เปิดหลักเกณฑ์ประกันสังคมหลังแก้ไข: ขยายอายุ-เพิ่มประโยชน์ทดแทน-แก้บทลงโทษนายจ้าง

วานนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยมีสาระสำคัญในการแก้ไขหลายด้านด้วยกัน ทั้งด้านหลักเกณฑ์ เงื่อนไขผู้ประกันตน การแก้ไขคำนวณเงินเพิ่มค้างชำระเงินสมทบ ไปจนถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน

Thai

รายละเอียดสำหรับการเพิ่มเติมในเงื่อนไขการเป็นผู้ประกันตน ดังนี้

  • ให้ลูกจ้างอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และจากเดิมอายุไม่เกิน 60 ปีเป็นอายุไม่เกิน 65 ปี หรืออายุขั้นสูงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาเป็นผู้ประกันตน เพื่อให้แรงงานกลุ่มผู้สูงอายุได้รับความคุ้มครองในระบบประกันสังคม
  • กำหนดให้ผู้ที่เคยประกันตนตามมาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว จากเดิมไม่น้อยกว่า 12 เดือนเป็นไม่น้อยกว่า 48 เดือน ต่อมาความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ถ้าผู้นั้นต้องการประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบเลขาธิการกำหนดภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนเพื่อปรับเงื่อนไขในส่วนระยะเวลาการส่งเงินเงินสมทบของผู้ประกันตนที่ต้องการมาสมัครเข้าเป็นเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ให้เหมาะสม

แก้ไขการคำนวณเงินเพิ่มค้างชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 โดยผู้ประกันตนที่ไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนด ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ จากเดิมสำหรับเศษของเดือน ถ้าถึง 15 วันหรือกว่านั้นให้นับเป็น 1 เดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง เงินเพิ่มที่คำนวณได้ต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบที่ต้องจ่าย

aging society

แก้ไขหลักเกณฑ์ สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนของผู้ประกันตน 

  • กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างได้ส่งเงินสมทรบครบตามเงื่อนเวลา ภายหลังการสิ้นสภาพเป็นผู้ประกันตามมาตรา 33 ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรต่อไปอีก 6 เดือน (จากเดิม ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพจะได้รับประโยชน์ทอดแทน 4 กรณีคือ กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และตาย) เพื่อขยายความคุ้มครองให้ผู้ประกันตนได้รับมากขึ้น
  • กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ประกันตนที่เป็นผู้รับบำนาญชราภาพประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไปให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนดภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน และให้นำส่งเงินสมทบเพื่อให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน 3 กรณีคือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพและกรณีตายโดยสิทธิดังกล่าวไม่สามารถโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และในกรณีที่ตรวจสอบพบว่าผู้ประกันตนหรือบุคคลซึ่งมีสิทธิมีหนี้อันเกิดจากการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ สปส. มีสิทธิหักเงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ปรกันตนหรือมีสิทธิมีหนี้ค้างชำระกลับเข้ากองทุน (จากเดิม ผู้ประกันตนซึ่งเป็นผู้รับบำนาญชราภาพไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนอีกได้)

Thai

แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรไม่เกิน 2 ครั้ง เป็นการเหมาจ่ายอัตราครั้งละร้อยละ 50 ของค่าจ้าง จากเดิม 90 วัน เป็นเวลา 98 วัน หรือตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อกำหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเพิ่มขึ้น

แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ประกันตนทุพพลภาพอันมิใช่จากการทำงานมีสิทธิได้รับเงินเงินทดแทนขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ จากเดิมร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นร้อยละ 70 ของค่าจ้างเพื่อกำหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพเพิ่มขึ้น

แก้ไขเพิ่มเติมประเภทของประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • เงินเลี้ยงชีพรายเดือน เรียกว่า เงินบำนาญชราภาพ
  • เงินบำเหน็จที่จ่ายให้ครั้งเดียว เรียกว่า เงินบำเหน็จชราภาพ
  • เงินที่จ่ายให้ก่อนรับเงินบำนาญชราภาพ เรียกว่า เงินบำนาญจ่ายล่วงหน้า (จากเดิม กำหนดประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพไว้ 2 ประเภท คือเงินบำนาญชราภาพและเงินบำเหน็จชราภาพ) เพื่อให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพก่อนได้รับนั้น สามารถมีสิทธิได้รับเงินก้อนส่วนหนึ่งก่อนได้

แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน (15 ปี) มีสิทธิเลือกได้รับเงินบำนาญชราภาพหรือเงินบำเหน็จชราภาพ ตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และกำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ประกันตนสามารถยื่นขอรับเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาก่อนหรือสามารถนำไปเป็นหลักประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน (จากเดิมให้ผู้รับประกันตนส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 180 เดือนมีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเท่านั้น และผู้ประกันตนไม่สามารถขอยื่นรับเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาก่อนหรือสามารถนำหลักประกันมาใช้ได้)

Thai baht

กำหนดเพิ่มให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนหรือผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้สำนักงานหักเงินชราภาพของผู้ประกันตนซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระอันเกิดจากการดำเนินการที่นำเงินชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินเพื่อส่งใช้กองทุนก่อนในกรณีมีเงินชราภาพเหลืออยู่ และเมื่อหักเงินดังกล่าวแล้วเหลือเท่าไรให้ทายาทของผู้นั้นซึ่งมีชีวิตอยู่ในวันที่ผู้ประกันตนหรือผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข อัตราและการหักส่วนลดเงินบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพที่กำหนดในกฎกระทรวง (เดิม มิได้กำหนดให้สำนักงานประกันสังคมสามารถหักเงินชราภาพได้)

กำหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานต่อเมื่อผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน และต้องอยู่ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน และจะต้องไม่ใช่ผุ้ได้รับหรือเคยได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพและมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ (เดิม กำหนดให้ผู้ประกันตนมีอายุเกิน 55 ปีบริบูรณ์ได้รับสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเท่านั้น)

แก้ไขมาตรการลงโทษทางอาญาแก่นายจ้าง 

กำหนดให้นายจ้างซึ่งไม่ยื่นแบบรายการต่อสำนักงานภายในกำหนดเวลา หรือไม่แจ้งเป็นหนังสือต่อสำนักงานขอให้เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการภายในกำหนดเวลา หรือไม่ยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบภายในกำหนดเวลาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (เดิม กำหนดให้นายจ้างที่มีเจตนาไม่ยื่นแบบรายงานหรือไม่แจ้งเป็นหนังสือมีความผิด)

กำหนดให้นายจ้างที่ยื่นแบบรายการหรือแจ้งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมรายการอันเป็นเท็จต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

Thailand

ที่มา – รัฐบาลไทย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา