EIC ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้อยู่ที่ 3.2% ส่วนปี 2566 จีดีพีอยู่ที่ 3.4% มีความไม่แน่นอนสูง

EIC ประเมินเศรษฐกิจปีนี้ ปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า ส่วนปีหน้าปรับตัวลดลง นั่นหมายความว่าเศรษฐกิจไทยจะมีความเสี่ยงมากขึ้น สำหรับปัจจัยในการฟื้นตัวนั้น เรียกว่าขึ้นอยู่กับ 3 ไม่ คือ เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวไม่สอดคล้องกัน มีความไม่แน่นอน ทั้งในด้านภูมิรัฐศาสตร์ ซัพพลายเชน และความไม่เท่าเทียม หมายถึงอุตสาหกรรมบางภาคส่วนเติบโตไม่ดี

SCB EIC

EIC มองว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขาขึ้น การกระตุ้นเศรษฐกิจมีความจำเป็นน้อยลง มาตรการทางการคลังอาจช่วยเรื่องอื่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะกลับมา สิ่งที่ต้องคิดต่อคือหาวิธีให้แรงงานกลับมาได้อย่างไร

สำหรับปีหน้า ปี 2023 GDP จะโต 3.4% นักท่องเที่ยวน่าจะมาได้ราว 28 ล้านคน การส่งออกจะชะลอลง ผูกกับภาคการผลิตค่อนข้องเยอะ ต้องทำให้กระจายตัว หลากหลายมากขึ้น ไทยจะวางตัวอย่างไรในระยะยาว ทั้งด้านภูมิรัฐศาสตร์และซัพพลายเชนโลก

ในส่วนของสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีอยู่ที่ 60% ถ้าไม่ปรับมาตรการด้านการเงินการคลัง จะขยายขึ้น การดำเนินนโยบายแบบประสิทธิภาพสำคัญ วันนี้ไทยในส่วนของการใช้นโยบายช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจในวงกว้าง อาจจะลดลงในส่วนของคนที่กลับมาทำงานแล้ว แต่ให้ความช่วยเหลือคนที่เปราะบางมากกว่า สำหรับเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณชัดเจนมาระยะหนึ่งแล้ว เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงแน่นอน ส่วนไทยยังอยู่ในช่วงฟื้นตัว

การเงินผ่อนคลายค่อนข้างมาก กนง. จะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ภายในครึ่งปีหน้าจะอยู่ที่ 2% ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะกระทบทั้งระบบเศรษฐกิจ จะมีมาตรการเสริม เช่น พักชำระหนี้ จะช่วยเป็นกลุ่มไป โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง

สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มดีขึ้น จะเกี่ยวข้องกับภายในประเทศทั้งหมด โดยเฉพาะสินค้าที่มีความจำเป็น ทั้งอาหาร ทั้งการรักษาพยาบาล ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าเป็นห่วงจะเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลก ซัพพลายเชน เซมิคอนดักเตอร์ ภาคส่งออก

ส่วนค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง แบบค่อยเป็นค่อยไป

SCB EIC

สัญญาณการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้นชัดเจนมาก เงินเฟ้อเป็นประเด็นสำคัญ  เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ฟื้นตัวภายใต้คำว่าไม่ 3 ไม่ด้วยกัน คือ ไม่สอดคล้อง, ไม่แน่นอน, ไม่เท่าเทียมกัน

ไม่สอดคล้องกัน

หมายถึงพื้นที่ต่างๆ ในโลก ฟื้นตัวไม่สอดคล้องกัน เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มขาขึ้นหลังจากที่เริ่มผ่อนคลายมาตรการเรื่อยๆ เริ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามด้วยญี่ปุ่นหลังเปิดประเทศเริ่มมีท่องเที่ยวขึ้นมา น่าจะไปได้ดี สำหรับประเทศที่น่ากังวลใจคือสหรัฐอเมริกา เหมือนจะดี แม้ตลาดแรงงานจ้างงานได้ดี แต่ตำแหน่งเปิดน้อยลง ผู้บริโภคจ่ายเงินน้อยลง ส่วนยุโรปเข้าสู่ภาวะถดถอยปลายปีนี้แน่นอนเช่นเดียวกับสหราชอาณาจักร

ในส่วนของเศรษฐกิจโลก เทียบปีที่แล้ว EIC จึงปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกจากปี 2565 ลงจาก 3.0% อยู่ที่ 2.9% และปีหน้าลดจาก 2.7% สู่ 1.8% ปีหน้าเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณชะลอตัวลงชัดเจน แต่ยังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย หลายประเทศยังเติบโตได้ดี ข้อมูลจากในอดีต เศรษฐกิจโลกถ้าเกิดภาวะถดถอยอยู่ที่ 1.5% ปีหน้าอยู่ที่ 1.8% ก็ถือว่าเริ่มใกล้เคียงแล้ว ถ้าอเมริกาขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่ควรจะเป็น หรือขึ้นดอกเบี้ยสูงกว่ากรณีฐานอีก 100 BPS ในปี 2566 หรือ 5.75-6.00% จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจโลกถดถอยได้ ภาพรวมเศรษฐกิจโลกแทบไม่ขยายตัว เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะถดถอยเกิน 80%

สัญญาณเศรษฐกิจโลก ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคธุรกิจชะลอตัวลงต่อเนื่อง แรงงานยังดีอยู่ แต่การจ้างงานชะลอตัวลง เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี ก็ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินนโยบาย จะมีข้อจำกัดมากขึ้น ทั้งฝั่งนโยบายการเงิน การคลัง

นโยบายการเงิน เงินเฟ้อชะลอลงแต่ยังอยู่ในระดับสูงและยังกระจายตัวไปยังสินค้าจำเป็นมากขึ้น จะไม่ลงเร็ว นโยบายการเงินอาจจะค้างอยู่นาน แปลว่าเศรษฐกิจเริ่มย่อตัว การปรับลดอัตราดอกเบี้ยทำได้ไม่ง่าย การส่งสัญญาณของธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก สะท้อนให้เห็นว่า วันนี้ธนาคารต่างๆ พยายามเอาเงินเฟ้อลงแม้ต้องแลกกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง

นโยบายการคลัง (Fiscal impulse) ช่วงที่มีโควิด เราใช้เงินกระตุ้นมาก ช่วงที่ผ่านมา นโยบายการคลังเปราะบางมากขึ้น การทำนโยบายการคลังเพื่อการกระตุ้นมีน้อย ค่อนข้างจำกัดสำหรับในอนาคต ความเสี่ยงด้านต่างมีมากเหมือนเดิม

ไม่แน่นอน

EIC เอาดัชนีความไม่แน่นอนมาจาก Global economic policy uncertainty index พบว่า ความไม่แน่นอนของแต่ละประเทศต่างกัน เมื่อความไม่แน่นอนมีสูงขึ้น นำไปสู่การทำนโยบายเผื่อ การทำนโยบายเผื่อหรือการคาดการณ์ว่าจะเกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้จึงทำนโยบายเผื่อไว้ ทำให้เกิดความผันผวน เนื่องจากไม่มีนโยบายใดนโยบายหนึ่งที่แก้ปัญหาได้หมด การแก้ความไม่แน่นอนของแต่ละอันมีโจทย์ที่ต้องตอบ การแก้ความไม่แน่นอนของประเทศหนึ่งอาจสร้างความไม่แน่นอนอีกประเทศหนึ่ง ความไม่แน่นอนยังอยู่กับเราและความผันผวนจะยังคงอยู่ 

ในส่วนของสหภาพยุโรป มีทั้งเรื่องวิกฤตพลังงาน วิกฤตหนี้ภาครัฐ ในสหราชอาณาจักรมีเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นโยบายการเงิน ส่วนจีนเรื่องที่น่ากังวลคือการใช้นโยบายจัดการโควิด เขาจะจัดการอย่างไรต่อไป ท่ามกลางความไม่แน่นอนนี้เอง ทำให้คนกอดเงินเอาไว้ก่อน ทำให้ตลาดการเงินตึงตัวขึ้น (risk off mode) ส่งผลต่อเศรษฐกิจจริงได้)

เศรษฐกิจไทยปีนี้และปีหน้า มีทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดี EIC ปรับประมาณเศรษฐกิจขึ้น จีดีพีและการส่งออกปรับตัวดีขึ้นปัจจัยสำคัญคือการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะกลับมาที่ 28.3 ล้านคน แต่ภาคการส่งออกจะกระทบจากเศรษฐกิจโลก ส่วนเงินเฟ้อจะค่อยๆ ทยอยลดลง แต่ยังสูงอยู่ที่ 6.1% ซึ่งปีหน้าก็ลดลงแต่ค่อนข้างช้า ราคาพลังงานและราคาอาหารยังสูงอยู่ เงินเฟ้อจะยังอยู่กับเราต่อไป 

ปัจจัยเสี่ยงแรกคือเศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลกระทบการลงทุนและการส่งออกของเรา ส่วนจีนเรื่อง Zero covid จะกระทบการส่งออกและนักท่องเที่ยวของเราได้ ดอกเบี้ยสูงและเงินเฟ้อสูงจะกดดันการฟื้นตัวไม่ทั่วถึง ปีหน้าจะมีการเลือกตั้งจะเกิดความไม่แน่นอนได้ 

เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่องแต่ไม่ทั่วถึงและยังเปราะบางอยู่

การท่องเที่ยวไตรมาส 4 จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าทั้งปีคือ 10.3 ล้านคน คาดว่าจะทะลุเป้า ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวมาจากประเทศในอาเซียนและยุโรปราว 60% ชาติที่มาเยอะคือมาเลเซีย สิงคโปร์ ปีหน้าคาดว่านักท่องเที่ยวจะเข้ามาราว 28 ล้านคนน่าจะเป็นไปได้ ในส่วนนี้จะมีนักท่องเที่ยวจีนราว 4 ล้าน เนื่องมีสัญญาณที่ดีในการผ่อนคลายของจีนเยอะอยู่ ต้องรอดูหลังการประท้วงโควิด จีนจะรับมืออย่างไร มีการใช้วัคซีนกระตุ้นด้วยการพ่นทางปากเพิ่มขึ้น ส่วนสหรัฐอเมริกาเมื่อเกิดปัญหาทางการเงินอาจยกเลิกทริปได้

การท่องเที่ยว ไทยเที่ยวไทยดีมากในปีนี้ ฟื้นกลับมาเกือบเท่าก่อนโควิด คิดว่าปีหน้ากลับไปก่อนโควิดได้ไม่ยาก มีการไปสิงคโปร์และญี่ปุ่นเยอะขึ้น สิ่งที่กดดันท่องเที่ยวไทยคือเงินเฟ้อสูง ปีนี้ มีการใช้จ่ายเงิน 3,000 บาทต่อทริป แต่ช่วงก่อนโควิดใช้จ่ายราว 5,000 บาทต่อทริป ถือว่าลดลงเยอะ

ปีหน้า การท่องเที่ยวจะเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ประเทศไทยอย่างไรเสียก็ยังต้องพึ่งภาคบริการ ทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวมาไทยได้มากขึ้น โจทย์ไม่ใช่ดีมานด์แต่เป็นศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวนั้นพร้อมหรือยัง อย่าคิดว่ามาไทย 10-20 ล้านคน ให้คิดไว้เลยว่าเขาจะมา 30 ล้าน ไทยจะทำอย่างไรให้พร้อม โดยเฉพาะการจัดหาแรงงาน ช่วงที่มีโควิดคนออกไปสู่ภาคเกษตรเยอะมาก ทำอย่างไรจึงจะสร้างแรงจูงใจให้เขากลับมา จะทำอย่างไรให้ธุรกิจขนาดเล็กกลับมาเปิดธุรกิจ 

การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจีน มาครึ่งหลังของปีหน้า ตอนนี้มาแล้วแต่มาวีซ่าของนักลงทุน โอกาสในการคาดการณ์จากมาตรการที่เขาค่อยๆ ทยอยเปิด มาประมาณ 4 ล้านถือว่าไม่เยอะ เขามีทางเลือกไม่มาก อาเซียนและไทยเป็นหนึ่งในนั้น ไม่น่าไปอเมริกา อียู ญี่ปุ่น มีเรื่อง geopolitics อยู่ ถ้าจีนไม่มา ยังมีอินเดีย มีคนในอาเซียน มีรัสเซียเริ่มมาแล้ว ตัวเลขเราสูงสุดในตลาดแล้ว วิจัยจากเบน พบว่าการท่องเที่ยวในภูมิภาคเติบโตมาก ไทยก็เป็นจุดหมายปลายทางเช่นกัน 

แนวโน้ม การลงทุนก่อสร้างเอกชน ปีนี้ที่อยู่อาศัยขายได้ 2 หลัก ปีหน้าจะพอไปได้อยู่ แต่มีปัจจัยการกดดันเรื่องต้นทุนการก่อสร้างที่แพง ส่วนมาตรการ LTV หรือการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นตัวช่วยหลักจะหมดลงในปีหน้า 

สำหรับภาครัฐพอหมดโควิด รัฐหันมาใช้งบลงทุนมากขึ้น ประมาณ 6% YOY น่าจะดีขึ้นในปีหน้า ส่วนโครงการเมกะโปรเจกต์ที่จะทำต่อเนื่อง เช่น รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้า มอร์เตอร์เวย์ ทางด่วน ฯลฯ

เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวไม่แน่นอนสูงขึ้นมาก อาจจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต โดยปัจจัยภายใน มีเรื่องนโยบายการเงิน การคลังในประเทศและการเมืองภายใน ส่วนภายนอกประเทศ มีเรื่องเศรษฐกิจโลก เรื่องความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ จะเห็นว่าปัจจัยภายนอก ช่วงหลังโควิด หรือช่วงนี้ ถ้าโลกแย่จะกระทบกับไทยได้ ถ้าความไม่แน่นอนแย่ขึ้นจะส่งผลกระทบต่อ GDP ถึง 3 ไตรมาสติดกัน

โลกไม่แน่นอน ไทยจะเป็นอย่างไร ปีนี้โต จีดีพีโต 3.2% ปีหน้า 3.4% คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเป็นปกติที่ช่วงสิ้นปี 2024 ถ้าโลกเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย เศรษฐกิจโลกแทบจะไม่ขยายตัว โอกาสไทยจะถดถอยถึง 80%

แนวโน้มตลาดการเงิน 2022-2023 การประชุมพุธนี้ คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 25 bps สู่ 1.25% สิ้นปี 2022 นี้ ปีหน้า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 3 ครั้งสู่ 2% ขึ้น แต่ก็ต้องขึ้นกับเศรษฐกิจโลกด้วยทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป จีน ยังมองว่าขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ตอนนี้เงินเฟ้อมาจากอุปทาน ถ้าปัจจัยดีขึ้น เงินเฟ้อคงลงได้เอง คิดว่าแบงก์ชาติจะปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง 

ค่าเงิน ปัจจัยพื้นฐานของไทยที่น่าจะดีขึ้น มีปัจจัยที่ทำให้เงินอ่อนค่าอยู่คือเงินไหลออกจากตลาด SET แต่ปีหน้าจะมีปัจจัยทำให้เงินแข็งค่าขึ้น 

SCB EIC

ไม่ทั่วถึง ไม่เท่าเทียม

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่ทั่วถึง ไม่เท่าเทียม การบริโภคตอนนี้มีการฟื้นตัวแทบทุกหมวด ยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้น 14% ภาคการบริการดีขึ้น ภาคการนำเข้าสินค้าอุปโภค บริโภคดีขึ้นมาก 

แต่การบริโภคมีนัยอยู่ การจ้างงานกลับมา 1.4 ล้านคน กลับมาทุกสาขา ยังขาดในส่วนของก่อสร้างกับโรงแรม แรงงานที่กลับมาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ ลูกจ้างเอกชนไม่เยอะมาก ซึ่งลูกจ้างเอกชนมีความมั่นคงทางรายได้เยอะ พอหันไปประกอบอาชีพอิสระก็ทำให้ความมั่นคงลดลง แรงงานที่กลับมาทำงานมากขึ้นก็จะกระทบต่อการบริโภคในอนาคตด้วย ส่วนภาคเกษตรกร ปีนี้มีเรื่องราคามาช่วยเยอะ มีการบริโภคจากภาคเอกชนเยอะ ปีหน้าเรื่องราคาจะไม่มีแล้ว เรื่องผลผลิตช่วยได้นิดหน่อย 

ภาคครัวเรือน มีหนี้ต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น มีเรื่องเงินเฟ้อ ค่าครองชีพที่กดดันอยู่ น้ำมันดีเซล เบนซิน ก๊าซ LPG ก๊าซหุงต้ม ค่าไฟฟ้า มีทิศทางสูงขึ้นตลอดตามราคาโลก รัฐบาลพยายามตรึงราคาน้ำมันอยู่ สถานะกองทุนติดลบ 300,000 ล้านบาท ก๊าซหุงต้ม รัฐบาลจะตรึงไว้ได้อีกไม่นาน ค่าไฟฟ้า การไฟฟ้าแบกรับไว้อยู่เกือบแสนล้านบาท ส่วนราคาอาหารมีแนวโน้มทรงตัวสูงต่อเนื่อง ทำให้มุมมองต่อเงินเฟ้อว่าจะลงช้าๆ 

ธุรกิจฟื้นตัวไม่เท่าเทียมกัน ปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งความเสี่ยงต้นทุนสูง ทั้งความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ แต่ก็มีการเจรจาการค้าใหม่ๆ ที่เพิ่มเข้ามา ธุรกิจต้องปรับตัวหลายด้าน 

สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มธุรกิจที่มีการฟื้นตัวไม่เท่ากัน ดังนี้

  • ฟื้นตัวได้ดี คือสินค้าจำเป็น สินค้าที่โตตามเทรนด์ สุขภาพ eco-friendly
  • ฟื้นตัวได้กลางๆ เป็นธุรกิจที่เชื่อมโยงกับภาคการท่องเที่ยวและสินค้าไม่จำเป็น
  • ฟื้นตัวได้น้อย มีความเสี่ยงเยอะ คือธุรกิจที่เชื่อมโยงกับพลังงานโลก การส่งออกโลก ซัพพลายเชน กลุ่มที่ถูกดิสรัปจากเมกะเทรนด์

อ้างอิง: SCB EIC

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา