Nikkei: การเคลื่อนไหวประท้วงในไทยล่าสุด รวมตัวครั้งใหญ่สุดนับตั้งแต่รัฐประหาร 57

Nikkei Asian Review มองว่า ความไม่พอใจทางการเมืองดังกล่าวมาพร้อมๆ กับความย่ำแย่ทางเศรษฐกิจในไทยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แม้เศรษฐกิจจะย่ำแย่หนักอยู่ก่อนหน้าแล้ว แต่หลังจากโควิด-19 ระบาดทั่วโลก ไทยซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี GDP ติดลบ 8% ตามที่แบงก์ชาติระบุ แต่มีการคาดการณ์จากสื่อต่างชาติว่าไตรมาสสองนี้น่าจะติดลบราว 12%

ภาพจาก Wikimedia โดย Dickelbers

สำนักข่าว Nikkei Asian Review รายงานการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบอบประชาธิปไตยภายในประเทศไทยครั้งล่าสุดถือเป็นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่มีการรัฐประหารภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาตั้งแต่ปี 2557 ที่ผ่านมา 

แรงสนับสนุนกลุ่มเยาวชนที่เคลื่อนไหวดังกล่าวมาจากหลากหลายทิศทางมากขึ้น เป็นอีกหนึ่งภาพตัวแทนที่สะท้อนให้เห็นว่าความพยายามของรัฐที่ต้องการจะทำให้เสียงพวกเขาเงียบลง..ไม่สำเร็จ

สำนักงานตำรวจคาดการณ์ว่าประท้วงครั้งนี้มีคนมาร่วมชุมนุมราว 12,000 คน แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่คาดการณ์และเปิดเผยกับ Nikkei ว่าน่าจะมีผู้ร่วมชุมนุมราวๆ 20,000 คน ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญที่สังเกตุการณ์จากต่างประเทศหลายรายประเมินว่าน่าจะมีคนรวมตัวราว 25,000 คน ในการชุมนุมนี้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจราว 600 คน

การประท้วงดังกล่าว มีการแสดงจุดยืนเพื่อแสดงถึงหลักการในการเคลื่อนไหวจากกลุ่มเยาวชนปลดแอก (Free People) ที่มี 3 ข้อเรียกร้อง 2 จุดยืน และ 1 ความฝัน ดังนี้ 

  • 3 ข้อเรียกร้อง รัฐบาลต้องหยุดคุกคามประชาชน ต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องยุบสภา 
  • 2 จุดยืน ต้องไม่มีการทำรัฐประหาร ต้องไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
  • 1 ความฝัน ความหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในประเทศไทยคือ การมี ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง
BANGKOK, THAILAND – AUGUST 16: Students and anti-government protesters attend a rally at Democracy Monument on August 16, 2020 in Bangkok, Thailand. Approximately 10,000 anti-government protesters attended the rally that is the latest in a string of protests throughout the country, started by students in late July. Student organizations have been calling for the dissolution of Thailand’s military backed government led by Prime Minister Prayut Chan-O-Cha. (Photo by Lauren DeCicca/Getty Images)

ข้อเรียกร้องที่ต้องการให้เกิดการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ ดังนี้ 

  • ยกเลิกมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ ที่ว่า ผู้ใดจะกล่าวฟ้องร้องกษัตริย์มิได้ และเพิ่มบทบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรสามารถพิจารณาความผิดของกษัตริย์ได้ เช่นเดียวกับที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับคณะราษฎร
  • ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา รวมถึงเปิดให้ประชาชนได้ใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันกษัตริย์ได้ และนิรโทษกรรมผู้ถูกดำเนินคดีเพราะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ทุกคน
  • ยกเลิก พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง และทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่เป็นของส่วนตัวของกษัตริย์อย่างชัดเจน 
  • ปรับลดงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรให้กับสถาบันกษัตริย์ ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศและทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่เป็นของส่วนตัวของกษัตริย์อย่างชัดเจน 
  • ยกเลิกส่วนราชการในพระองค์ หน่วยงานที่มีหน้าที่ชัดเจน เช่น หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ให้ย้ายไปสังกัดหน่วยงานอื่น และหน่วยงานที่ไม่มีความจำเป็น เช่น คณะองคมนตรีทั้งให้ยกเลิกเสีย
  • ยกเลิกการบริจาคและรับบริจาคโดยเสด้จพระราชกุศลทั้งหมด เพื่อกำกับให้การเงินของสถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้การตรวจสอบทั้งหมด
  • ยกเลิกพระราชอำนาจในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะ
  • ยกเลิกการประชาสัมพันธ์และการให้การศึกษาที่เชิดชูสถาบันกษัตริย์แต่เพียงด้านเดียวจนเกินงามทั้งหมด 
  • สืบหาความจริงเกี่ยวกับการสังหารเข่นฆ่าราษฎรที่วิพากษ์วิจารณ์หรือมีความข้องเกี่ยวใดๆ กับสถาบันกษัตริย์ 
  • ห้ามมิให้ลงพระปรมาภิไธยรับรองการรัฐประหารครั้งใดอีก

ทั้งนี้เว็บไซต์ iLaw และเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนได้เชิญชวนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเข้าชื่อกันให้ครบ 50,000 คนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ

  • 50,000 ชื่อ ร่วมรื้อ ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ https://ilaw.or.th/50000Con
  • เอกสารการลงชื่อเพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (คลิก ที่นี่)

นอกจากนี้ Nikkei รายงานว่า กลุ่มคนประท้วงมีราว 45 จังหวัดทั่วไทยที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลและแก้ไขรัฐรรมนูญ โดยข้อเรียกร้องของกลุ่มเคลื่อนไหวมีต่อเนื่องเรื่อยมา 

ก่อนหน้านี้ ทนายอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนเคยตกเป็นผู้ต้องหามีการแจ้งความดำเนินคดีเขาเกี่ยวกับการโพสต์ภาพบันทึกคำในโซเชียลมีเดีย จากนั้น เขาจึงเสาะหาข้อมูลหลักฐานเพื่อสู้คดี จนนำมาสู่การยื่นหนังสือผ่านเจ้าหน้าที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาลตั้งแต่ 19 มิถุนายนให้มีการตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ 

จากนั้น จึงมีการปราศรัยวิพากษ์สถาบันกษัตริย์เกิดขึ้น และนำมาสู่การเคลื่อนไหวในระดับเยาวชนที่มีคนหลากหลายวัยเข้าร่วมด้วย 

ประเด็นที่ Nikkei Asian Review คาดการณ์ว่าความตกต่ำของรัฐบาลในการบริหารประเทศที่นำไปสู่ความไม่พอใจทางการเมืองให้ร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ มาพร้อมกับปัจจัยสำคัญที่มาจากสถานะทางเศรษฐกิจร่อแร่ของไทยนั้น ถือว่า Nikkei ไม่ได้กล่าวเกินจริง เนื่องจาก ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจล่าสุดของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพิ่งจะประกาศออกมาว่าเศรษฐกิจไทยถดถอย -12.2% แย่ที่สุดในรอบ 22 ปี

ที่มา – Nikkei Asian Review, BBC (1), (2), The New York Times, Bloomberg, Deutsche Welle, สภาพัฒนฯ 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา