ร้านเนื้อย่างในญี่ปุ่นกำลังเจอปัญหา ค่าเงินอ่อนค่า เงินเฟ้อสูง ค่านำเข้าเนื้อก็แพงขึ้น

สายเนื้อมีสะเทือน สายเนื้อที่ว่า คือเนื้อวัว

ร้านเนื้อย่างในญี่ปุ่นกำลังเจอปัญหาใหญ่ ก่อนโควิดระบาด อาหารประเภทเนื้อย่าง ที่ผู้คนมักจะเรียกขานว่า Yakiniku หรือความหมายตรงตัวก็คือ “เนื้อย่าง” เป็นที่นิยมและฮอตมากสำหรับสายกินเนื้อ เพราะรสชาติอร่อย แถมยังราคาดี ไม่แพงเกินไป แต่ปัจจุบัน ต้นทุนของราคาเนื้อวัวเริ่มถีบตัวสูงขึ้นพร้อมๆ กับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ ร้านอาหารประเภทเนื้อย่างกำลังประสบภาวะปั่นป่วน ชะงักงันครั้งแล้ว ครั้งเล่า

เฉพาะแค่ช่วงปลายเดือนสิงหาคม ปี 2023 นี้ พบว่า ร้านในเครือ Yakiniku หรือร้านอาหารประเภทที่เป็นเนื้อย่างต้องยื่นฟ้องล้มละลายราว 16 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปี 2022 ถึง 3 เท่า

Yakiniku

ในช่วงสิงหาคม ปี 2020 ช่วงแรกเริ่มของโควิดระบาด ร้านอาหารสไตล์ Yakiniku ได้พยายามหาวิธีนำเสนอการบริการแบบใหม่ โดยมี 3 สิ่งที่ต้องเลี่ยง ก็คือ พื้นที่ปิด, เป็นสถานที่แออัด หนาแน่นไปด้วยผู้คน และมีการสัมผัสที่ใกล้ชิด โดยให้มีการติดตั้งท่อดูดควันเหนือโต๊ะอาหารทุกโต๊ะ และบางร้านยังอำนวยความสะดวกด้วยการจัดทำพื้นที่สำหรับการใช้งานแยกออกเป็นโซนเดี่ยว (Solitary Yakiniku) เพื่อลดการสัมผัสและสามารถดื่มด่ำกับอาหารได้ลำพังด้วย

นอกจากนี้ ร้านอาหารหลายแห่งยังเริ่มนำการบริการสไตล์ผับญี่ปุ่นมาใช้ด้วย (สไตล์ Watami วาตามิ) เช่น เครือร้าน Izakaya ก็เริ่มจับสไตล์อาหารเนื้อย่างไปให้บริการ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ค่าเงินของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงอย่างมาก ทำให้ราคานำเข้าเนื้อวัวสูงมากขึ้น ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซ ค่าแรงล้วนถีบตัวสูงขึ้นตามๆ กัน และการโดดเข้ามาร่วมวงทำธุรกิจขายเนื้อย่างของเชนต่างๆ อาทิ Gyukaku, Jojoen, King รวมถึงร้านอาหารรายอื่นๆ ทำให้มีสภาพการแข่งขันที่มากเกินไป

ปัญหาก็คือ การแล่เนื้อในขนาดที่เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องยาก แม้จะปล่อยให้พ่อค้าส่งเนื้อเป็นผู้จัดการกระบวนการดังกล่าว แต่มันยังมีเรื่องการจัดเตรียมน้ำซอสรสชาติเยี่ยมที่มีกระบวนการทำยาก เครือร้านอาหารสไตล์วาตามิต้องทุ่มเทอย่างหนักเพื่อจะทำให้ทุกอย่างถูกต้องเหมาะสม และข้อเท็จจริงที่สร้างปัญหาก็คือ การจัดการแบบมือสมัครเล่น ไม่ได้ทำให้ลูกค้าอยากกลับมาใช้บริการใหม่ แต่การจะรักษาคุณภาพอาหารให้ดีในราคาที่สมเนื้อสมเนื้อกันก็ยังเป็นเรื่องยาก

ก่อนหน้านี้ ผู้ที่เป็นซัพพลายเออร์ในการจัดหาเนื้อก็คือผู้รอดชีวิตจากประเด็นเรื่องวัวติดเชื้อเป็นโรควัวบ้ากันมาได้ครั้งหนึ่งนับตั้งแต่สมัยปี 2001 ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วกระแสอาหารญี่ปุ่นก็มีทั้งช่วงที่บูมสุดๆ และความนิยมก็ค่อยๆ เสื่อมถอยไป เช่น ช่วงกระแสชานมไข่มุกมาแรง ช่วงไก่ทอดบูม ช่วงขนมปังพรีเมียมบูม ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่าการเจริญรุ่งเรืองของวัฏจักรอาหารญี่ปุ่นจะอยู่ที่ราวๆ 3-5 ปี จากนั้นก็จะค่อยๆ เสื่อมความนิยมลง

ที่มา – Japan Today

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา