ปัจจุบัน ทั่วโลกมีคนประสบปัญหามีความผิดปกติทางจิตใจ (mental health disorder) ใกล้แตะ 1,000 ล้านคนแล้ว มากกว่า 75% เป็นกลุ่มคนที่อยู่ในประเทศที่มีรายได้น้อยและไม่ได้รับการรักษา
เรื่อง Mental health หรือเรื่องสุขภาพจิตเป็นหนึ่งในประเด็นเรื่องสุขภาพที่ไม่ได้รับการใส่ใจมากที่สุดเรื่องหนึ่ง เมื่อเกิดโควิด-19 ระบาดก็ยิ่งกลายเป็นปัจจัยเร่งทำให้ประเด็นเรื่องสุขภาพจิตย่ำแย่ลงกว่าเดิม
ทั้งนี้ หลายๆ เหตุผลที่ทำให้ประเด็นเรื่องสุขภาพจิตถูกเพิกเฉย ประเด็นแรกคือมันทำให้เกิดความรู้สึกอับอาย ที่ไม่เป็นปกติ ประเด็นที่สองคือการรับรู้ของปัญหาเรื่องความผิดปกติทางจิตใจเป็นเหมือนสินค้าหรู ดูแล้วไกลตัวกว่าอาการป่วยทั่วๆ ไปที่ปรากฎให้เห็นทางกายภาพให้รู้ว่าบุคคลนั้นป่วยจริงๆ โดยมาก มักมีค่ารักษาที่แพงเกินที่คนธรรมดาจะเอื้อมถึง นอกจากนี้เหตุผลสำคัญก็คือรูปแบบการให้บริการด้านนี้ไม่ทันสมัย ไม่มีข้อกำหนด ขาดการให้บริการทางสุขภาพจิตเชิงป้องกัน มีนโยบายที่จัดการแบบล้าหลังและยังขาดแคลนบุคลากรที่มาดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง
จำนวนของคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตในปัจจุบันเกือบ 1 พันล้านคนและยังอยู่ในประเทศที่มีรายได้น้อย ยิ่งไปกว่านั้น 75% ไม่ได้รับการรักษา
- ในทุกๆ ปี มีคนเสียชีวิต 3 ล้านคนเพราะดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด
- ในทุกๆ 40 วินาที มีคนตายเพราะการฆ่าตัวตาย
- ทุกๆ ปีคนเสียชีวิตเพราะฆ่าตัวตายราว 800,000 คน
- ทุกๆ การฆ่าตัวตายมีคนพยายามฆ่าตัวตายมากขึ้นทุกปี
- การฆ่าตัวตายคือสาเหตุที่ทำให้คนตายโดยเฉพาะคนช่วงวัย 15-19 ปี
- ราว 79% ของการฆ่าตัวตายในโลกเกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อย
- ราว 50% ของคนที่มีความผิดปกติทางจิตใจ (mental health disorders) เริ่มต้นในช่วงวัย 14 ปี
จากการประเมินพบว่า กว่า 160 ล้านคนต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรมเพราะความขัดแย้ง เหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ และกรณีฉุกเฉินอื่นๆ อัตราของคนที่มีความผิดปกติทางจิตใจสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกเท่าตัวในช่วงที่เกิดวิกฤต และมีผลการศึกษาที่พบว่ามีจำนวน 1 ใน 5 ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจ
ข้อมูลจาก WHO ระบุว่า ในช่วงที่โควิด-19 ระบาดนั้น ส่งผลให้มีการหยุดการให้บริการด้านสุขภาพจิตนับเป็น 93% ทั่วโลก ขณะที่ความต้องการได้รับความช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ในหลายประเทศทั่วโลกใช้เงินหรือมีงบประมาณในการดูแลด้านสุขภาพจิตน้อยกว่า 2% ทำให้ถูกคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าโรคซึมเศร้าอาจจะกลายเป็นภาระที่แต่ละประเทศต้องแบกรับมากกว่าโรคอื่นๆ
ปัญหาเรื่องสุขภาพจิตนี้ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากสุขภาพเท่านั้นแต่มันได้รับผลกระทบมาจากทุกภาคส่วนรวมถึงภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศด้วย หมายความว่ามันเชื่อมโยงกับสังคมและเศรษฐกิจในประเทศด้วย
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่า ในทุกๆ การลงทุนเพื่อแก้ปัญหาด้านสุขภาพจิต 1 เหรียญสหรัฐ จะได้ผลตอบแทนกลับมาราว 4 เหรียญสหรัฐ ตัวอย่างจากในยูเครน มีการประเมินว่าช่วงปี 2017-2030 ประเทศสามารถประหยัดลงได้มากจากการฟื้นฟูผลิตภาพ (productivity) และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ด้วย
การลงทุนในการดูแลด้านสุขภาพจิตเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน เรียกว่าอาจจะเป็นภาพรวมของสังคมทั้งหมด มีทั้งการให้บริการสาธารณะ, สาธารณสุข, การคุ้มครองทางสังคม, งาน, การศึกษา ดังนั้น การลงทุนในการดูแลด้านสุขภาพจิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าดูแลสุขภาพจิตคนในประเทศดี การพัฒนาประเทศย่อมเกิดขึ้นมากกว่าในประเทศที่ส่งเสริมให้คนสุขภาพจิตเสีย ผลิตภาพในการทำงานในประเทศที่มีแต่คนสุขภาพจิตเสียหรือมีปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิต ย่อมจะส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศย่อมจะเสื่อมโทรมตามไปด้วย
- เหงา ซึมเศร้า หมดไฟ อาการทางใจที่คนยุคนี้เป็นกันเยอะ
- จากทศวรรษที่สาบสูญ สู่ทศวรรษซึมเศร้า
- อยู่อย่างสิ้นหวัง ไทยฆ่าตัวตายมากที่สุดอันดับ 1 ของอาเซียน
ที่มา – WEF, WHO (1), (2), (3)
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา