ขนส่งทางเรือเจออุปสรรคตลอดครึ่งปี
การขนส่งทางเรือได้รับผลกระทบอีกแล้ว หลังเกิดการระบาดของไวรัสโควิดซ้ำในมณฑลสำคัญอย่างกวางตุ้ง จากตอนแรกที่เจอปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน หลังการฟื้นตัวจากโควิดในหลายประเทศเมื่อปีที่แล้ว การซื้อขายกลับมาคึกคัก ทำให้ตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้สำหรับการขนส่งขาดแคลน
ส่งผลให้การขนส่งจากจีนไปแถบยุโรปและสหรัฐล่าช้า ผู้บริโภคและภาคธุรกิจต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น
ต่อมาก็มีประเด็นเรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซ เป็นเวลาเกือบอาทิตย์ ทำขนส่งหยุดชะงักซ้ำอีก เกิดเป็นวิกฤตการณ์การขนส่งครั้งใหญ่ของโลก
- ค่าขนส่งทางเรือหลายเส้นทางทำสถิติสูงสุดใหม่ แถมตู้คอนเทนเนอร์เปล่าขาดแคลนทั่วโลก กระทบผู้ส่งออก
- ตู้คอนเทนเนอร์กำลังขาดแคลนทั่วโลก โควิดพ่นพิษ ส่งผลให้ตู้คอนเทนเนอร์-ค่าขนส่งแพงขึ้น
โควิดระบาดซ้ำรอบสองในมณฑลเศรษฐกิจสำคัญอย่างกวางตุ้ง
จากการปิดมณฑลกวางตุ้งของจีน หลังพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้า ทำให้การขนส่งล่าช้าลงมาก และทำให้ค่าขนส่งที่แพงอยู่แล้วแพงขึ้นไปอีกจากความล่าช้าของการขนส่ง
สำหรับมณฑลกวางตุ้งนั้นเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญ โดยคิดเป็น 24% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของจีน และยังเป็นที่ตั้งของท่าเรือเซินเจิ้น (Port of Shenzhen) และท่าเรือกวางโจว (Port of Guangzhou) ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 และ 5 ของโลกตามลำดับ
JP Wiggins รองประธานบริษัทซอฟต์แวร์ขนส่ง 3GTMS บอกกับสำนักข่าว CNBC ว่าวิกฤตการณ์ท่าเรือในจีนจะกระทบต่อผู้บริโภคชาวอเมริกันมากกว่า เนื่องจากการขนส่งที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นการขนส่งไปยังอเมริกาเหนือ
เรือขนส่งต้องใช้เวลารอเทียบท่าที่ท่าเรือ Yantian เพิ่มขึ้นจากปกติใช้เวลารอเทียบท่าครึ่งวัน แต่ปัจจุบันต้องรอนานถึง 16 วัน ซึ่งจะกระทบกับท่าเรืออื่นๆ เป็นลูกโซ่
การที่ท่าเรือ Nansha ในกวางโจวซึ่งอยู่ใกล้กันเจอกับการทะลักเข้ามาของสินค้า นักวิเคราะห์คาดว่าปัญหานี้น่าจะกินเวลาไปอีกประมาณ 2 อาทิตย์
สรุป
วิกฤตท่าเรือครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากผลกระทบจากความล่าช้าของการขนส่งคือมูลค่าความเสียหายที่ทุกฝ่ายต้องแบกรับ หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นจะยิ่งเป็นการเพิ่มภาระทางการเงินให้กับทุกภาคส่วน
ที่มา: CNBC
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา