มุมมองผู้ว่าแบงก์ชาติเกี่ยวกับค่าเงินบาทแข็งค่า แนะให้ผู้ประกอบการป้องกันความเสี่ยง

มุมมองจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับเรื่องของค่าเงินบาทไทยที่แข็งค่าอยู่ในขณะนี้

วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงประเด็นค่าเงินบาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นในงานสัมมนาวิชาการของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยผู้ว่าแบงก์ชาติกังวลในเรื่องข่าวที่ว่าถ้าหากค่าเงินบาทแข็งค่า 1 บาทแล้วจะทำให้รายได้การส่งออกหายไปถึง 2 แสนล้านบาท แต่มองว่ารายจ่ายก็ลดลงด้วย เช่น ราคาน้ำมัน หรือราคาเครื่องจักรที่ถูกลง

นอกจากนี้ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่าไม่ว่าจะเงินบาทของไทยจะอ่อนหรือแข็งย่อมมีคนได้ประโยชน์และเสียประโยชน์เช่นกัน โดยเงินบาทที่แข็งค่าเพิ่มมากขึ้นเกิดจากปัจจัยจากต่างประเทศ และด้วยเศรษฐกิจโลกที่เชื่อมโยงกัน ทำให้ยากที่จะควบคุม และยากที่จะคาดเดา

โดยประเด็นสำคัญๆ มีดังต่อไปนี้

  • แบงก์ชาติคาดว่าในตอนแรกธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed จะขึ้นดอกเบี้ย แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป เช่น สงครามการค้า ทำให้ Fed ลดดอกเบี้ย กลายเป็นว่าจากเดิมดอลลาร์ควรจะแข็งขึ้น กลับกลายเป็นอ่อนค่า ส่งผลให้บาทแข็ง นอกจากนี้ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยยังเป็นบวกค่อนข้างมาก ประมาณ 5 ถึง 6 ของ GDP
  • เงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาพักไว้ในประเทศไทย เช่น เงินร้อน เงินลงทุน แต่ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่าไม่ได้มาก เมื่อเทียบกับ GDP โดยเดือนมิถุนายนมากมากสุด เนื่องจากเงินทุนไหลเข้าเนื่องจากการเมืองไทยเป็นประชาธิปไตย
  • ปัจจัยจากการแนะนำของ MSCI ที่เพิ่มน้ำหนักของหุ้นไทย รวมไปถึง JP Morgan ได้แนะนำให้ลงทุนในพันธบัตรของไทย ส่งผลให้เม็ดเงินเข้ามาลงทุนมากขึ้น รวมไปถึงจากสถานการณ์ต่างประเทศ เช่น อิหร่าน ฯลฯ ทำให้ไทยได้รับอานิสสงค์จากเรื่องนี้ อย่างไรก็ดีธนาคารแห่งประเทศไทยไม่สบายใจในเรื่องนี้
  • ค่าเงินบาทของไทยยังถือว่าผันผวนต่ำ เมื่อเทียบกับ เกาหลีไต้ ฯลฯ แต่ผู้ประกอบการของประเทศเหล่านี้ก็สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ รวมถึงไทย
  • ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับธนาคารต่างๆ 8 แห่ง ในโครงการประกันช่วยชาติ มีวงเงินให้ผู้ประกอบการรายละ 50,000 บาท ตอนนี้มี E-Learning แล้วด้วย
  • ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้สกุลเงินท้องถิ่น ไม่ต้องเป็นเงินดอลลาร์ (Direct Quotation) เช่น ส่งออกไปยุโรปใช้สกุลเงินยูโร ฯลฯ หรือแม้แต่ซื้อขายสินค้าในรูปแบบเงินบาทด้วยซ้ำ
  • แนะนำให้ผู้ประกอบการบริหารความเสี่ยงค่าเงิน ยังมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญของผู้ประกอบการ

สามารถชมวิดีโอแบบเต็มๆ ได้จากด้านล่าง

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Content Writer ที่สนใจในเรื่องของตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ กลุ่ม TMT (Technology, Media, Telecom) การควบรวมกิจการ (M&A) นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ รวมถึงสิ่งละอันพันละน้อยทางธุรกิจที่น่าสนใจ