Nikkei Asian Review มองว่า ความไม่พอใจทางการเมืองดังกล่าวมาพร้อมๆ กับความย่ำแย่ทางเศรษฐกิจในไทยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แม้เศรษฐกิจจะย่ำแย่หนักอยู่ก่อนหน้าแล้ว แต่หลังจากโควิด-19 ระบาดทั่วโลก ไทยซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี GDP ติดลบ 8% ตามที่แบงก์ชาติระบุ แต่มีการคาดการณ์จากสื่อต่างชาติว่าไตรมาสสองนี้น่าจะติดลบราว 12%
- World Bank คาดคนไทยกว่า 8.3 ล้านคนจะตกงานหรือรายได้น้อยลง คนจนจะเพิ่มจำนวนขึ้น
- World Bank เศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาตกต่ำสุดในรอบ 60 ปี คาดการณ์ GDP โลก -5.2%
- World Bank เผย คนจนไทยเพิ่มขึ้น ไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนยากจนเพิ่มขึ้นหลายครั้ง
สำนักข่าว Nikkei Asian Review รายงานการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบอบประชาธิปไตยภายในประเทศไทยครั้งล่าสุดถือเป็นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่มีการรัฐประหารภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาตั้งแต่ปี 2557 ที่ผ่านมา
แรงสนับสนุนกลุ่มเยาวชนที่เคลื่อนไหวดังกล่าวมาจากหลากหลายทิศทางมากขึ้น เป็นอีกหนึ่งภาพตัวแทนที่สะท้อนให้เห็นว่าความพยายามของรัฐที่ต้องการจะทำให้เสียงพวกเขาเงียบลง..ไม่สำเร็จ
สำนักงานตำรวจคาดการณ์ว่าประท้วงครั้งนี้มีคนมาร่วมชุมนุมราว 12,000 คน แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่คาดการณ์และเปิดเผยกับ Nikkei ว่าน่าจะมีผู้ร่วมชุมนุมราวๆ 20,000 คน ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญที่สังเกตุการณ์จากต่างประเทศหลายรายประเมินว่าน่าจะมีคนรวมตัวราว 25,000 คน ในการชุมนุมนี้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจราว 600 คน
แถลงการณ์คณะประชาชนปลดแอก – Free People
เรื่อง จุดยืนต่อการเคลื่อนไหวของคณะประชาชนปลดแอก
—#ประชาชนปลดแอก#FreePeople pic.twitter.com/Wbfrn9IcKm— FREEPEOPLE (@FREEPEOPLE_TH) August 12, 2020
การประท้วงดังกล่าว มีการแสดงจุดยืนเพื่อแสดงถึงหลักการในการเคลื่อนไหวจากกลุ่มเยาวชนปลดแอก (Free People) ที่มี 3 ข้อเรียกร้อง 2 จุดยืน และ 1 ความฝัน ดังนี้
- 3 ข้อเรียกร้อง รัฐบาลต้องหยุดคุกคามประชาชน ต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องยุบสภา
- 2 จุดยืน ต้องไม่มีการทำรัฐประหาร ต้องไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
- 1 ความฝัน ความหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในประเทศไทยคือ การมี ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง
ข้อเรียกร้องที่ต้องการให้เกิดการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ ดังนี้
- ยกเลิกมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ ที่ว่า ผู้ใดจะกล่าวฟ้องร้องกษัตริย์มิได้ และเพิ่มบทบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรสามารถพิจารณาความผิดของกษัตริย์ได้ เช่นเดียวกับที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับคณะราษฎร
- ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา รวมถึงเปิดให้ประชาชนได้ใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันกษัตริย์ได้ และนิรโทษกรรมผู้ถูกดำเนินคดีเพราะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ทุกคน
- ยกเลิก พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง และทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่เป็นของส่วนตัวของกษัตริย์อย่างชัดเจน
- ปรับลดงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรให้กับสถาบันกษัตริย์ ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศและทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่เป็นของส่วนตัวของกษัตริย์อย่างชัดเจน
- ยกเลิกส่วนราชการในพระองค์ หน่วยงานที่มีหน้าที่ชัดเจน เช่น หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ให้ย้ายไปสังกัดหน่วยงานอื่น และหน่วยงานที่ไม่มีความจำเป็น เช่น คณะองคมนตรีทั้งให้ยกเลิกเสีย
- ยกเลิกการบริจาคและรับบริจาคโดยเสด้จพระราชกุศลทั้งหมด เพื่อกำกับให้การเงินของสถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้การตรวจสอบทั้งหมด
- ยกเลิกพระราชอำนาจในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะ
- ยกเลิกการประชาสัมพันธ์และการให้การศึกษาที่เชิดชูสถาบันกษัตริย์แต่เพียงด้านเดียวจนเกินงามทั้งหมด
- สืบหาความจริงเกี่ยวกับการสังหารเข่นฆ่าราษฎรที่วิพากษ์วิจารณ์หรือมีความข้องเกี่ยวใดๆ กับสถาบันกษัตริย์
- ห้ามมิให้ลงพระปรมาภิไธยรับรองการรัฐประหารครั้งใดอีก
10 demands for REFORMING the monarchy of Thailand. we demand and you must listen. #สนับสนุน10ข้อเรียกร้อง pic.twitter.com/ed5w5xxZvy
— MiddleFinger? (@Psolemn) August 16, 2020
ทั้งนี้เว็บไซต์ iLaw และเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนได้เชิญชวนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเข้าชื่อกันให้ครบ 50,000 คนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
- 50,000 ชื่อ ร่วมรื้อ ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ https://ilaw.or.th/50000Con
- เอกสารการลงชื่อเพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (คลิก ที่นี่)
Today @HRW witness tens of thousands take to #Bangkok’s street to join biggest youth-led protest that demands democracy and respect for rights in #Thailand. It’s a new phenomenon of political awakening. #ขีดเส้นตายไล่เผด็จการ #WhatsHappeningInThailand pic.twitter.com/eQUm6hL8Jq
— Sunai (@sunaibkk) August 16, 2020
นอกจากนี้ Nikkei รายงานว่า กลุ่มคนประท้วงมีราว 45 จังหวัดทั่วไทยที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลและแก้ไขรัฐรรมนูญ โดยข้อเรียกร้องของกลุ่มเคลื่อนไหวมีต่อเนื่องเรื่อยมา
ก่อนหน้านี้ ทนายอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนเคยตกเป็นผู้ต้องหามีการแจ้งความดำเนินคดีเขาเกี่ยวกับการโพสต์ภาพบันทึกคำในโซเชียลมีเดีย จากนั้น เขาจึงเสาะหาข้อมูลหลักฐานเพื่อสู้คดี จนนำมาสู่การยื่นหนังสือผ่านเจ้าหน้าที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาลตั้งแต่ 19 มิถุนายนให้มีการตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์
จากนั้น จึงมีการปราศรัยวิพากษ์สถาบันกษัตริย์เกิดขึ้น และนำมาสู่การเคลื่อนไหวในระดับเยาวชนที่มีคนหลากหลายวัยเข้าร่วมด้วย
ประเด็นที่ Nikkei Asian Review คาดการณ์ว่าความตกต่ำของรัฐบาลในการบริหารประเทศที่นำไปสู่ความไม่พอใจทางการเมืองให้ร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ มาพร้อมกับปัจจัยสำคัญที่มาจากสถานะทางเศรษฐกิจร่อแร่ของไทยนั้น ถือว่า Nikkei ไม่ได้กล่าวเกินจริง เนื่องจาก ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจล่าสุดของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพิ่งจะประกาศออกมาว่าเศรษฐกิจไทยถดถอย -12.2% แย่ที่สุดในรอบ 22 ปี
- GDP ไทยไตรมาส 2 ถดถอย -12.2% สภาพัฒน์ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้แย่ลงอีก
- สื่อนอกรายงาน: ไทยจัดการโควิดสำเร็จ แต่เศรษฐกิจพังยับเยิน
ที่มา – Nikkei Asian Review, BBC (1), (2), The New York Times, Bloomberg, Deutsche Welle, สภาพัฒนฯ
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา