Blue Ocean Red Ocean สมรภูมิน่านน้ำทางการตลาดที่คุณต้องรู้

ในการทำธุรกิจนั้นจำเป็นต้องมีการสำรวจสภาพตลาดเพื่อประเมินว่าตลาดนั้นมีการแข่งขันจากผู้เล่นมากน้อยแค่ไหน และเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงหรือไม่ โดยจะเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมของตลาดเป็นเหมือน Ocean หรือมหาสมุทร และมีการแบ่งแยกสีตามความแตกต่างนั้น ซึ่ง 2 สภาพตลาดที่มักถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง จะเป็น Red Ocean และ Blue Ocean

Red Ocean คืออะไร

การทำธุรกิจย่อมมีการแข่งขันกัน แน่นอนว่าสีแดงนั้นหมายถึงความร้อนแรง ดุเดือด สีนี้จึงสามารถอธิบายสภาพของตลาดแบบ Red Ocean ได้เป็นอย่างดี กล่าวคือสภาพตลาดที่มีการแข่งขันการสูง สินค้าไม่ค่อยมีความแตกต่าง มีผู้เล่นหลายราย ทำให้กลยุทธ์การขายสินค้าในสภาพตลาดแบบนี้มักแข่งขันกันด้วยราคา โปรโมชั่นที่น่าสนใจ โอกาสเติบโตในสภาพตลาดแบบนี้อาจจะเป็นไปได้ยากเนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือจูงใจผู้บริโภคได้หากไม่มีความสามารถมากพอหรือสินค้าไม่มีความแตกต่างด้านใดด้านหนึ่งอย่างเห็นได้ชัด

ข้อดีของการแข่งขันในตลาด Red Ocean คือการที่ประเภทสินค้าในตลาดนี้มักจะเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว ง่ายต่อการเชิญชวนและจูงใจให้มาใช้บริการ ไม่จำเป็นต้องอธิบายเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ทำให้เน้นการสื่อสารเชิงรุกไปหาลูกค้าได้อย่างทันท่วงที ประหยัดต้นทุนในการสำรวจตลาดและความต้องการของผู้บริโภค แต่ข้อเสียนั่นก็คือหากสินค้าและบริการนั้นไม่มีด้านที่โดดเด่นอาจทำให้ผู้บริโภคไม่สนใจสินค้าและเปลี่ยนไปให้ความสนใจกับสินค้าของผู้ขายเจ้าอื่น รวมทั้งการที่จะเอาชนะหรือดึงลูกค้าจากเจ้าตลาดนั้นเป็นไปได้ค่อนข้างยาก จึงทำให้ต้องใช้เวลาพอสมควรในการค่อยๆ เอาชนะใจลูกค้าที่มี Royalty หรือเป็น Brand Lover ของสินค้าและบริการที่มาจากเจ้าตลาดใน Red Ocean

ตัวอย่างธุรกิจในกลุ่มนี้คือ Delivery App ไม่ว่าจะเป็น Grab LINEMAN ShopeeFood Robinhood AirAsiaSuperapp ต่างก็แข่งขันกันด้วยราคาและโปรโมชั่นค่าส่ง รวมถึงราคาสินค้าที่ไม่แพงไปกว่าหน้าร้าน รองลงมาจะเป็นการโฟกัสที่จำนวนร้านค้าและไรเดอร์ในแอปพลิเคชั่น แต่สุดท้ายแล้วนั้นผู้บริโภคมักจะพิจารณาจากเรื่องของราคาและโปรโมชั่นเป็นหลักอยู่ดี หากมีการทำโปรโมชั่นที่ดีอย่างต่อเนื่องรวมทั้งมีการทำ Customer Retention ที่ดี จะทำให้ลูกค้าอยากกลับมาใช้บริการของแอปพลิเคชั่นนั้นอีก

Blue Ocean คืออะไร

ถ้า Red Ocean คือตลาดที่มีการแข่งขันดุเดือดมากๆ มีผู้ค้าหลากหลายราย สู้กันด้วยราคาและโปรโมชั่น Blue Oceam นั้นแทบจะเป็นขั้วตรงข้ามเลย เพราะเป็นสภาพตลาดที่มีการแข่งขันจากผู้ค้าน้อยราย เน้นการการสร้างตลาดใหม่ๆ จาก Innovation ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความต้องการใหม่ๆ จากผู้ใช้ นอกจากนี้ Blue Ocean ยังสามารถกลายเป็น Red Ocean ได้ในอนาคตหากมีการพัฒนาและเริ่มมีผู้ใช้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Netflix ที่เป็นผู้เปิดนำตลาดด้าน Streaming Platform เริ่มแรกนั้นมีผู้แข่งขันอยู่ไม่กี่เจ้าแต่ปัจจุบันกลายเป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด มี Streaming Platform เกิดขึ้นมากมายทั้งแบบ Worldwide และ Local ในแต่ละภูมิภาค

ข้อดีของการแข่งขันในสภาพตลาดแบบนี้คือมีคู่แข่งไม่กี่เจ้า หากทำให้ลูกค้าเกิด Royalty ได้จะทำให้เกิดความได้เปรียบเนื่องจากลูกค้าไม่จำเป็นต้องย้ายไปใช้สินค้าและบริการของเจ้าอื่นก็ทำให้พวกเขาพึงพอใจได้ นอกจากนี้ยังทำให้ส่วนแบ่งทาการตลาดแต่ละแบรนด์ในตลาดนี้มีสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับ Red Ocean แต่ข้อเสียก็คือการที่แบรนด์ใหม่ๆ จะเข้ามาต้องมีความแตกต่างอย่างชัดเจนและสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ไม่เหมือนเดิมและเพิ่มมูลค่าจากประสบการณ์เหล่านั้นเป็นหลัก

ตัวอย่างธุรกิจในกลุ่มนี้คือ Dating App ยกตัวอย่างเช่น Tinder Coffee Meet Bagel ซึ่งธุรกิจในกลุ่มนี้มีการแข่งขันที่ไม่สูง เนื่องจากอาจจะเป็น Niche Market และมีกลุ่มลูกค้าที่วนเวียนเข้าออกอยู่เสมอ การสร้างประสบการณ์ในการใช้งานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำควบคู่กับความแตกต่างแม้จะมีจุดร่วมจุดเดียวกันก็ตาม

การรู้ตัวเองว่าแบรนด์ของเรานั้นอยู่ในสภาพตลาดแบบไหนเป็นเรื่องที่ดีเพราะมีโอกาสในการศึกษาคู่แข่งและพัฒนาแบรนด์ของตัวเองไปในตัว เพื่อปรับตัวให้ทันกับตลาดที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา

Source: Cariber ZORTOUT adaddictth.com

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา