ผลกระทบจากไวรัส COVID-19 เริ่มลามไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ เนื่องจากห่วงโซ่การผลิตหยุดชะงัก รวมไปถึงลูกค้าไม่สั่งซื้อสินค้า ผลที่ได้คือโรงงานสิ่งทอในอาเซียนเริ่มทยอยปลดแรงงานบ้างแล้ว
กิจการสิ่งทอในประเทศต่างๆ ในประเทศต่างๆ เช่น กัมพูชา พม่า เวียดนาม เริ่มที่จะทยอยปลดคนงานแล้ว หลังจากที่ได้รับผลจากเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวลง จากผลของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 นอกจากนี้ยังทำให้ห่วงโซ่การผลิตสินค้าต่างๆ ได้รับผลกระทบจากการขนส่งและเดินทางในประเทศจีนที่แม้ว่าจะมีการทยอยเริ่มเดินสายการผลิตบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ครบ 100% ดี
- WHO ประกาศเตือนภัยครั้งใหม่ ยกให้ COVID-19 อยู่ในระดับความเสี่ยง “สูงมาก”
- ต้องรอด Bill Gates แนะยุทธศาสตร์รับมือไวรัสโควิด-19 ที่กำลังเป็นภัยคุกคามโลก
- บริษัทใหญ่ไทยรับมือ covid-19 ออกนโยบายดูแลพนักงานอย่างไรให้พ้นจากไวรัส
ในโรงงานรับผลิตเสื้อผ้าในประเทศพม่าแห่งหนึ่ง ประกาศที่จะเลิกจ้างพนักงานบางส่วนบ้างแล้ว โดยให้เหตุผลว่าบริษัทที่จ้างผลิตเสื้อผ้าในประเทศอิตาลีนั้นไม่มียอดสั่งซื้อเข้ามา ซึ่งแรงงานที่โดนเลิกจ้างจะได้รับเงินประมาณ 320 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 10,080 บาท ขณะที่ได้ค่าแรงต่อเดือนได้ประมาณ 130 เหรียญสหรัฐเท่านั้น
นอกจากนี้แรงงานหลายๆ คนในพม่ายังได้เล่าว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบนี้ทำให้การหางานใหม่ในช่วงนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากลำบากเช่นกัน สำหรับในกัมพูชาก็มีโรงงานกว่า 10 แห่ง เริ่มทยอยปลดแรงงานรวมกันกว่า 3,000 ราย
ไม่ใช่แค่การปลดพนักงานเท่านั้น แต่วัตถุดิบในการผลิตสินค้าที่ปกติแล้วโรงงานเหล่านี้สั่งจากประเทศจีนก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากวัตถุดิบที่เก็บไว้ในโรงงานเริ่มไม่เพียงพอ บางบริษัทแม้ว่าจะสั่งวัตถุดิบจากประเทศไทย ปากีสถาน หรือแม้แต่อินโดนีเซีย แต่ก็ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้กระทบกับกิจการตรงๆ เนื่องจากอุตสาหกรรมสิ่งทอเหล่านี้ค่อนข้างอ่อนไหวง่ายกับต้นทุน เช่น ค่าแรง วัตถุดิบ ฯลฯ
ทางด้านเสื้อผ้าแบรนด์ดังที่คนทั่วไปรู้จัก เช่น Adidas และ Uniqlo รวมไปถึง Nike ฯลฯ การผลิตสินค้าที่ได้รับผลชะงักจากเชื้อไวรัสในประเทศจีนสามารถที่จะย้ายกำลังการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ ได้ เช่น บังคลาเทศ เคนย่า ฯลฯ
ข้อมูลจาก WTO ในปี 2015 อุตสาหกรรมสิ่งทอในเอเชียมีมูลค่ามากกว่า 290,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 60% ของจำนวนเสื้อผ้าและเครื่องสวมใส่จนไปถึงรองเท้า โดยแหล่งผลิตนั้นอยู่ตามประเทศจีน กัมพูชา พม่า เนื่องจากค่าแรงที่ถูก
ที่มา – Channel News Asia
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา