ทรู คอร์ปอเรชั่น ชูจริยธรรม AI มุ่งคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมต่อยอดการใช้งานดิจิทัล

บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ยกระดับกลยุทธ์การดำเนินงานโดยนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้อย่างยั่งยืน ย้ำความสามารถ และบทบาทที่สำคัญขององค์กรรวมถึงภาคธุรกิจต่าง ๆ ที่สามารถพัฒนาการใช้งาน AI ในการดำเนินงาน รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถพนักงานในการใช้ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำตามมาตรฐานจริยธรรม

True Corporation

AI สำคัญต่อธุรกิจ แต่ต้องใช้อย่างมีจริยธรรม

ชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหาร และผู้บริหาร Digitalization และ Transformation บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว และเข้ามามีส่วนสำคัญต่อยอดในการทำงาน ซึ่ง AI ได้พัฒนาดีขึ้นควบคู่กับแนวทางจริยธรรมและความปลอดภัย

“ทรู ไม่เพียงแต่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีในประเทศไทยด้วย AI เท่านั้น แต่เรายังให้ความสำคัญต่อกฎบัตร AI ที่นำมาใช้งานด้วยจริยธรรม เราเชื่อว่าแนวทางบูรณาการที่คำนึงถึงเทคโนโลยี ผู้คน และจริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประเทศไทยในการผสานสู่การใช้ขีดความสามารถ AI”

ทั้งนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้นำ Machine Learning มาช่วยในการบริการลูกค้า ช่วยลดข้อผิดพลาดในกระบวนการทำงาน และปกป้องข้อมูลของส่วนบุคคลของลูกค้า โดย AI ได้มีส่วนในการทำให้ศูนย์บริการลูกค้าทรู และดีแทคดำเนินงานแบบไร้กระดาษ ในปี 2023 และตั้งเป้าปี 2027 จะใช้ระบบอัตโนมัติ 100% ในงานพื้นฐานประจำวัน

True Corporation

ยกระดับธุรกิจ ทรู และ ดีแทค ได้จริง

AI ช่วยให้ ทรู และ ดีแทค วินิจฉัยปัญหา และเสนอแนะได้ทันที ลดเวลาในการจัดการลง 35% รวมถึงการนำ AI มาใช้กับแชทบอท บริการลูกค้าประมาณ 150,000 รายการต่อเดือน นอกจากนี้ยังมีการอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรของบริษัทให้มีทักษะเรื่องดังกล่าวมากขึ้น

นอกจากนี้ AI ยังช่วยประหยัดพลังงานผ่านการคาดการณ์การใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ของบริษัท ทำให้ช่วงที่มีอัตราการใช้งานน้อย สามารถปิดอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานโดยไม่กระทบต่อประสบการณ์ของลูกค้า จนลดการใช้พลังงานลง 10-15% และเป็นก้าวสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 42% ภายในปี 2050

อย่างไรก็ตาม การติดอาวุธธุรกิจด้วย AI ต้องทำอย่างมีจริยธรรม ซึ่ง ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้กำหนดหลัก 4 ประการในการใช้งานอย่างมีจริยธรรมประกอบด้วย

  • จรรยาบรรณที่ดี (Good Intent): ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ควรใช้เพื่อสร้างประโยชน์ต่อมนุษย์เท่านั้น
  • ความเป็นธรรมและลดอคติ (Fairness and Bias Mitigation): ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อการใช้งาน
  • คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ (Data Privacy and AI Functionality): ควรคุ้มครองสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย
  • ความโปร่งใส (Transparency): การตัดสินใจของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ต้องสามารถอธิบายได้

True Corporation

ทุกฝ่ายตอกย้ำ AI ต้องใช้อย่างมีจริยธรรม

ขณะเดียวกัน ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA กล่าวว่า การนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้งานต้องควบคู่กับการมีความรับผิดชอบ องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องมีกรอบการใช้งานที่เหมาะสม และโปร่งใส

“การประยุกต์ใช้ AI ในทุกภาคส่วนมีความเสี่ยง และผลกระทบเชิงลบต่อผู้ใช้ ซึ่งต้องทำให้เกิดน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยเราจึงต้องมั่นใจว่าระบบนิเวศสำหรับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศมีความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจในการใช้งาน”

ด้าน จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้แปลหนังสือ “The Ethical Algorithm หรือ AI ที่มีหัวใจ” เสริมว่า การพัฒนาและนำระบบ AI มาใช้โดยไม่ระมัดระวังอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงได้ ดังนั้น องค์กรต่าง ๆ ควรคำนึงถึงหลักการที่จะนำมาใช้งาน

True Corporation

อ้างอิง // True Corporation

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา