คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการ ติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) คาดออกจากแผนฟื้นฟูได้ภายในปี 2567 สรุปสาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2565 ดังนี้
การหารายได้จากการขนส่ง มีรายได้เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ช่วงมิถุนายน 2565 มีส่วนแบ่งจำนวนผู้โดยสาร 33% จำนวนผู้โดยสารของทุกสายการบิน เป็นระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยของปี 2562 โดย บกท. มีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ย 12,654 คนต่อวัน ผู้โดยสารสายการบินไทยสมายล์สูงกว่า 12,000 คนต่อวัน รวมทั้งรายได้จากการขนส่งสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ทั้งขนส่งในเที่ยวบินโดยสารตามตารางบินและเที่ยวบินเช่าเหมาลำเดือนมิถุนายน 2565 จำนวน 2,057 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2562 คิดเป็น 44%
การปรับลดขนาดองค์กรและต้นทุนบุคลากร ส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรลดลงจาก 29,400 ล้านบาทต่อปี เหลือ 7,920 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นสัดส่วนต้นที่ที่ลดลงราว 73%
การปรับปรุงประสิทธิภาพฝูงบินและปรับลดต้นทุนอากาศยาน โดยปรับลดจำนวนแบบอากาศยานในฝูงบินจาก 9 แบบ เป็น 4 แบบ ลดต้นทุนด้วยอากาศยานลง 8,500 ล้านบาทต่อปี
จำหน่ายอากาศยานที่มีอยู่ในแผนปฏิบัติการบินของ บกท. ประกอบด้วย อากาศยานแบบโบอิ้ง 737-400 จำนวน 11 ลำ อากาศยานแบบแอร์บัส 340-500 จำนวน 1 ลำ แบบแอร์บัส 340-600 อีก 4 ลำและมีอากาศยานที่อยู่ระหว่างรอการจำหน่ายจำนวน 18 ลำ
การปรับลดต้นทุนค่าซ่อมบำรุงอากาศยาน ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนลง 4,500 ล้านบาทต่อปี
การหาประโยชน์จากทรัพย์สินรองที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ มีรายได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินรอง ตั้งแต่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการรวมจำนวน 9,258 ล้านบาท และยังมีทรัพย์สินรองที่อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อจำหน่าย อาทิ เครื่องบินฝึกจำลองที่ไม่อยู่ในแผนดำเนินงาน, อสังหาริมทรัพย์ในประเทศและต่างประเทศ ไปจนถึงการให้เช่าพื้นที่สำนักงานใหญ่
การติดตามหนี้สินที่เกินกำหนดชำระจากลูกหนี้น่วยงานภาครัฐ อาทิ กองบินตำรวจ กองทัพอากาศ เป็นต้น
บกท. มีเงินสดสุทธิ ณ 30 มิถุนายน 2565 ประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท เป็นระดับสูงสุดในรอบ 24 เดือน นับตั้งแต่มิถุนายน 2563 ทำให้ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องหาสินเชื่อใหม่ตามที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการที่ 5 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะออกจากแผนฟื้นฟูได้เร็วกว่ากำหนดภายในปี 2567 หรือต้นปี 2568 ขึ้นอยู่กับการปรับแผนฟื้นฟู คือแปลงหนี้เป็นทุน นับตั้งแต่เปิดประเทศ สามารถทำการบินในเส้นทางต่างๆ ทำให้มีรายได้ มีสภาพคล่องมากขึ้น ลดวงเงินกู้ตามแผนเดิมที่ตั้งไว้ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท โดยจะกู้จริงไม่เกิน 1.25 หมื่นล้านบาท
- นี่แค่ไตรมาสแรก! การบินไทยขาดทุน 3.2 พันล้านบาท ขาดทุนลดลงจากปีก่อน
- ถึงขั้นขายเก้าอี้เครื่องบิน! การบินไทย ประกาศขายเก้าอี้โดยสารคู่ละ 35,000 บาท
- ล้อติดพื้นแต่มีกำไร? การบินไทยรายได้ลด 51% เหลือ 23,747 ลบ. กำไรสุทธิโต 137.4% เป็น 52,113 ลบ.
ที่มา – ทำเนียบรัฐบาล
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา