สินค้าหมดอายุก็ขายได้ เยอรมนีเดินหน้าลดขยะจากอาหาร ขายได้แต่ต้องแจ้งลูกค้าด้วย

ซุปเปอร์มาร์เก็ตในเยอรมันแห่งหนึ่ง หันมาขายสินค้าที่คนอื่นไม่ขาย เช่น ผักผลไม้ใกล้เหี่ยว สินค้าแปะป้ายผิดและใกล้หมดอายุที่มาจากเหล่าเกษตรกร ห้างค้าส่งและห้างค้าปลีกหลายแห่ง

SirPlus grocery store in Germany
SirPlus grocery store in Germany

ห้างร้านต่างๆ ส่วนมากมักจะเน้นขายผัก ผลไม้สด หรือชูจุดเด่นสินค้าสดจากไร่จากสวนเป็นจุดขาย แต่สำหรับ SirPlus ที่เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติเยอรมันกลับไม่คิดเช่นนั้น แต่เน้นขายอาหารกระป๋องที่ใกล้หมดอายุ รวมทั้งหมดอายุไปแล้ว สินค้าที่แปะป้ายผิด และผลไม้ที่ใกล้เหี่ยว เฉา หรือไซส์ไม่ได้ถูกคัดสรรมาอย่างดี ด้วยสนนราคาที่ลดลง 80%

การซื้อสินค้าจากร้าน SirPlus ทำได้ทั้งไปที่ร้านและสามารถสมัครเป็นสมาชิกของร้านได้ ร้านจะส่งสินค้ามาให้ที่บ้านหนึ่งกล่อง โดยเป็นสินค้าที่สุ่มเลือกมาให้ด้วย

SirPlus
ตัวอย่างสินค้าที่ถูกสุ่มเลือกเพื่อจัดส่งไปให้ลูกค้าที่บ้านของร้าน SirPlus

ร้าน SirPlus จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับทางหุ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ และจะได้รับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่ต้นสังกัดไม่ต้องการ ไม่ว่าจะมาจากฟาร์ม จากการขนส่ง จากค้าปลีกและค้าส่งต่างๆ ทางฝั่งซัพพลายเออร์เหล่านี้บ้างก็บริจาคให้กับทางร้านเองเนื่องจากตนเองก็มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการไม่ต้องเสียค่ากำจัดสินค้าที่ไม่ต้องการเหล่านี้ด้วย

สินค้าที่ต้นสังกัดจากหลากหลายกลุ่มไม่ต้องการนี้มีทั้งการแปะป้ายสินค้าผิด รวมถึงผักผลไม้ที่มีรูปร่างผิดสัดส่วนและใกล้เหี่ยวเฉาด้วย ก่อนที่อาหารเหล่านี้จะถูกจัดขึ้นชั้นเพื่อวางโชว์ลูกค้าจะต้องถูกคัดสรร เลือกไซส์ให้มีขนาดสวยงาม น่าทาน นอกจากนี้ สินค้าที่หมดอายุแล้วแต่ยังสามารถบริโภคได้ก็ยังเอามาขายได้โดยที่ถูกกฎหมายด้วย แต่ผู้ค้าจะต้องแจ้งลูกค้าว่ามีสินค้าที่หมดอายุ นโยบายเหล่านี้ช่วยทำให้ห้างร้านสามารถป้องกันขยะที่มาจากอาหารได้มากถึง 2,000 ตันต่อปี

(ภาพด้านบนคือ บรรยากาศในร้านบางส่วน)

สินค้าเกษตรมักจะเสียหายก่อนจะมาถึงห้างสรรพสินค้ามากถึง 14% ซึ่งก็เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการหีบห่อสินค้า การเก็บรักษาสินค้า ระบบขนส่งโลจิสติกส์เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเสียหายได้ ทั้งนี้ ในปี 2011 องค์การสหประชาชาติเคยประเมินไว้ว่ามีขยะที่มาจากอาหารมากถึง 1.3 พันล้านตันต่อปี ขณะที่ผลิตได้เพียง 1 ใน 3 ส่วนเท่านั้น หมายความว่ากว่า 820 ล้านคนทั่วโลกกำลังประสบภาวะหิวโหย

(คลิปด้านบนนี้ เป็นคลิปรีวิวสินค้าที่อยู่ในกล่องแบบสุ่มเลือกสินค้า)

อย่างไรก็ดี เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะลดจำนวนขยะที่มาจากอาหารลงครึ่งหนึ่งจากค้าปลีกและผู้บริโภคในปี 2030 ด้วยการลดการสูญเสียอาหารทั้งจากการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน ทุกคนมีส่วนในการทำให้เป้าหมายนี้เป็นจริงได้ นับตั้งแต่เกษตรกรจนถึงครัวเรือน

ข้อริเริ่มเบอร์ลินนี้ทำให้เกิดความแตกต่างมากขึ้น ช่วยให้ทัศนคติของคนเปลี่ยนแปลงได้จากจำนวนอาหารที่ล้นเกิน ด้วยการลดจำนวนของเสียและเพิ่มความตระหนักรู้ในปัญหามากขึ้น ทำให้ห้างร้านและประเทศอื่นๆ สามารถปฏิบัติตามได้

ที่มา – WEF

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา