ทรัมป์แนะนำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อชนะจีนในสงครามการค้า

ประธานาธิบดีสหรัฐได้กล่าวว่าธนาคารกลางสหรัฐควรที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อที่จะสามารถเอาชนะสงครามการค้ากับจีน เนื่องจากจีนเตรียมที่จะลดดอกเบี้ยนโยบาย

ภาพจาก Shutterstock

โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวระหว่างไปเยี่ยมชมโครงการปิโตรเลียมในเมือง Louisiana ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ควรที่จะลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อที่สหรัฐอเมริกาจะได้ชนะสงครามการค้า และนอกจากนี้จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับมาเติบโตได้อีก หลังจากที่เขาได้กล่าวว่าตัวเลขการว่างงานของสหรัฐฯ ต่ำสุดในรอบหลายปี

ไม่กี่วันที่ผ่านประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่ากว่า 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยให้เหตุผลว่าจีนได้ล้มการเจรจาการค้ากับสหรัฐอเมริกาในประเด็นสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา รวมไปถึงจีนจะต้องทำให้ค่าเงินหยวนมีเสถียรภาพ ขณะที่จีนก็ตอบโต้กลับด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มูลค่าถึง 60,000 ล้านเหรียญเป็นการตอบโต้ในเรื่องนี้

ทรัมป์ได้มองเกมหลังจากนี้ว่าจีนเตรียมปั๊มเม็ดเงินไหลเข้าภาคเศรษฐกิจรวมไปถึงภาคการเงิน นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่จีนจะลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อที่จะสร้างปัญหาให้กับสหรัฐฯ (เนื่องจากค่าเงินหยวนอ่อนค่าทำให้ได้เปรียบสหรัฐฯ) และถ้าหากธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดดอกเบี้ยนโยบายให้สัมพันธ์กับจีนแล้ว สหรัฐจะชนะในเกมนี้แน่นอน

คำพูดของทรัมป์ ได้ส่งสัญญาณชัดเจนให้กับธนาคารกลางสหรัฐ ให้ลดดอกเบี้ยนโยบายตามที่ประธานาธิบดีขอ ซึ่งทรัมป์เองมักจะวิจารณ์นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็นประจำ นอกจากนี้ทรัมป์ยังมองว่าในช่วงที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ควรจะขึ้นและควรที่จะลดดอกเบี้ยนโยบายด้วยซ้ำ ซึ่งแตกต่างกับประธานาธิบดีคนอื่นๆ ที่มักไม่ค่อยวิจารณ์การทำงานของประธานธนาคารกลาง

ขณะเดียวกันนักลงทุนคาดว่าหลังจากการขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจใช้นโยบายลดดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้สูงถึง 70% ขณะที่ 1 อาทิตย์ที่ผ่านมาคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะลดดอกเบี้ยนโยบายเพียงแค่ 58.4% เท่านั้น

สอดคล้องกับ Eric Rosengren ประธานธนาคารกลางสหรัฐสาขาบอสตัน และ John Williams ประธานธนาคารกลางสหรัฐสาขานิวยอกร์ก มีความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจมีความเสี่ยงขาลงจากด้านการค้า และอาจต้องใช้นโยบายลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ที่มาYahoo Finance, CNBC, BBC

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา