ผลการศึกษาจากนักวิจัยมหาวิทยาลัยฮ่องกงและสถาบันศึกษาผู้สูงอายุ โตเกียว พบว่า ในช่วงที่โควิดระบาดระลอกสอง ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม ปี 2020 ที่ผ่านมา มีอัตราการฆ่าตัวตายของผู้หญิงและเด็กในญี่ปุ่นสูงขึ้น 16% สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
ผู้เขียนงานศึกษาระบุว่า การฆ่าตัวตายนี้มีโรคระบาดที่สร้างผลกระทบต่อสุขภาพจิตของเด็กและผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงที่เป็นแม่บ้านที่มีภาระงานบ้านเพิ่มขึ้นและยังมีปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ ผลการศึกษายังพบว่า การฆ่าตัวตายรายเดือนมีอัตราลดลง 14% ในช่วง 5 เดือนแรก ช่วงระหว่างกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึงเรื่องการสนับสนุนของภาครัฐ การลดชั่วโมงการทำงาน และการปิดโรงเรียนด้วย
จากนั้น อัตราการการฆ่าตัวตายรายเดือนเพิ่มสูงขึ้นถึง 16% ในช่วงโควิดระบาดระลอกสองคือช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม 2020 ผู้หญิงฆ่าตัวตายสูงขึ้น 37% ผู้ชายฆ่าตัวตายสูงขึ้น 5 เท่า เด็กและวัยรุ่นฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น 49% โรคระบาดคงอยู่ยาวนานทำลายอุตสาหกรรมต่างๆ และยังเพิ่มภาระให้ชีวิตผู้คนเพิ่มขึ้น ปัจจัยในการฆ่าตัวตายมีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งความกลัว ความกังวลจากโรคระบาด การเว้นระยะทางสังคม ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวเจือจางลง ความเหงา ความเบื่อหน่ายที่เพิ่มขึ้น และความเข้มงวดจากข้อจำกัดต่างๆ ล้วนส่งผลต่อสุขภาพจิตทั้งสิ้น
โรคระบาดทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะเดียวกันก็ทำให้อัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้น
อัตราการฆ่าตัวตายในญี่ปุ่น (suicide rate in Japan) ตามแผนที่ด้านบน ดังนี้
- ภาพ a (ซ้าย) อัตราการฆ่าตัวตายรายเดือน (ต่อจำนวน 1 ล้านคน) ในแต่ละเมือง แบ่งแถบสีตามช่วงอายุ
- ภาพ b (กลาง) จำนวนคนติดเชื้อโควิด-19 ที่ได้รับการยืนยันแล้วในแต่ละจังหวัดช่วง 31 ตุลาคม แบ่งแถบสีตามจำนวนคนที่ติดเชื้อ
- ภาพ c (ขวา) รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉิน แบ่งแถบสีตามช่วงระยะเวลา
ภาพที่สอง เป็นภาพอธิบายผลกระทบจากโควิด-19 ระบาด ส่งผลให้คนฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นทุกเพศ ทุกวัย โดยแบ่งภาพออกเป็น 6 ภาพ ดังนี้
- ภาพ a (ด้านซ้ายบน) ภาพนี้สะท้อนให้เห็นว่า ช่วงโควิดระบาดระลอกแรกคือเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน 2020 มีอัตราการฆ่าตัวตายน้อยลง ช่วงที่มีโควิดระบาดระลอกสองคือช่วงกรกฎาคมถึงตุลาคม มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้น
- ภาพ b (กลางบน) อัตราการฆ่าตัวตายของเพศชาย และ c (ขวาบน) อัตราการฆ่าตัวตายของเพศหญิง ทั้งหญิงและชายฆ่าตัวตายน้อยลงในช่วงโควิดระบาดระลอกแรกและเพิ่มสูงขึ้นมากในระลอกสอง
- ภาพ d (ซ้ายล่าง) ช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้น
- ภาพ e (กลางล่าง) ช่วงอายุ 20-69 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้นในช่วงระลอกสอง
- ภาพ f (ขวาล่าง) ช่วงอายุ 70 ปีขึ้นไป มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้นในช่วงเดือนสุดท้ายในการระบาดระลอกสอง
ช่วงก่อนเกิดโควิดระบาด อัตราการตายของผู้ชายอยู่ที่ 18.1 ต่อล้านคนสำหรับผู้ชาย และสำหรับผู้หญิงอยู่ที่ 7.8 ต่อล้านคน (นับจากช่วงเดือนพฤศจิกายน 2016 ถึงมกราคม 2020) มีการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้นสำหรับผู้ชายอยู่ที่ 21.8 ต่อล้านคนในช่วงวัย 20-69 ปี
ก่อนหน้านี้ ปัญหาทางการเงิน ความเครียดทางเศรษฐกิจถือเป็นเหตุผลสำคัญที่นำไปสู่การฆ่าตัวตายสำหรับผู้ชาย หลังจากโควิดระบาด การดิสรัปในตลาดแรงงาน การเว้นระยะทางสังคม การที่คนสูงวัยมีความเสี่ยงต่อการติดโควิด-19 เพิ่มขึ้น สร้างความเครียด ความกังวล รวมถึงความรุนแรงในครอบครัว ภาระในครอบครัวก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนฆ่าตัวตาย
ด้านนายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูงะ เพิ่งจะประกาศภาวะฉุกเฉินเนื่องจากโควิด-19 ระบาดทั้งในโตเกียวและพื้นที่โดยรอบอีกสามจังหวัด และขยายเพิ่มอีกเจ็ดจังหวัดซึ่งรวมโอซากาและเกียวโตด้วย
ทาโร โคโนะ รัฐมนตรีกระทรวงการปฏิรูปการบริหารและกฎระเบียบระบุว่า อาจมีการประกาศภาวะฉุกเฉินในบางพื้นที่เพิ่มขึ้น แต่จะไม่ทำให้เศรษฐกิจพังเด็ดขาด ผู้คนกังวลเกี่ยวกับโควิด-19 ระบาด ขณะเดียวกันผู้คนจำนวนมากก็ฆ่าตัวตายเพราะพวกเขาสูญเสียหน้าที่การงาน สูญเสียรายได้ พวกเขามองไม่เห็นความหวังที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป เราจำเป็นต้องจัดการโควิดให้ได้และก็ต้องจัดการเศรษฐกิจให้รอดด้วย
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันฆ่าตัวตายคาด โควิด-19 ทำคนฆ่าตัวตายสูง
- โควิดพ่นพิษแรงงาน หนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นและอเมริกา ถอดใจ เลิกหางานทำ
ที่มา – Japan Today, nature research: Increase in suicide following an initial decline during the COVID-19 pandemic in Japan
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา