วิจัย KKP Research: การเข้ามาของ EV สัญชาติจีน คือวิกฤตยานยนต์ไทย

KKP Research รายงานโดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร รายงานว่าภาพรวมของยานยนต์ไทยกำลังเจออุปสรรคใหญ่ ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่อง EV เท่านั้นแต่เป็นเพราะการบุกตลาดของจีนที่กำลังชิงส่วนแบ่งตลาดไทย โดยอุตสาหกรรมยานยนต์ถือเป็นหนึ่งในภาคการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของไทย เป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจมาหลายทศวรรษ และทำรายได้มากถึง 10-12% ของ GDP สร้างงานประมาณ 1 ล้านตำแหน่ง

EV China

ปัจจุบันเป็นฐานการผลิตใหญ่ อันดับที่ 11 ของโลก การผลิตรถยนต์รวมเกือบ 2 ล้านคันต่อปี แบ่งเป็นขายภายในประเทศราว 8 แสนคัน และส่งออก 1 ล้านคันต่อปี มูลค่าการส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนมีสัดส่วนสูงถึง 15% ของมูลค่าการส่งออกของไทยทั้งหมด

อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยกำลังเผชิญจุดเปลี่ยนสำคัญเมื่อรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ครองยอดขายต่อเนื่องถึง 7 หมื่นคัน คิดเป็น 9% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ มีสัดส่วน 17% ของเฉพาะยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ส่งผลให้ตลาด EV ไทยก้าวขึ้นเป็นตลาด EV ที่โดดเด่นของโลก ใกล้เคียงกับจีนในระยะเวลาเพียง 1 ปีครึ่ง

ทำไม การเข้ามาของ EV สัญชาติจีน จะสร้างปัญหาให้ยานยนต์ไทยในอนาคต?

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อยานยนต์ไทย เนื่องจาก การรุกคืบของจีนในการชิงส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ที่จีนมีกำลังการผลิตส่วนเกิน ตามด้วยความสามารถในการตัดราคา ส่งผลให้จีนมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวทีโลก 

ผลกระทบไม่ใช่แค่รถยนต์ EV เท่านั้น แต่เป็นเรื่องของตลาดรถปิกอัพ ที่เป็นหัวใจหลักของธุรกิจยานยนต์ไทยและตลาดส่งออกของไทยด้วย 

คาดการณ์ว่า จีนมีกำลังการผลิตรถยนต์กว่า 40 ล้านคันต่อปี แต่กำลังผลิตจริงอยู่ที่ประมาณ 30 ล้านคัน แบ่งเป็นตลาดภายในประเทศ 25 ล้านคัน และตลาดส่งออก 5 ล้านคัน เหลืออีกกว่า 10 ล้านคันต่อปี คือกำลังการผลิตส่วนเกิน ซึ่งยอดขายรถยนต์ในจีนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องและภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว ส่งผลให้มีกำลังผลิตส่วนเกินเพิ่มขึ้นอีก ตลาดส่งออกจึงยังเป็นตลาดสำคัญของจีนเพื่อระบายสต็อกรถยนต์ที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ 

จีนมีอุปสรรคในการส่งออกยานยนต์ เช่น ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์กับสหรัฐอเมริกาที่มีการกีดกันสินค้าจีนรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ ยุโรปก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มภาษีนำเข้าเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมยานยนต์ของยุดรป ส่งผลให้อาเซียน กลายเป็นเป้าหมายหลักในการระบายรถยนต์จีน 

ที่สำคัญ ไทยมีมาตรการให้เงินสนับสนุนการซื้อ EV และยังยกเว้นภาษีนำเข้ารถยนต์จีนผ่านสิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก China-ASEAN FTA (เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน) ทำให้ไทยกลายเป็นไม่กี่ประเทศที่นำเข้ารถไฟฟ้า ส่งผลให้ไทยมีสัดส่วนยอดขาย EV เร่งเร็วขึ้นกว่าหลายประเทศ แม้ประเทศเหล่านั้นจะให้เงินสนับสนุน EV เหมือนกับไทยก็ตาม 

KKP Research ประเมินว่า ความน่ากังวลต่อเศรษฐกิจไทย เนื่องจากปิกอัพคือหัวใจหลักของโครงสร้างการผลิตและตลาดรถยนต์ไทยซึ่งมียอดการผลิตกว่า 1 ล้านคันต่อปี หรือ 60-65% ของยอดการผลิตของไทยทั้งหมด ผลกระทบดังนี้

1) ไทยอาจสูญเสียรายได้จากการส่งออกไปยังตลาดสำคัญ ไทยผลิตส่งออกปีละ 6-7 แสนคันต่อปี ขายในประเทศปีละ 5-6 แสนคัน สัญญาณที่ชัดเจนคือ ในตลาดออสเตรเลียปี 2023 ปิกอัพของจีนสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดได้มากถึง 8% 

2) การผลิตปิกอัพเกี่ยวพันกับธุรกิจชิ้นส่วนภายในประเทศมากกว่าการผลิตรถยนต์นั่งอย่างมาก เนื่องจากใช้วัตถุดิบภายในประเทศมากกว่าครึ่ง 

3) ผลกระทบต่อดุลการค้าจะรุนแรงขึ้น การส่งออกปิกอัพที่ชะลอตัวจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อดุลการค้า ที่มีปัจจัยกดดันเงินบาทให้อ่อนค่าลงได้

การลงทุนจีน อาจไม่ช่วยต่อยอดยานยนต์ไทยเหมือนครั้งญี่ปุ่นมาตั้งฐานการผลิต?

การเข้ามาของยี่ปุ่น ส่งผลให้ยานยนต์ไทยเติบโตรวดเร็ว ทั้งด้านการผลิตและการส่งออก รมทั้งยกระดับรายได้ต่อหัวของไทยด้วย การเข้ามาของญี่ปุ่น่วงนั้นคือค่าเงินเยนที่ถูกกดดันให้แข็งค่าหลัง Plaza Accord (คือข้อตกลงที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศ G5 หรือ ฝรั่งเศส เยอรมนี สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น เพื่อทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง แก้ไขปัญหาขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ กับญี่ปุ่น และสหรัฐฯ กับเยอรมนี) 

ความน่ากังวลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยคือ ตลาดรถไทยเริ่มอิ่มตัว, การแข่งกับจีนโดยตรงในตลาดส่งออกรถยนต์ในต่างประเทศ จะกดดันให้ส่วนแบ่งตลาดการส่งออกรถยนต์ของไทยมีขนาดเล็กลง และมูลค่าเพิ่มภายในประเทศที่ไทยจะได้รับจากการผลิต EV 1 คัน ต่ำก่าการผลิตรถยนต์ ICE 

ที่มา – KKP Research

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา