H&M เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่อออกมาแถลงการณ์ไม่สนับสนุนการบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง จนโดนคนจีน ลูกค้าชาวจีนรุมคว่ำบาตรไม่ซื้อสินค้า H&M ถูก 3 ยักษ์ใหญ่บริษัทจีน ทั้ง Pinduoduo, Jingdong และ Tmall เอาทั้งช่องค้นหาแบรนด์ H&M และสินค้าออกจากแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเป็นการโต้กลับการแถลงการณ์ของ H&M เนื่องจากมองว่าเป็นข้อความที่โจมตีจีน จน H&M ต้องออกมาชี้แจงว่าคำแถลงการณ์นั้นไม่ใช่การแสดงจุดยืนทางการเมืองและยังเคารพต่อลูกค้าชาวจีนเสมอ ล่าสุด H&M กำลังโดนคนเวียดนามแบนสินค้าเพราะปัญหาที่มาจากแผนที่ซึ่งเกี่ยวกับทะเลจีนใต้
ประเด็นความขัดแย้งเรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนในบริเวณหมู่เกาะทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับหลายประเทศในบริเวณหมู่เกาะนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีเหตุพิพาทกันมาเนิ่นนานแล้วและประเด็นการเมืองเหล่านี้คาบเกี่ยวกับเศรษฐกิจในแง่แย่งชิงสิทธิ์ในการครอบครองพื้นที่ที่รุ่มรวยไปด้วยทรัพยากรใต้ท้องทะเลจนนำไปสู่การแบนสินค้าหลายต่อหลายครั้งจากประเทศที่เป็นคู่ขัดแย้งและประเทศที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลจาก Vietnam Times รายงานว่า จีนระบุไว้เมื่อ 2 เมษายนที่ผ่านมาว่า H&M เห็นด้วยที่จะเปลี่ยนแปลงแผนที่เจ้าปัญหาตามคำวิพากษ์วิจารณ์ของทางการจีนที่กดดัน H&M ค้าปลีกแบรนด์แฟชั่นแห่งสวีเดน หลังจากที่มีข้อขัดแย้งกันในประเด็นบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง จีน รายละเอียดจาก Nikkei Asia ระบุว่า H&M เผยแพร่ภาพที่เป็นแผนที่บนเว็บไซต์โดยมีพื้นที่ที่เป็นหมู่เกาะทะเลจีนใต้และระบุว่าเป็นพื้นที่ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์ที่เป็นพรมแดนของจีน
ด้วยเหตุนี้ ผู้ใช้งานทวิตเตอร์และเฟสบุคชาวเวียดนามจึงเผยแพร่ภาพแผนที่ดังกล่าวและเอาภาพที่เวียดนามอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้มาเทียบกัน จากนั้นจึงเรียกร้องให้ H&M ออกมาขอโทษหรือไม่ก็ปิดหน้าร้านของ H&M ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปเสีย สาเหตุที่ระบุเช่นนี้เพราะทะเลจีนใต้กินอาณาบริเวณตอนใต้ของจีน ตอนใต้ของเมืองไห่หนาน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย และเวียดนามซึ่งล้วนอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้ รัฐบาลท้องถิ่นแห่งเซี่ยงไฮ้ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ระบุว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตรายงานให้จัดการกับเว็บไซต์ของ H&M กรณีสร้างแผนที่ที่น่าจะเป็นปัญหาต่อจีน ทางเซี่ยงไฮ้จึงขอให้ H&M แก้ไขโดยด่วน ด้านผู้จัดการ H&M แก้ไขข้อผิดพลาดตามที่จีนกล่าวอ้างโดยเร็ว จนในที่สุดก็เกิดปัญหาเพิ่มเมื่อเวียดนามมาเห็นภาพดังกล่าวแล้วพบว่าไม่เป็นความจริงอย่างที่จีนกล่าวอ้าง
H&M ก่อตั้งในปี 1947 มีหน้าร้านอยู่ทั่วโลกราว 4,372 แห่ง มีหน้าร้านออนไลน์ 52 แห่ง มีหน้าร้านอยู่ในเวียดนาม 12 แห่ง อย่างไรก็ดี สำหรับกรณีที่ชาวเวียดนามประท้วงและบอยคอตต์แบรนด์ ด้าน H&M ยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อเรื่องนี้
One day after the call for boycott, H&M stores in Hanoi were mostly empty. It is worth noting that these stores often have lots of visitors during the weekend. Images from Kenh 14. pic.twitter.com/AoKNeGdAKF
— Khang Vu (@KhangXVu) April 3, 2021
"H&M added the 9-dash line to its map of China to assuage Chinese. Vietnam urged affected countries to boycott this company together #hmfuckoff#ParacellslandsSpratlyIslandsBelongtoVietNam#HoangSaTruongSabelongtoVietNam " pic.twitter.com/ngMVmTkzcc
— Tran Vuong Nhu Hao (@tvnh0409) April 2, 2021
- หลังสหรัฐฯ แบน: H&M ประกาศ ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตจีนที่บังคับใช้แรงงานในซินเจียง
- H&M กำลังถูกบอยคอตต์ในจีน หลังประกาศไม่ได้บังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง
ที่มา – Nikkei Asia, Vietnam Times, H&M (1), (2)
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา