H&M กำลังถูกบอยคอตต์ในจีน หลังประกาศไม่ได้บังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง

ก่อนหน้านี้ ที่สหรัฐฯ ออกมาประกาศแบนสินค้าที่มีการบังคับใช้แรงงานในมณฑลซินเจียง จีน ซึ่งแบรนด์เสื้อผ้า H&M ก็เคยออกมาประกาศเช่นกัน ว่าไม่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตจีนที่บังคับใช้แรงงานเหล่านี้ ล่าสุด H&M กำลังเผชิญปัญหาจากการถูกแบนในจีน 

H&M in China

เคยมีการรายงานจากสถาบัน ASPI ระบุว่า H&M เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ใช้ประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงานผ่านผู้ผลิตเส้นด้าย ขณะที่ H&M เองก็ออกแถลงการณ์ปฏิเสธว่า ไม่ได้บังคับใช้แรงงาน หลังจากนั้น 8 เดือน ก็มีกระแสจากประเทศในตะวันตกกรณีต้านจีนที่ใช้แรงงานอุยกูร์ ซึ่ง H&M ก็เจอกระแสโต้กลับจากกลุ่มเยาวชนคอมมิวนิสต์ที่ได้รับอิทธิพลจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน ให้ความเห็นร้อนแรงใน Weibo ว่า ต้องการหาเงินในจีน แต่ก็ปล่อยข่าวลือผิดๆ ที่นำไปสู่การบอยคอตต์ฝ้ายจากซินเจียง

ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาทั้งอังกฤษ แคนาดา สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปก็ประกาศคว่ำบาตรจีนอย่างเป็นทางการกรณีที่จีนปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ในจีน ซึ่งหนึ่งในห้าของสิ่งทอก็มีฝ้ายหรือเส้นด้ายที่มาจากภูมิภาคนี้

นอกจาก H&M แล้วก็อาจจะมีบริษัท Nike ที่น่าจะเป็นรายถัดไป หลังจากที่บริษัทเผยแพร่แถลงการณ์บนเว็บไซต์เพื่อแสดงความกังวลถึงการบังคับใช้แรงงานในซินเจียง ไนกี้ก็ระบุว่าแหล่งผลิตของบริษัทไม่ได้มาจากภูมิภาคนี้ และยืนยันว่าซัพพลายเออร์ในสัญญาไม่ได้ใช้สิ่งทอหรือใยด้ายมาจากภูมิภาคนี้ แน่นอนว่า หลังจากที่ไนกี้เผยแพร่แถลงการณ์เช่นนี้ออกไป ก็กลายเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ได้รับการค้นหาข้อมูลอย่างหนักจาก Weibo ซึ่งก็มีการซักถามมาว่าทางไนกี้ได้ร่วมบอยคอตต์ด้ายจากภูมิภาคนี้หรือไม่ ทางไนกี้ได้ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นนี้

Photo : Shutterstock

ขณะที่นักแสดงจีน Huang Xuan ที่เซ็นสัญญากับ H&M ได้ประกาศว่าเขาอาจจะยกเลิกสัญญาและยังระบุว่า H&M พยายามทำลายชื่อเสียงของประเทศ ทั้งนี้ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา มีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีน 3 รายยักษ์ใหญ่ที่มีทั้ง Pinduoduo, Jingdong และ Tmall ได้เอาช่องค้นหา H&M ในแพลตฟอร์มออกและยังเอาสินค้าออกจากการจัดจำหน่ายด้วย ซึ่งทาง H&M ในจีนก็ได้ออกมาโพสต์ข้อมูลใน Weibo ว่า (การไม่สนับสนุนการบังคับใช้แรงงานชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ในซินเจียง) ไม่ได้เป็นการแสดงจุดยืนทางการเมืองใดๆ H&M Group เคารพต่อลูกค้าคนจีนเสมอ และยืนยันว่าจะลงทุนและพัฒนาในจีนต่อไป

H&M คือค้าปลีกแฟชั่นที่มียอดขายสูงเป็นอันดับสองของโลก รองจาก Inditex ที่มี Zara เป็นเจ้าของ และจีนถือเป็นตลาดรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ทั้งนี้ ด้าน CCTV ก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ H&M ว่า มีการประเมินผิด มีความพยายามจะเล่นบทฮีโร่แต่ก็เป็นการกระทำที่ต้องมีการชดใช้ราคาแพง

ที่มา – The New York Times

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา