ข้อจำกัด หรือเปิดกว้างทางเพศ เมื่อคนขับ Uber เพศหญิงมีรายได้น้อยกว่าเพศชาย 7%

กลายเป็นที่น่าถกเถียงอีกครั้งเมื่อ Uber เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความแตกต่างทางเพศในการหารายได้จากการขับขี่ในระบบ โดยเพศษชายสามารถหารายได้ได้มากกว่าเพศหญิง แล้วอย่างนี้มันแสดงถึงความไม่เท่าเทียมหรือไม่

คนชับ Uber ที่เป็นเพศหญิง ในประเทศไทย
คนชับ Uber ที่เป็นเพศหญิง

Gig Economy กับการไม่คำนวนเรื่องเพศ

เมื่อขึ้นชื่อด้วย Gig Economy หรือการทำงานที่ไม่ได้อยู่ในระบบใดระบบหนึ่งเป็นพิเศษ เช่นการเป็น Freelance หรือพนักงานขับรถส่งพัสดุให้กับบริษัท Startup เรื่องเพศย่อมไม่ได้ถูกนำมาเป็นตัวแปรเพื่อคำนวนหารายได้อยู่แล้ว และ Uber ก็คือหนึ่งในบริษัทที่ไม่คำนวนเรื่องนี้เช่นกัน ผ่านการใช้แต่ระยะทาง และเวลามาคำนวนรายได้เท่านั้น

แต่การทำแบบนี้ก็เหมือนการสร้างช่องว่างทางเพศเช่นกัน เนื่องจากเมื่ออ้างอิงข้อมูลในระบบของ Uber พบว่า ผู้ขับเพศชายสามารถหารายได้ได้มากกว่าเพศหญิง 7% ผ่านการขับรถที่เร็วกว่าเพศหญิงราว 2.2% ทำให้มีรายได้มากกว่าปกติราว 50 เซนต์/ชม. (ราว 15 บาท) ผ่านประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเส้นทางที่มากกว่า

นอกจากนี้ยังมีเรื่องกลยุทธ์ในการขับขี่ที่วางแผนได้เก่งกว่าว่าจะขับเมื่อไหร่, ที่ไหน และอย่างไร เช่นการเลิกยกเลิกเที่ยว เพื่อไปรับผู้โดยสารที่มีโอกาสวิ่งได้เยอะขึ้น ที่เพศชาย โดยเฉพาะคนที่ขับมานานจะเชี่ยวชาญเรื่องนี้กว่าเพศหญิงที่เพิ่งมีเริ่มมาขับ ในทางกลับกันคะแนนผู้ขับ และอัตราการยกเลิกทริปก็มีความใกล้เคียงกันอยู่

ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่า ผู้ที่ขับมามากกว่า 2,500 เที่ยว จะมีรายได้มากกว่า 14% เมื่อเทียบกับผู้ที่ขับขี่น้อยกว่า 100 เที่ยว ไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม ดังนั้น Gig Economy ก็อยู่ที่คนมองมากกว่า มุมหนึ่งอาจสร้างความเท่าเทียมกันทางเพศ เพราะเพศใดก็หารายได้ด้วยวิธีนี้ได้ หรือบางมุมอาจสร้างความไม่เท่าเทียม เพราะคุณสมบัติทางเพศไม่เท่ากัน

สรุป

ความเห็นส่วนตัวมองว่ามันต่างกรรมต่างวาระมากกว่า เพราะจะให้เท่าเทียมกันในทุกเรื่องก็คงไม่ไหว ยิ่งเป็นเรื่องทางเพศด้วยแล้ว ความเสมอภาคในบางเรื่องอาจจะมี แต่บางเรื่องก็คงไม่ไหวจริงๆ ซึ่ง Gig Economy ก็สร้างกลไกนี้ออกมาค่อนข้างดีแล้ว ผ่านการวัดด้วยประสิทธิภาพในการทำงานจริงๆ ไม่มีอย่างอื่นมาเกี่ยวข้อง

อ้างอิง // Ubermarginalrevolution

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา