ปี 2022 ไทยฟื้นตัวลำบาก หนี้ครัวเรือนมาก SME รับศึกหนักต้องปรับโครงสร้างหนี้

ดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยที่ซวนเซจากโควิด-19 ในช่วงบรรยายพิเศษ Thailand 2022 เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก ในงานสัมมนาส่งท้ายปีของประชาชาติธุรกิจ “Thailand 2022 Unlock Value” ก้าวสู่เส้นทางใหม่ ไร้ขีดจำกัด

Thai economics

เรากำลังเปิดประเทศในช่วงที่โควิดกำลังติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในยุโรป มีผู้เสียชีวิตตลอดเวลา ไทยก็มีคนเสียชีวิตวันละ 50 คน แต่ก่อนเราเคยพูดว่าคนเสียชีวิตบนท้องถนนเยอะ ตอนนี้สัดส่วนตัวเลขลดลง ก่อนโควิดเสียชีวิตวันละ 20 คน น้อยกว่าโควิดที่เสียชีวิตวันละ 50 คน สิ่งที่ Unlock อันที่ 1 คือ อย่าให้คนเสียชีวิตมากไปกว่านี้

การฟื้นเศรษฐกิจโดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศ คงได้ไม่มาก อาจต้องอาศัยนักท่องเที่ยวไทยมากกว่า ในอเมริกามีการไปตรวจในสัตว์เช่นในกวางมีการติดเชื้อโควิดมากกว่า 80% โควิดอาจจะอยู่กับเราจริงๆ ต้องระมัดระวัง ไวรัสตัวนี้ จากการวิจัยล่าสุดมันกลายพันธุ์ค่อนข้างช้า ปกติ ไวรัสที่มีแต่ rna กลายพันธุ์ค่อนข้างเร็ว แต่อันนี้กลายเป็นแค่ 2 ครั้งต่อ 1 เดือนคือค่อนข้างช้า

ตอนนี้เรารู้ว่าโควิดกระทบทั้งอุปสงค์และอุปทาน แต่กระทบอะไรมากกว่ากัน? เพราะมันกระทบต่อเงินเฟ้อ

การติดโควิดในช่วงที่เหลือจะกระทบอุปทานมากกว่าอุปสงค์ คนยังอยากใช้อยากกิน อยากเที่ยว แต่ภาคการผลิตได้รับผลกระทบมากกว่า ในอดีตจีนมีประชากรเยอะ แรงงานเยอะ สินค้าราคาถูก แต่กำลังปิดประเทศเพราะใช้นโยบาย Zero tolerance ทำให้กำลังผลิตลดลง ขณะที่อเมริกามีการว่างงานเยอะ มีรายงานระบุว่าการเตรียมหางาน 7 ล้านคนและมีคนที่หางาน แต่หางานไม่ได้ 27 สัปดาห์มากถึง 2 ล้านคน แต่มีการประกาศจ้างงาน 10 ล้านตำแหน่ง ที่อเมริกากำลังขาดแคลนแรงงาน คนหางานเหลืออยู่จริงๆ แค่ 5 ล้านคน ตอนนี้ อเมริกาเริ่มปรับเงินเดือนแล้ว สองประเทศนี้ GDP รวมกันได้ 1 ใน 3 ของโลก

ธนาคารกลางต้องขึ้นดอกเบี้ยมากน้อยแค่ไหน

Bank of America ประเมินว่า ธนาคารกลางอเมริกาจะคุมเงินเฟ้ออยู่ คุมให้สูงในปีหน้าและปรับลดลงในปีต่อไป คาดว่าผู้ว่าแบงก์ชาติในอเมริกาต้องขึ้นดอกเบี้ย 7 ครั้ง (คือ 3 ครั้งปีหน้าและ 4 ครั้งปีถัดไป) ถ้าเป็นเช่นนั้นปัญหาจะเกิดสำหรับลูกหนี้ หนี้ของโลกจาก IRE สูงมาก 300 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หนี้ต่อ GDP คือ 300% หนี้ภาครัฐกลับขึ้นมาสูงเท่ากับหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ถ้าดอกเบี้ยขึ้นเยอะ ลูกหนี้จะเหนื่อย อเมริกา หนี้เยอะที่สุดคือรัฐบาล หนี้ 125% ต่อ GDP ทำให้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากไม่ได้เพราะหนี้เยอะแล้ว ภาคอุตสาหกรรมใช้ได้แต่ไม่ได้ดีเท่าไร

ขณะที่จีนบริษัทธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารเป็นหนี้ 160.7% ของ GDP ปัญหาของจีนจะมาจากภาคธุรกิจที่กู้เงินเยอะมาก ถ้าของไทย ภาคที่มีปัญหาคือครัวเรือน ถ้าตัวอย่างจากครัวเรือนจีนและสหรัฐไม่เยอะ แต่ของไทยหนี้ครัวเรือน 90% ของ GDP สภาวะเศรษฐกิจ

Thailand Economic

จากภาพ บรรทัดสุดท้ายคือตัวเลขของแบงก์ชาติที่ระบุว่า การขาดดุลของรัฐบาล (การยืมเงินในอนาคตมาใส่เพื่อพยุงเศรษฐกิจในปีนี้) รัฐบาลเกินดุลงบประมาณ การขาดดุลเงินสุดของรัฐบาลช่วง 2016-2019 เท่ากับ -2.7% ของ GDP สถานะแบบนี้คือปัญหาใหญ่ สถานการณ์ค่อนข้างลำบากในการฟื้นเศรษฐกิจในช่วงถัดไป

หนี้ภาคครัวเรือนของไทยตัวเลขล่าสุดคือ 14.27 ล้านล้านบาทในไตรมาส 2 จีดีพีไทยโตเยอะเพราะเงินเฟ้อสูงและเพราะการส่งออก แต่ครัวเรือนไม่ได้ประโยชน์จากการส่งออกนัก นอกจากนี้ SMEs ไทยมีหนี้ที่มีปัญหาและน่าจะมีปัญหารวมกัน 20% ซึ่ง SMEs ราว 1 ใน 5 มีปัญหาหนี้ เราต้องปรับโครงสร้างหนี้ให้ SMEs ให้เขาสามารถเดินต่อไปได้ นี่คือประเด็นสำคัญ ทำยากแต่สามารถทำได้

ความเสี่ยงของโลก

หนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างอเมริกากับจีนที่รุนแรงมากทำให้เกิด decoupling in the global economy หมายความว่าทำให้ซัพพลายเชนพัง

สอง ปัจจัยที่ธนาคารกลางไล่ตามเงินเฟ้อไม่ทัน แล้วไปไล่ขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงภายหลังจะกระทบหุ้น และกระทบการขึ้นดอกเบี้ย จะทำให้ต้นทุนของทุนมันแพง ภาคการผลิตเราใช้สี่ปัจจัยหลักคือทุน แรงงาน เทคโนโลยี และทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ทั้งที่ดินหรือน้ำมัน ทั้งสี่ปัจจัยนี้ขาดแคลนถ้าเทียบกับปีก่อนๆ ความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะเกิดขึ้นมีไม่น้อยเลย

ที่โลกเรามีเงินเฟ้อต่ำ ส่วนหนึ่งมาจากจีนที่ผลิตสินค้าต้นทุนต่ำป้อนโลกอยู่มาก แต่จีนก็กลัวกำลังการผลิตที่อยู่ในวัยทำงานลดลงเรื่อยๆ ในอีก 5 ปีข้างหน้าจะเหลือกว่า 800 ล้านคน ทำให้เห็นเทรนด์ใหญ่ว่าจะมีการขาดแคลนแรงงานด้วย

ศุภวุฒิ สายเชื้อ

สำหรับไทย ในส่วนของ Global Innovation Index โดย WIPO เราอยู่ที่ 43 เวียดนาม 44 เมื่อย้อน 10 ปีที่แล้วเกาหลีใต้ที่ 16 เพียงสิบปีขึ้นเป็นอันดับ 5 ของโลก ประเทศไทยปี 2011 อยู่ที่ 48 เป็น 43 ส่วนเวียดนามสิบปีจาก 51 เป็น 44 เรียกว่าเวียดนามหายใจรดเรา

ส่วนที่เราอ่อนแอเรื่อง Innovation เป็นยังไงบ้าง?

ถ้า rank ทั่วโลกเราอยู่อันดับที่ 43 พบว่าสิ่งที่อ่อนแอมากที่สุดคือสถาบัน Regulatory Environment กฎเกณฑ์มากมายมหาศาล ขับเคลื่อนไม่ได้ การวิจัยก็ย่ำแย่ ทุนในการวิจัยก็น้อย ส่วนโครงสร้างพื้นฐานก็ไม่ค่อยดี ดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ได้เรื่อง ส่วนจุดแข็งของเราคือตลาดมีความซับซ้อน ครบถ้วน กว้างขวาง (Market Sophistication) ส่วน business sophistication ก็ทำได้ดี รวมทั้ง knowledge sophistication หรือการกระจายความรู้ด้านนี้ก็ถือว่าทำได้ดี

อ้างอิงจากสัมมนาสด มติชนออนไลน์

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา