หุ้นไทยขยับกรอบแคบจับตาโหวตนายกฯ รอบ 2 แล้วช่วงนี้หุ้นกลุ่มไหนควรหลีกเลี่ยง?

เมื่อวานนี้ (13 ก.ค.) การประชุมสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของไทยรอบแรกพบว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ตัวแทนนายกฯ จากพรรคก้าวไกลได้รับเสียงสนับสนุนไม่ถึง 376 เสียงตามที่กฎหมายกำหนด จึงคาดว่าจะมีการลงมติใหม่อีกครั้งในวันที่ 19 ก.ค. นี้

จากสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ยังมีความไม่แน่นอนส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบแคบโดย เช้าวันนี้ (14 ก.ค.) SET Index เปิดตลาดที่ 1,497.85 จุด โดยนักวิเคราะห์หลายฝ่ายต่างมองว่าตลาดหุ้นไทยจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบไปอีกระยะหนึ่ง

ด้าน บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส ระบุว่า ปัจจัยในประเทศมองว่าประเด็นการเมืองในประเทศยังเป็นประเด็นหลักที่กดดันตลาดหุ้นไทยในระยะนี้ให้มีแนวโน้มที่จะแกว่งตัวแคบต่อไป

ขณะที่ประเด็นต่างประเทศที่น่าสนใจอยู่ที่การประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐ โดยหลังมีรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค รวมทั้งรายงานข้อมูลเงินเฟ้ออื่นๆ ที่มีสัญญาณชะลอตัว แรงกดดันจากเรื่องการปรับขึ้น ดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐจึงเริ่มลดลง 

ด้านบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ ระบุเช่นกันว่า จากสถานการณ์การเมืองยังมีความไม่แน่นอนจึงต้องรอผลโหวตนายกฯ ครั้งที่ 2 ในสัปดาห์หน้า ในด้านเทคนิคจึงประเมินว่า SET Index จะแกว่งในกรอบระหว่าง 1,479-1,520 จุด รอการ Breakout จะมีทิศทางชัดข้ึน โดยหากขึ้นทะลุผ่าน 1,520 จุด จะเป็นสัญญาณที่ดี โดยมีแนวต้านถัดไปอยู่ท่ี 1,534 จุด ส่วนกรณีหลุด 1,479 จุด เป็นสัญญาณลบ และมีแนวรับถัดไปท่ี 1,465 จุด

โดยกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นไทยยังต้องเน้นการตั้งรับ และ Selective Buy เลือกหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ทั้งนี้ในช่วงสั้นแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนในกลุ่มต่อไปนี้

  1. หุ้นกลุ่มอาหาร (TU, CPF, GFPT, BTG) หลังมองมีโอกาสท่ีตลาดจะปรับลดคาดการณ์กำไรลงหลังประกาศงบไตรมาส 2/2023 ซึ่งคาดว่าภาพรวมจะอ่อนตัวทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) 
  2. หุ้นท่ีคาดได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญ จากกำลังซื้อภาคเกษตรที่ลดลง ได้แก่ กลุ่มพาณิชย์ (GLOBAL) กลุ่มสินเช่ือ (MTC, SAWAD) กลุ่มยานยนต์ (SAT, STANLY) กลุ่มเครื่องดื่ม (CBG, มีต้นทุนนำ้ตาลสูง) กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (CKP) รวมถึงกลุ่มเกษตรและอาหาร (CPF, GFPT)
  3. หุ้นท่องเที่ยวที่อาจได้รับกระทบเชิงลบจากประเด็นการเมือง

ในสัปดาห์นี้จะมีตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่จะออกมาเพิ่มเติมในวันนี้ ได้แก่

ญี่ปุ่น – ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. (รายงานครั้งสุดท้าย)
ยุโรป – ดุลการค้าเดือน พ.ค. 

ที่มา – บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์, บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา