เจาะเทรนด์ Preventive Healthcare กับ สมิติเวช ที่นำนวัตกรรมตรวจยีน มาช่วยป้องกันอาการเจ็บป่วย

ปัจจุบัน Preventive Healthcare หรือการให้การรักษาเพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยกำลังเป็นกระแสในอุตสาหกรรมสุขภาพ ซึ่งกลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช เป็นอีกหนึ่งรายที่เดินหน้าทำตลาดเรื่องนี้เต็มรูปแบบ

แม้จะดูย้อนแย้งในธุรกิจโรงพยาบาลที่มีรายได้จากการเจ็บป่วยของลูกค้า แต่จริง ๆ แล้วผู้ป่วยเป็นเพียง 10% ของคนทั้งหมด ดังนั้นการทำตลาดบริการที่ป้องกันการเจ็บป่วยเพื่อตอบโจทย์คนที่เหลือย่อมสร้างโอกาสได้มากกว่า

ล่าสุดโรงพยาบาลจึงขี่คลื่นกระแสนี้ด้วยการเปิดตัวศูนย์สุขภาพดีส่วนบุคคลสมิติเวช ที่มากับนวัตกรรมตรวจยีนที่ให้ข้อมูลอย่างแม่นยำว่าในอนาคตจะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยแบบใด เสริมแกร่งแนวคิด เราไม่อยากให้ใครป่วย ไปอีกขั้น

Samitivej

ตรวจยีน กับการช่วยป้องกันการเจ็บป่วย

นพ.ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม โรงพยาบาลสมิติเวช และโรงพยาบาลบีเอ็นเอช เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันกระแสรักสุขภาพยังเติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ทำให้การพัฒนาบริการเพื่อช่วยดูแลสุขภาพเชิงป้องกันอย่างครบวงจรจึงจำเป็นมากขึ้น

“ในอดีตเรามีการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อช่วยป้องกันอาการเจ็บป่วย หรือ Early Care และเมื่อรู้ว่าเจ็บป่วยด้านใด เราก็พร้อมรักษาได้ทันท่วงที เช่น การฉีดสีเพื่อวิเคราะห์โรคร้ายในเชิงลึก แต่หลังจากนี้เราจะป้องกันได้ขั้นด้วยนวัตกรรมใหม่ผ่านการตรวจยีนเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรูปแบบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต”

บริการดังกล่าวให้บริการภายใต้ศูนย์สุขภาพดีส่วนบุคคลสมิติเวช ควบคู่กับทีมแพทย์จากหลากหลายสาขามาช่วยวางโรดแมปในการดูแลสุขภาพ โดยจุดเด่นของนวัตกรรมตรวจยีนของสมิติเวช คือ ความแม่นยำ 99% เป็นไปตามมาตรฐาน Medical Grade โดยใช้เทคโนโลยี WGS หรือ Whole Genome Sequencing

Samitivej
ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม โรงพยาบาลสมิติเวช และโรงพยาบาลบีเอ็นเอช

อ่านข้อมูลรหัสพันธุกรรมได้กว่า 3,000 ล้านตัวอักษร

นวัตกรรมดังกล่าวสามารถอ่านข้อมูลจากรหัสพันธุกรรมได้มากกว่า 3,000 ล้านตัวอักษร และรายงานผลตรวจได้กว่า 20,000 ยีน อ่านผลโดยแพทย์เวชพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ ห้องปฏิบัติการที่ตรวจได้มาตรฐานระดับสากล CLIA certification และ CAP accreditation

ทั้งยังลดความเสี่ยงของอาการป่วยได้จริงผ่านทีมแพทย์เฉพาะทางที่ช่วยออกแบบไลฟ์สไตล์ เพื่อหลีกเลี่ยง และลดความเสี่ยงการเกิดโรค เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือการตรวจโรคทางพันธุกรรมก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อผลลัพธ์ทางการรักษาที่ดีที่สุดในแต่ละบุคคล

“การป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ย่อมให้ผลดีกับสุขภาพมากกว่า เพราะไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากให้การรักษาในอนาคต แต่ถึงตรวจยีน และวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำว่ามีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง แต่ผู้ตรวจไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็ใช่ว่าอาการป่วยในอนาคตจะลดความเสี่ยงลงได้”

ตรวจได้ตั้งแต่แรกเกิด และได้ที่ทุกสาขา

การตรวจยีนเพื่อวิเคราะห์อาการเจ็บป่วยในอนาคตสามารถตรวจได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยเบื้องต้นจะให้บริการที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท กับศรีนครินทร์ และหลังจากนี้ภายใน 6 เดือนจะให้บริการครอบคลุมโรงพยาบาลสมิติเวชทุกสาขา เพื่อช่วยให้การตรวจยีนเพื่อวางแผนการดูแลสุขภาพในอนาคตเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตามเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ในอนาคต โรงพยาบาลสมิติเวชได้ให้บริการวิเคราะห์ความเสี่ยงผ่านแอปพลิเคชัน Well by Samitivej ผ่านการให้เลือกคำตอบต่าง ๆ ในการตรวจความเสี่ยงโรคทางพันธุกรรม และสามารถปรึกษา Health Coach ผ่านแอปฯ ได้ใน 15 นาทีแรก

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น Well by Samitivej คลิก👉 https://smtvj.com/Well

“เราเป็นองค์กรแห่งคุณค่า ไม่ใช่องค์กรแห่งความสำเร็จ เราถึงมีวิสัยทัศน์ที่ไม่อยากให้ใครป่วย โดยเราพยายามต่อจิ๊กซอว์ให้วิสัยทัศน์นี้เป็นภาพใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยบริการที่ครบวงจร เพื่อตอบโจทย์การดูแลสุขภาพคนไทยอีก 90% ที่ยังไม่ป่วยให้มีสุขภาพที่แข็งแรง”

Samitivej

เจาะตัวอย่างการป้องกันผ่านการตรวจยีน

ศ.นพ. มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า หากรับรู้เรื่องต้นทุนความเสี่ยงของแต่ละคนมากแค่ไหน วิธีป้องกันจะง่ายขึ้น เช่น ผู้ป่วยคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ถ้ามีอาการอื่น เช่น สมองตีบ หัวใจตีบ มักจะยินดีรับประทานยา แต่หากไม่มีอาการ พวกเขามักกังวลเกี่ยวกับการกินยา

“5-10% ของกลุ่มที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง แต่ไม่แสดงอาการ มาจากกรรมพันธุ์ ถ้ากลุ่มนี้​ไม่กินยาเพื่อควบคุมแต่เนิ่น ๆ มีโอกาสนำไปสู่ภาวะสมองหรือหัวใจตีบแน่นอน หรือเคสผู้ป่วยมะเร็ง หลายครั้งที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว​จนกว่าจะมีคนในครอบครัวตรวจเจออย่างน้อย 1 คน ว่ามียีนกลายพันธุ์ ในกรณีแบบนี้ ถ้ามีการตรวจยีน เราสามารถตรวจได้ว่าใครมียีนที่กลายพันธุ์และเสี่ยงจะเกิดมะเร็ง เพื่อลดความเสี่ยงได้”

ด้าน รศ.ดร.บุญศรี จันทร์รัชชกูล แพทย์ชำนาญการด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ และ หัวหน้าหน่วยคลินิกป้องกันการคลอดก่อนกำหนด รพ.สมิติเวช สุขุมวิท  กล่าวว่า 2-5% ของทารกแรกเกิดมีโรคทางพันธุกรรมมาแต่กำเนิด นอกจากนี้โรคทางพันธุกรรมเป็นสาเหตุการตายของเด็กแรกเกิดราว 20%

จากข้อมูลของสมิติเวชพบว่า คู่สมรส 70% ที่เข้ามาตรวจมีโรคพันธุกรรมอย่างน้อย 1 โรค โรคที่พบบ่อยที่สุดคือ ธาลัสซิเมีย ประมาณ 1 ใน 4 และ หูหนวก 1 ใน 6 ดังนั้นการตรวจยีนและการตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์จึงมีความสำคัญ เพราะช่วยแพทย์พบความบกพร่องทางพันธุกรรมของทารกที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้เพิ่มเติมที่

  • ศูนย์สุขภาพดีส่วนบุคคลสมิติเวช (Samitivej Genomic and Lifestyle Wellness Center) อาคาร 2 ชั้น 3 รพ. สมิติเวช สุขุมวิท เปิดทำการ เวลา 00-16.00 น. โทร. 02-022-2750
  • แผนกอายุรกรรม (Medicine unit) ชั้น 1 รพ. สมิติเวช ศรีนครินทร์ เปิดทำการ เวลา 00-16.00 น. โทร. 02-378-9084-5

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา