G7 ต้านจีน: สหรัฐ-อังกฤษ ชุบชีวิตกฎบัตรแอตแลนติก ร่วมมือด้านไซเบอร์-เทคโนโลยี-สาธารณสุข

us uk joe biden borris johnson g7 atlantic charter

อังกฤษ-อเมริกา จะร่วมมือกันมากขึ้น

ในการประชุมผู้นำ G7 ที่ Cornwall สหราชอาณาจักร ล่าสุดประธานาธิบดีสหรัฐ Joe Biden และ Boris Johnson นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ได้ลงนามในบทใหม่ของกฎบัตรที่มีขึ้นเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 

ให้คำมั่นสัญญาว่าจะร่วมรักษาระเบียบระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 และจะร่วมต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการที่มองว่าเป็นภัยคุกคามต่อระเบียบโลก

อะไรคือกฎบัตรแอตแลนติก

กฎบัตรแอตแลนติก หรือ Atlantic Charter เป็นความตกลงที่มีการลงนามตั้งแต่ปี 1941 เกิดขึ้นหลังแถลงการณ์ร่วมมือในสมัยนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิล ของอังกฤษ กับ ประธานาธิบดีรูสเวลต์ของสหรัฐในขณะนั้น ตกลงร่วมกันเกี่ยวกับระเบียบโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นหลักการที่ทั่วโลกจะยึดถือ

ในกฎบัตรยังปรากฏความร่วมมือที่ครอบคลุมไปถึงมิติเศรษฐกิจ เช่น การสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และลดการกีดกันทางการค้า

ในการประชุมล่าสุด ประธานาธิบดีสหรัฐก็ได้กล่าวว่ากฎบัตรแอตแลนติกจะเป็นการหยิบยกความท้าทายในยุคปัจจุบันขึ้นมา อย่างประเด็นความมั่นคงทางไซเบอร์ การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ ประเด็นสาธารณสุขของโลก และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

รายละเอียดในปัจจุบัน

ไบเดนมีแผนจะให้ความสำคัญในความสัมพันธ์กับประเทศประชาธิปไตย ด้วยความพยายามที่จะเผชิญหน้ากับประเทศเผด็จการอย่างรัสเซียและจีน

Xi Jinping China สี จิ้นผิง จีน
ภาพจาก Shutterstock

ทั้งสองประเทศยังมีเป้าหมายจะเปิดการท่องเที่ยวระหว่างกันอีกครั้ง แต่ยังไม่ได้กำหนดกรอบเวลาชัดเจน และให้คำมั่นว่าจะมีการพูดคุยในประเด็นการค้าที่เคยหยุดชะงักไป

ประเด็นที่ทุกประเทศจับตามองคือเรื่องระบบการจัดเก็บภาษีที่จะเป็นหัวข้อหลักในการประชุมครั้งนี้ด้วย

สุดท้ายแล้วคือความร่วมมือเพื่อต่อต้านจีน?

หลังจากการประชุมไบเดนกล่าวยืนยันในความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศ และจะรื้อฟื้นความร่วมมือในการปกป้องคุณค่าแบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นคุณค่าที่ทั้งสองประเทศมีร่วมกัน

นอกจากนี้ก็ได้กระชับความร่วมมือกันในประเด็นเกี่ยวกับจีน เห็นได้จากอังกฤษที่มีท่าทีแข็งกร้าวกับจีนมากขึ้น และร่วมแชร์ประเด็นความมั่นคงกับอเมริกา ในปีที่แล้วรัฐบาลอังกฤษก็ได้สั่งแบนอุปกรณ์จาก Huawei

สามารถดูสรุปประเด็นของกฎบัตรแอตแลนติกโดนทำเนียบขาวได้ ที่นี่

ที่มา: Nikkei Asia, WSJ, The Washington Post

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา