3 ปัญหาใหญ่ที่คนรุ่นใหม่ยุคนี้ต้องเจอ: บ้านไม่มีอยู่-อายุสั้น-ตกงาน

ประเด็นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมเศรษฐกิจโลกประจำปี 2020 (World Economic Forum Annual Meeting) ซึ่งถือเป็นปีแรกที่มีคนหนุ่มสาวอายุต่ำกว่า 20 ปีเข้าร่วมงานและเป็นผู้นำคนรุ่นใหม่มากถึง 10 คน ซึ่ง World Economic Forum (WEF) มองว่า 3 ประเด็นนี้สำคัญและกลายเป็นความท้าทายใหม่ของคนหนุ่มสาวในยุคปัจจุบัน 

ภาพจาก Pixabay

ประเด็นแรก คือเรื่องที่อยู่อาศัย เรื่องบ้าน

คนหนุ่มสาวชาวยุโรปในสัดส่วนมากกว่า 2 ใน 3 ยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่ ไม่มีบ้านอยู่เป็นของตัวเอง การที่คนหนุ่มสาวหรือคนรุ่นใหม่ไม่มีบ้านอยู่นี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพื้นที่จากประเทศที่พัฒนาแล้วด้วย

เมื่อเทียบกับอัตราเงินเดือนของคนรุ่นพ่อแม่ พบว่า คนรุ่นใหม่ยุคนี้รายได้ต่ำกว่ารุ่นพ่อแม่ตัวเองอีก ไม่ได้เป็นแค่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษเท่านั้น แต่เป็นกันทั้งโลก 

สัดส่วนของคนรุ่นใหม่ที่ยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่นี้ ใน WEF ระบุว่า เป็นคนช่วงวัย 16-29 ปี หากเทียบเป็นเพศหญิง-ชาย พบว่าในยุโรปที่ยังอยู่กับพ่อแม่นั้น เพศหญิงมีจำนวน 62.9% โดยประเทศที่หญิงสาวยังอยู่กับพ่อแม่มากที่สุดนั้นอยู่ในประเทศมอลตามากถึง 82.4% ขณะที่สัดส่วนที่ต่ำสุดคือที่ฟินแลนด์จำนวน 30.1%

ส่วนผู้ชายที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่ในพื้นที่ยุโรปนั้น พบว่าในประเทศโครเอเชียมีมากถึง 93.1% และเดนมาร์กคือสัดส่วนน้อยสุดอยู่ที่ 39.5% 

ทั้งนี้ รายได้ของคนรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี มันอัตราเพิ่มขึ้น 19% แต่ถ้าถามถึงสัดส่วนการมีบ้านอยู่เป็นของตัวเองนั้น เมื่อเทียบกับปี 1997 คนหนุ่มสาวมีบ้านอยู่เป็นของตัวเองมากถึง 55% ขณะที่ปี 2017 มีเพียง 35% ลดลง 20% 

ขณะที่ในสหรัฐอเมริกานั้น บ้านมีราคาสูงขึ้นถึง 4 เท่านับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 จำนวนคนไร้บ้านก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน นับตั้งแต่ปี 1949 ถึงปี 2018 สัดส่วนหนี้ค่าผ่อนบ้านเทียบกับ GDP เติบโตมากจาก 15% เป็น 80%

ภาพจาก Shutterstock

ประเด็นที่สอง เรื่องอายุขัยของคนรุ่นใหม่ 

มีผลต่อช่วงเวลาการทำงานของคนหนุ่มสาวที่จะยาวนานมากขึ้น หรือไม่ก็ลดลงมากได้ แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

ในกรณีที่อายุการทำงานยาวนานขึ้น 

ในที่นี้ เราจะเห็นว่ามีการยืดอายุการเกษียณออกไปเรื่อยๆ ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในปัจจุบัน และยิ่งในไทยไม่ต้องพูดถึง เรื่องนี้ Brand Inside เล่ากันหลายครั้งแล้ว ในกรณีที่แก่แล้วก็ยังมีหนี้ ยังมีฐานะยากจน ต้องแบกรับภาระหนี้เยอะ ถึงแม้จะอายุมากแล้ว เราก็ยังต้องทำงานกันอยู่ เพื่อให้มีรายได้พอใช้ต่อไป

ในกรณีที่อายุขัยเฉลี่ยลดลง 

เรื่องนี้ สุขภาพจิตมีส่วนสำคัญอย่างมาก ในอเมริกา คนเสียชีวิตจากอาการสิ้นหวังเพิ่มขึ้น (Death of despair) ซึ่งเรื่องปัญหาทางการเงินมีส่วนสำคัญ เพราะรายได้ไม่พอใช้ นำไปสู่อาการซึมเศร้า เครียด สิ้นหวัง 

  • ในสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี 2010-2017 มีช่วงวัยการทำงานอยู่ที่ 25-64 ปี อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นจาก 328.5 ต่อ 1 แสนราย เพิ่มเป็น 348.2 ต่อ 1 แสนราย (สาเหตุหลักมาจากการใช้ยาเกินขนาด ดื่มแอลกอฮอล์หนัก และการฆ่าตัวตาย) 
  • ในอังกฤษนั้น คาดว่าอายุขัยจะต่ำกว่า 50 ปี (สาเหตุหลักมาจากการใช้ยาเกินขนาด ดื่มแอลกอฮอล์หนัก และฆ่าตัวตายสูงในคนวัย 20-49 ปี)  
  • ในไทย ตัวอย่างกรุงเทพฯ เพียงแห่งเดียวมีมากถึง 7 ใน 10 ที่มีสภาวะหมดไฟ
ภาพจาก Shutterstock

ประเด็นที่สาม คือเรื่องตกงาน ว่างงาน

กรณีว่างงานของคนรุ่นใหม่นี้ถือเป็นปัญหาระดับโลก เว็บไซต์ Plan International รายงานว่า คนรุ่นใหม่ที่อายุระหว่าง 15-24 ปี ไม่ได้รับการศึกษา ไม่มีงานทำ และยังไม่ได้รับการฝึกอบรมด้วย ขณะที่คนรุ่นใหม่จำนวน 75 ล้านคนได้รับการฝึกอบรม แต่ไม่มีงานทำ 

ทศวรรษหน้าจะมีคนรุ่นใหม่ราว 1 พันล้านคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ราว 90% เป็นคนรุ่นใหม่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา เฉพาะแค่ประเทศสมาชิกใน OECD* มีคนรุ่นใหม่ว่างงานจำนวนมากที่ว่างงาน เช่น 3 ประเทศที่มีอัตราว่างงานสูงสุดคือ อิตาลี 32%, สเปน 34%, กรีซ 40% นอกจากนี้ประเทศแอฟริกาใต้ก็มีคนรุ่นใหม่ว่างงานถึง 53%

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ประเมินว่า ในปี 2016 คนรุ่นใหม่ราว 13.1% หรือประมาณ 71 ล้านคนว่างงาน เทียบกับปี 2015 แล้ว เพิ่มขึ้น 12.9% มีการประเมินว่า คนรุ่นใหม่ราว 23% ที่ว่างงานในโลกนี้ จะอาศัยอยู่ด้วยเงินเพียง 1.25 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 38 บาท 

อ่านเพิ่มเติม

(ประเทศสมาชิก OECD* หรือ Organization for Economic Cooperation and Development ประกอบด้วยออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยียม แคนาดา ชิลี สาธารณรัฐเชก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิสราเอล อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักแซมเบิร์ก เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ โปร์แลนด์ โปรตุเกส สาธารณรัฐสโลวัก สโลวิเนีย สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา)

ที่มา – WEF, The Health Foundation, Youth Unemployment 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทูต การเมือง ประชาธิปไตย เสรีภาพ ความยุติธรรมและความเท่าเทียม ชอบอ่าน ชอบเขียน ชอบสืบค้นข้อมูล ชอบทำคอนเทนต์