มองเกมโทรคมนาคม ปี 2019 กับ AIS พร้อมศึกษากลยุทธ์รักษาตำแหน่งผู้นำ และการยกระดับอุตสาหกรรมนี้

นอกจากมีผู้ใช้ในระบบมากที่สุดแล้ว AIS ยังรักษาภาพลักษณ์เครือข่ายคุณภาพไว้เช่นเดียวกับเมื่อ 28 ปีก่อนอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่ด้วยสภาพอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้นเปลี่ยนไปมาก การรักษาตำแหน่งผู้นำในปีนี้จึงไม่ง่ายเลย

สมชัย เลิศสุทธิวงค์
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS

ยกระดับโทรคมฯ ไทย พร้อมเดินหน้า 5G

อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยในฝั่งมือถือนั้น AIS ถือเป็นผู้ให้บริการรายแรกๆ เพราะเมื่อปี 2533 ก็เริ่มให้บริการโครงข่าย Analog หรือ 1G ก่อนขึ้นมาเข้มแข็งอย่างมากในอีก 4 ปีถัดมาด้วยโครงข่าย 2G แบบ GSM และจากนั้นก็มี 3G กับ 4G LTE ตามมาในปี 2555 กับ 2558 ตามลำดับ

ดังนั้นอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยไม่ได้น้อยหน้าประเทศไหนๆ ในโลกนี้ทั้งเรื่องเทคโนโลยี และความเสถียร ยิ่งปัจจุบันกระแส 5G นั้นถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง ตัวประเทศไทยก็ตื่นตัวกับเรื่องนี้ ซึ่ง “สมชัย เลิศสุทธิวงค์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS ก็ประกาศความพร้อมเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน

AIS
Digital Platform ของ AIS

“AIS ใช้งบประมาณไปหลายแสนล้านบาทเมื่อรวมส่วนแบ่งรายได้ที่นำส่งให้คู่สัมปทาน, ค่าใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ และการลงทุนเรื่องโครงข่าย แสดงให้เห็นถึงความจริงจังในการเดินหน้าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย ซึ่งตัว 5G นั้น AIS ก็มีแผนอยู่แล้ว แต่ต้องเดินหน้าในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งไม่ใช่ตอนนี้” สมชัย กล่าว

ความพร้อมของการใช้งานนั้นสำคัญหากต้องลงทุน

สำหรับการเตรียมความพร้อม 5G ของ AIS ได้ร่วมมือกับภาครัฐ สถาบันการศึกษา พันธมิตรระดับโลก ทั้ง กสทช., กระทรวง DE, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Nokia ร่วมศึกษาและพัฒนา 5G อาทิ การเปิด 5G Garage Innovation Lab ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ให้นักพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมบนเครือข่าย 5G LIVE ครั้งแรกในประเทศไทย และการเปิดเครือข่าย 5G ให้ได้ทดลองใช้กลางกรุงเทพมหานครในเร็วๆ นี้ ที่สำคัญมีการปรับโครงสร้างเครือข่ายหลักปัจจุบัน ที่กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาคให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ 5G ด้วย

AIS
การใช้งาน 5G เพื่อควบคุมเทคโนโลยี AR

“ไทยคงต้องรออีกประมาณ 3 ปีตัว 5G ถึงจะพร้อม เพราะปัจจุบันมันยังไม่มี Business Use Case เช่นรถยนต์ไร้คนขับ ต่างกับประเทศอย่างจีน, เกาหลีใต้, สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นที่เขาต่างมี Business Use Case รองรับ เช่นมีแบรนด์โทรศัพท์มือถือ หรือแบรนด์ผู้ค้าอุปกรณ์โครงข่าย รวมถึงรัฐบาลก็มีการสนับสนุนเต็มที่”

ขณะเดียวกัน AIS มีการเดินหน้าลงทุน Fixed Broadband ภายใต้แบรนด์ AIS Fibre มาเป็นเวลา 3 ปี และเป็นส่วนสำคัญทำให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเปลี่ยนจากสายทองแดงเป็นสายไฟเบอร์ เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการใช้งานบริการดิจิทัลต่างๆ ที่มากกว่าเดิม

AIS
AIS กับการยกระดับประเทศไทย

อีก 5 ปีกับการเป็น Digital Platform ของคนไทย

ในทางกลับกัน AIS ยังเตรียมแผน 5 ปีหลังจากนี้เพื่อสร้าง Digital Platform สำหรับคนไทย ขณะเดียวกันยังเดินหน้าเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ ผ่านการตั้ง Data Analytics Team เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของอุตสาหกรรมอื่นๆ และใช้ฐานลูกค้าของ AIS มาเป็นตัวช่วยให้บริษัท และคู่ค้าเติบโตไปด้วยกัน

อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามามีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค AIS จึงต้องการให้ความสำคัญกับ DQ หรือ Digital Intelligence Quitient ที่หมายถึงความฉลาดทางดิจิทัล ผ่านการวางตัวเป็น Network Educator เพื่อช่วยป้องกัน, ปลูกจิตสำนึก และสร้างภูมิคุ้มกันทางเทคโนโลยีให้กับเยาวชน

DQ หรือ Digital Intelligence Quitient
DQ หรือ Digital Intelligence Quitient ในมุมมองของ AIS

“ไม่ใช่แค่เรื่อง 5G หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ AIS ต้องทำ เพราะปัจจุบัน DQ มันก็สำคัญไม่ต่างกับ IQ และ EQ ผ่านข่าวปลอม รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่เป็นปัญหาบนอินเทอร์เน็ตมันเริ่มเข้ามามีผลในชีวิตคนรุ่นใหม่มากกว่าเดิม และอยากให้ลองจินตนาการว่าถ้าเราทุกคนคือเครือข่ายจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง”

สรุป

การแข่งขันของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้นดุเดือดไม่ใช่เล่นๆ แต่การที่ AIS สามารถเป็นผู้นำอยู่ได้ถึงตอนนี้ เพราะการลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่ทิ้งคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งาน ดังนั้นคงต้องรอว่าถ้า 5G มีการใช้งานอย่างแพร่หลายแล้ว AIS จะมีอะไรให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ ได้ตื่นเต้นอีกบ้าง ต้องติดตามกัน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Branded Content เป็นบทความที่ได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์