวจชาวญี่ปุ่น มีมุมมองว่าชาวญี่ปุ่นออกไปทำงานต่างประเทศเป็นเรื่องใหญ่ที่น่ากังวล
การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจญี่ปุ่นถือว่าขยายตัวได้อย่างยอดเยี่ยม หลังจากที่แก้ปัญหาเงินฝืดโดยใช้นโยบาย Abenomics โดย IMF คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปีนี้จะเติบโตได้ประมาณ 1.1% สำหรับในปี 2019 จะเหลือเพียงแค่ 0.9%
อย่างไรก็ดี IMF ยังได้เตือนถึงการปรับขึ้นภาษีของญี่ปุ่นในเดือนตุลาคมปี 2019 ว่าอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะสั้น นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้า เรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ รวมไปถึงการบริโภคทั่วโลกอ่อนแอลง ทำให้ IMF คาดว่างบประมาณญี่ปุ่นจะกลับมาเกินดุลอีกครั้งในปี 2025
ที่มา – IMF, NHK, Nikkei Asian Review
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา