บทวิเคราะห์ล่าสุดจาก ‘ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์’ เกี่ยวกับธุรกิจ Auto Loan บอกว่า คนไทยเช่าซื้อรถน้อยลง 23% แต่เอารถไป ‘จำนำทะเบียน’ เพิ่ม 27% เพราะกลุ่มรายได้น้อยขาดสภาพคล่อง กำลังซื้อหด หนี้ครัวเรือนกดดัน SME อ่อนไหว
ธุรกิจ ‘เช่าซื้อยานยนต์’ (Hire-purchase)
- ช่วงครึ่งแรกของปี ชะลอตัวลงสะท้อนจากยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อ ผลจากยอดขายรถในประเทศที่ลดลงต่อเนื่อง
- ช่วง 5 เดือนแรก มียอดจำหน่ายรถยนต์ 260,2365 คัน ลดลง 23.8%
- ช่วง 5 เดือนแรก มียอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 739,988 คัน ลดลง 9.2%
สาเหตุมาจาก กำลังซื้อภายในประเทศถูกกดดัน จากปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น
ธุรกิจ ‘จำนำทะเบียนรถ’ (Title loan)
- ไตรมาสแรกของปี 2567 ยังคงเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี
- ภาพรวมมียอดคงค้างทั้งสิ้น 395,221 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.7% แบ่งเป็นยอดสินเชื่อคงค้างใน
- ยอดคงค้างระบบธนาคารพาณิชย์ 90,465 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.3%
- ยอดคงค้างกลุ่ม NonBank จำนวน 304,756 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.4%
สาเหตุมาจาก เอกชนขาดสภาพคล่อง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย และผู้ประกอบการ SME อ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจที่สะสมมาตั้งแต่โควิด-19 และกดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน ต้นทุนการผลิตเพิ่มตามอัตราดอกเบี้ยและราคาพลังงาน นอกจากนั้น ธนาคารยังสนใจมาทำธุรกิจนี้เพิ่มด้วย
แล้วครึ่งปีหลังจะเป็นยังไงต่อ?
- ธุรกิจเช่าซื้อยานยนต์ : แนวโน้มจะปรับตัวลดลงตามการชะลอตัวของตลาดยานยนต์ภายในประเทศ คาดยอดขายในปีนี้จะน้อยกว่าปีก่อน เพราะเศรษฐกิจประเทศชะลอตัว การเมืองไม่แน่นอน หนี้ครัวเรือน และค่าครองชีพที่ได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมถึงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
- ธุรกิจจำนำทะเบียนรถ : แนวโน้มจะขยายตัวดีต่อเนื่อง เพราะขาดสภาพคล่องของภาคเอกชนโดยเฉพาะ ‘กลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย’ และ ‘ผู้ประกอบการ SME’ คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจภายในประเทศ มาตรการกระตุ้นกำลังซื้อภาครัฐล่าช้าจากการเมือง ค่าครองชีพสูง ต้นทุนธุรกิจสูงตามราคาพลังงานและอัตราดอกเบี้ย
อ่านข่าวเกี่ยวข้อง
- การประกาศยุติผลิตรถยนต์ในไทยของ Subaru และ Suzuki สะท้อนอะไร
- วิจัย KKP Research: การเข้ามาของ EV สัญชาติจีน คือวิกฤตยานยนต์ไทย
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา