IoT Platform ยกระดับประเทศแค่ไหน? AIS มีคำตอบหลังขยายโครงข่าย NB-IoT ครอบคลุม 77 จังหวัด

ในยุคที่โลกหมุนด้วยเทคโนโลยี และทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเชื่อมต่อกันได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้ AIS ขยายโครงข่าย NB-IoT ได้ครอบคลุม 77 จังหวัด เพื่อยกระดับภาคส่วนต่างๆ ให้เข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

NB-IoT เชิงพาณิชย์ที่ครอบคลุมทั่วไทย

หลังจากประกาศตัวเป็นพาร์ทเนอร์กับทุกภาคส่วนภายใต้ AIS IoT Alliance Program หรือ AIAP ในช่วงต้นปี ทำให้ AIS ได้รับรู้ถึงความต้องการใช้งาน IoT ในเชิงพาณิชย์ของอุตสาหกรรมต่างๆ จนเกิดเป็น IoT Platform ที่รองรับทั้ง NB-IoT และ eMTC (Enhanced Machine-Type Communication)

เกรียงศักดิ์ วาณิชย์นที หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันทั้งภาครัฐ และเอกชนต่างตื่นตัวกับ IoT (Internet of Things) ดังนั้นการพัฒนา IoT Platform ให้สามารถใช้งานเชิงพาณิชย์ได้เร็วที่สุดจึงจำเป็น

“ไม่ว่าจะเป็น Smart Home และ Smart Parking ในฝั่งผู้บริโภค หรือ Smart Logistics, Smart City, Smart Farming และ Smart Environment ในฝั่งองค์กรก็ต่างเกี่ยวข้องกับ IoT ทั้งนั้น ทำให้ AIS ที่มีโครงข่ายพร้อมต้องพัฒนาเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้”

มีการนำไปใช้จริงเพื่อต่อยอดธุรกิจแล้ว

สำหรับโครงข่าย AIS NB-IoT นั้นปัจจุบันครอบคลุม 77 จังหวัดแล้ว ส่วนโครงข่าย eMTC ที่เหมาะกับการใช้งาน IoT แบบเคลื่อนที่เช่น Connected Car จะพร้อมให้บริการในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ก่อนที่จะครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดภายในไตรมาสที่ 3 ถือเป็นการให้บริการในเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบเจ้าแรกในประเทศไทย

ส่วนองค์กรธุรกิจที่เริ่มนำ IoT Platform ของ AIS ไปใช้งานจริงแล้วประกอบด้วย

  • บมจ.ปตท. : นำ IoT ไปตรวจสอบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ผ่านเซ็นเซอร์ที่จะส่งข้อมูลให้ผู้ควบคุมได้ทันที
  • บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค : นำ IoT ไปยกระดับ 15 โครงการที่พักอาศัยให้เป็น Smart City
  • โครตรอนกรุ๊ป : ผู้ผลิต และจำหน่ายเครื่องหยอดเหรียญรูปแบบต่างๆ ประยุกตใช้ IoT กับเซ็นเซอร์ตรวจจับเหรียญภายในเครื่อง เมื่เหรียญเต็มก็สามารถไปเก็บได้ทันเวลา

บริษัท ปตท. นำเทคโนโลยี IoT มาช่วยลดขั้นตอนและเพิ่มความสามารถของเซ็นเซอร์ให้ตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของท่อส่งก๊าซได้ตลอดเวลา และพร้อมส่งข้อมูลตรงจากท่อส่งก๊าซผ่านแอปพลิเคชั่นถึงมือวิศวกรที่ดูแลได้ทันที

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค นำเครือข่าย NB-IoT จากเอไอเอส เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการสร้าง IoT Smart City ที่มีการใช้งานจริงแล้ว เช่น Mobike, Smart Lighting, Smart Tracking รวมถึงการนำ Smart Home และ Security Platform มาต่อยอดพัฒนา Home Application อีกด้วย

นอกจากนี้ฝั่งสถาบันการศึกษาเช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็นำ เซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพอากาศ และบริหารจัดการน้ำ ไปใช้งานจริงที่เทศบาลนครหาดใหญ่ และจ.ภูเก็ต รวมถึง มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำ Smart Trash Bin แก้ไขปัญหาขยะล้นถัง ด้วยเซ็นเซอร์ที่ส่งสัญญาณภายใต้ IoT Platform

องค์กรที่มีความเป็นเลิศทางด้านบริการ IoT

จากการรุกหนักในด้านนี้ ทำให้ AIS ได้รับรางวัลจากองค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก “ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน” ว่าเป็น Thailand IoT Solutions Provider of the Year 2018 หรือองค์กรที่มีความเป็นเลิศทางด้านบริการ IoT แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำในเรื่อง IoT Platform อย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้า AIS ไม่ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรทุกภาคส่วนใน IoT Ecosystem ทั้งจากภาครัฐ เอกชน ผู้ให้บริการโซลูชั่นระดับโลก กลุ่มเมคเกอร์ และสตาร์ทอัพกว่า 400 รายภายใต้ AIAP เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ยุค 4.0

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปยกระดับให้ธุรกิจ หรือต้องการพัฒนาบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครือข่าย, อุปกรณ์ และ IoT Platform สามารถติดต่อ AIS ได้ทันที โทร. AIS Corporate Call Center 1149 หรือเว็บไซต์ http://business.ais.co.th/iot

สรุป

IoT ถือเป็นเรื่องจำเป็นในการทำธุรกิจยุคนี้อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะมันช่วยยกระดับการแข่งขันได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขนส่ง หรือการบริหารจัดการสินค้า แต่มากกว่านั้นคือมันช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรได้ด้วย ดังนั้นการเร่งพัฒนาเพื่อนำไปใช้ได้จริงในประเทศไทย IoT Platform จึงจำเป็นอย่างยิ่ง

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา