เปิดงานวิจัยสังคมสูงวัยในไทย: คนสูงอายุอยู่คนเดียวมากขึ้น พึ่งพาลูกได้น้อยลง

โดย ฐิตารีย์ ธรรมลักษมี และปาริชาติ โชคเกิด

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีงานเสวนา หัวข้อ “วัยที่เปลี่ยนไปกับบทบาทที่เปลี่ยนแปลง” โดยใช้ข้อมูลวิจัยจากครัวเรือนเดิมที่เป็นผู้สูงอายุในแต่ละรอบการสำรวจ เป็นการเก็บข้อมูลต่อเนื่อง 12 ปี ข้อมูลจากโครงการสำรวจและศึกษาสุขภาพ การสูงอายุ และการเกษียณในประเทศ (Health, Aging, and Retirement in Thailand เรียกว่าโครงการ HART)

Elder

ผศ.ดร. ดารารัตน์ อานันทนะสุวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ หัวหน้าโครงการ HART: Principle Investigator (PI) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เล่าว่า สำรวจกลุ่มตัวอย่างเดิมทุกๆ 2 ปี เป็นการสำรวจตามคาบระยะเวลา ผ่านข้อมูลที่เก็บต่อเนื่องมาตลอด 12 ปี (Longtitudinal Panel Survey) ซึ่งจะต่างจากโครงการอื่นๆ ที่สำรวจแค่รอบเดียวหรือใช้ตัวอย่างที่ไม่ซ้ำกัน

มีความร่วมมือจากหลากหลายหน่วยงาน อาทิ ความร่วมมือจากคณาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์หลายแห่ง เช่น มช. มข. มอ. และราชภัฏรำไพพรรณี และยังมีเครือข่ายระหว่างประเทศคือ HRS ของมหาวิทยาลัยมิชิแกน และเครือข่ายโครงการวิจัยในอาเซียน ตลอดจนความร่วมมือด้านเทคนิคการสำรวจจาก Social Research Center ของมหาลัยมิชิแกน โดยมี สกสว. คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้ผู้สนับสนุน

ข้อมูลตามคาบระยะเวลาสามารถนำมาศึกษาเปรียบเทียบได้ เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่แบบ Cross section เราศึกษาการเปลี่ยนแปลงไม่ได้

โครงการ HART เป็นโครงการที่เริ่มมากว่า 10 ปีแล้ว 

  • H Health สำรวจสถานภาพทางสุขภาพทั้งกายใจ โรคภัย และพฤติกรรมด้านสุขภาพ
  • A Aging โครงสร้างครอบครัว การเปลี่ยนแปลงสถานภาพครอบครัว การเกื้อกูลกันในครอบครัว
  • R Retirement ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สถานภาพการทำงาน รายได้ รายจ่าย
  • T Thailand

โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ผู้สูงอายุไทยตามข้อมูลเชิงประจักษ์ ที่เป็น Longitudinal data ถึงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงในทุกมิติ 

เมื่อสูงอายุขึ้น ผู้สูงอายุจะต้องมีบทบาทอย่างไร จึงจะเป็นผู้สูงอายุที่มีพลัง (Active aging) และมีสุขภาพดี (Healthy aging) เป็นสังคมที่ผู้สูงอายุอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่เป็นภาระแก่ผู้ใด

“เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้ผู้สูงอายุเข้าใจในตัวเอง”

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทย จากนี้ไปอีกประมาณ 16 ปีหรือประมาณปี 2583 (ปี 2040) ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มเป็น 30% หรือประมาณ 20.5 ล้านคน

Aging Society

Global Aging

ผศ.ดร.ธิฏิรัตน์ พิมลศรี ผู้อำนวยการหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาสถิติประยุกต์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มาพูดถึงเรื่อง HEALT โดยเล่าว่า ทุกท่านทราบดีเมื่อเราเข้าสู่การสูงอายุ คือความถดถอย ความมั่นใจ บทบาทต่างๆ ถอยลงบ้าง สำหรับไทยมีมิติใดบ้างที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย

จากข้อมูลพบว่า ผู้สูงอายุในฟินแลนด์ โปแลนด์ สวีเดน ให้ความสำคัญกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ระดับแมคโครถึงไมโครส่งผลต่อผู้สูงอายุ ขณะที่ประเทศจีน ผู้สูงอายุมองว่าสุขภาพการเงินสำคัญที่สุด ตามมด้วยกายและใจ ส่วนประเทศอินเดีย ผู้สูงอายุให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพใจเป็นตัวนำ

ผู้สูงอายุญี่ปุ่นให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพการเงิน สุขภาพกาย และการเข้าร่วมสังคม ทำให้พวกเขาสุขภาพชีวิตดี

ผู้สูงอายุในไทย จากที่เราได้ศึกษาจากผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป กลุ่ม 45 ปี – 59 ปี เป็นภาวะการเตรียมเกษียณ ช่วงวัยนี้มีผลกระทบแตกต่างจากอายุอื่นหรือเปล่า? 

เราพบว่า เส้นสีฟ้า แสดงให้เห็นว่า สุขภาพใจสำคัญที่สุด ตามด้วยทรัพย์สินที่ถือครองหรือทรัพย์สินที่เขามีเป็นของตัวเอง ตามด้วยสุขภาพกาย รายได้ กิจกรรมทางสังคมส่งผลทางอ้อม 

HART

เมื่ออายุเพิ่มขึ้น 60-69 ปี จากเดิม สินทรัพย์ส่งผลโดยตรง เริ่มส่งผลโดยอ้อม และเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป เรื่องจิตใจสำคัญที่สุด 

รศ.ดร.พาชิตชนิต ศิริพานิช อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ พูดถึงเรื่อง HEALTH งานวิจัยด้านสุขภาพ โดยระบุว่า ด้านนี้อยู่ในพาร์ท Ca, Cb, Cc

Ca ได้รับความอนุเคราะห์จาก Professor Saito คนญี่ปุ่นบอกไว้ว่า ถ้ามือแข็งแรง สะท้อนว่าอายุยืน ในพาร์ทนี้เราศึกษาความบกพร่องในร่างกาย การเคลื่อนไหว 

Cb การประกันสุขภาพและการใช้บริการทางสุขภาพ

Cc ความสามารถทางสมอง

เช่น ให้เลขมาคำนวณว่าลบแล้วได้เท่าไร เป็นจำนวน 5-6 ครั้ง เพื่อดูว่าสมองยังดีไหม ทุกพาร์ททำให้เห็นภาพความอยู่ดีมีสุขครอบคลุม และเป็นประโยชน์ให้นักวิจัยที่เอาไปศึกษาต่อ 

ในส่วนตัว วัยที่เปลี่ยนไปกับบทบาทที่เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนอยู่แล้ว แต่ก่อนวิ่งได้ เดี๋ยวนี้กลัวหกล้ม เมื่อก่อนเป็นอาจารย์ตอนนี้ให้ลูกศิษย์สอน สิ่งที่ไม่ควรจะลดคือด้านจิตใจและทัศนคติเชิงบวก เรื่องจิตใจเป็นเรื่องสำคัญ 

ล่าสุดศึกษาร่วมกับ ผศ. นิติรัตน์ พิมลศรี ผู้อำนวยการหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาสถิติประยุกต์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลพาร์ท C และวิธีการทางสถิติ 

ผศ.ดร. ปรีชา วิจิตรธรรมรส ผู้อำนวยการศูนย์คลังปัญญาและสารสนเทศ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศึกษากรบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (HEALTH)

โดยโครงการ Longitudinal data ความพิเศษคือการติดตามผู้สูงอายุ 5,600 ครัวเรือน ทั่วประเทศไทย ตอนเริ่มต้น คนที่ตอบคำถามต้องมีอายุอย่างน้อย 45 ปี ติดตามทุก 2 ปี จะดูพัฒนาการตามมิติต่างๆ ที่เก็บข้อมูล ซึ่งก็มีต่างประเทศมาขอใช้ข้อมูลเพื่อใช้เป็นข้อมูลระหว่างประเทศ

ประเทศไทยมีระบบ Health Care Services อยู่ 3 ระบบ ดังนี้

  • ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการ/ พนักงานรัฐวิสาหกิจ (เริ่มปี 2521)
  • ระบบประกันสังคม (เริ่มปี 2533)
  • ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (เริ่มปี 2554)

เราทดลองดู ข้อมูลที่เราเก็บมีการใช้บริการของผู้สูงอายุ เราต้องการดูว่าเป็นไปตามธรรมชาติหรือไม่ เมื่ออายุมากขึ้น จำนวนครั้งที่ต้องใช้บริการจะสูงขึ้น

เพื่อให้เข้าใจรายละเอียดมากขึ้นในการบริหารมัน เรามองว่าเราต้องการเห็นรายละเอียดผู้สูงอายุแต่ละช่วงอายุ ความถี่ที่ต้องใช้บริการเป็นคนไข้ใน 1 ปี ต้องแอดมิทกี่ครั้ง ขยับนิดหน่อยก็ส่งผลกระทบมหาศาลต่อค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น 

การแอดมิทแต่ละครั้ง ต้องแอดมิทกี่วัน เราจะทำอย่างไรให้มีประกันสุขภาพภาคสมัครใจเพื่อไม่ให้เป็นภาระภาครัฐภาคเดียว เป็นไปได้ไหมจะมีประกันสุขภาพภาคบังคับขึ้นมาอีก ทำอย่างไรให้แน่ใจว่า โครงการเหล่านี้ยังมีงบประมาณเพียงพอให้เราไปใช้บริการสุขภาพด้วย

ผศ.ดร. ดารารัตน์ อานันทนะสุวงศ์ ที่ดูในพาร์ทของ HEALTH ระบุว่า ดีใจที่วันนี้มาเปิดตัวโครงการ HART มันสะท้อนสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดโครงการ มาจาก 3 ประเด็นหลัก Global Aging โลกและไทยสูงอายุแล้ว อัตราเร่งเร็วมาก ทำให้ฉุกคิดว่าอาจจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในวัยที่เปลี่ยนไป

เรื่องแรงกดดันหรือแรงกระเพื่อมจาก UN ตั้งเป้าหมาย SDG เป็นเรื่อง Inclusive Growth ของคนทุกวัย ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เป็นเรื่องวิถีชีวิต ความเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็ก สูงอายุ จนกระทั่งตาย โดยเครือข่ายงานวิจัยสังคมสูงอายุ มาสำรวจว่าประชากรวัยที่เปลี่ยนไปมีประเด็นปัญหาอะไรเกิดขึ้นมีผลกระทบอย่างไร จะต้องมีนโยบายอย่างไร

เมื่อ 15 ปีที่แล้ว มีโอกาสไปดูโครงการวิจัยที่อเมริกา Health and Retirement Studies จึงเป็นที่มาและมีผู้อำนวยการที่ดูแลหน่วยงานคล้ายกรมกิจการผู้สูงอายุที่ส่งเสริมเรื่องพวกนี้ อยากให้เกิดโครงการนี้ เขาบอกไทยต้องมีโครงการนี้ 

ในส่วนของ Retirement

การทำงานมีความเปลี่ยนแปลง จากมีงาน ไม่มีงานทำ ตารางเวลาไม่มีเวลาแล้ว บทบาททางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ต้องช่วยดูว่า จากข้อมูลที่เรามี สังคมสูงอายุที่คนอายุยืนยาวขึ้น ทำอย่างไรให้เป็น Active Aging จากการติดตาม ทั้ง 4 รอบ พบว่า ทุกรอบนั้นผู้สูงอายุมีงานทำไม่เกินครึ่งหนึ่ง ลดลงตามผลกระทบเศรษฐกิจ และโควิดรอบ 2 และรอบ 3 

บทบาททางเศรษฐกิจเปลี่ยนไป

  • จากผู้มีงานทำ เป็นผู้เกษียณหรือไม่มีงานทำ
  • จากมีตารางการทำงาน เป็นไม่มีตารางการทำงาน
  • จากมีรายได้ประจำ เป็นไม่มีรายได้จากการทำงาน

HART

HART Project

การมีงานทำน้อยลง มีการสำรวจในแต่ละช่วงอายุ ทั้ง 45-59 ปี, 60-69 ปี, 70-79 ปี และอายุ 80 ปีขึ้นไป พบว่าผู้หญิงมีงานทำน้อยกว่าผู้ชาย กลุ่มผู้หญิงไม่มีงานทำ เป็นโรคเรื้อรังทางสังคมที่ต้องรีบจัดการ ส่วนแนวโน้มปัจจุบัน ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุมีกำลัง 

ข้อเสนอทางนโยบาย

  • 1) การขยายอายุเกษียณงาน เรามีแนวคิดนานแล้ว แต่ พ.ร.บ. ยังไม่ออก ไม่ทราบว่าติดขัดอะไร
  • 2) การป้องกันสุขภาพให้แข็งแรงขึ้นก็สำคัญ
  • 3) ปรับสถานที่ทำงานให้คนทำงานที่อายุสูงขึ้น ตอนนี้มีไกด์ไลน์แล้ว แต่สภาพความเป็นจริง ความเข้าใจคนทุกภาคยังไม่ได้รองรับได้เพียงพอ
  • 4) นโยบายที่เน้นกลุ่มผู้หญิง คือการเน้นกลุ่มเป้าหมายในการส่งเสริมการมีงานทำในกลุ่มอายุ 60 – 79 ปี
  • 5) การทำธุรกิจส่วนตัว เพราะผู้ที่ทำงานสามารถจัดสรรเวลาในการทำงานและการดูแลครอบครัวได้ในเวลาเดียวกัน

เรามีงานวิจัยเกี่ยวกับ Flexible Time, Work life balance แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ 

สรุปข้อเสนอแนะนโยบาย

ไทยมี Universal Health Care ประเทศส่วนใหญ่ยังทำไม่ได้ เน้นเรื่อง Long term care และการประกัน เราควรมีบริการหรือสินค้าทางด้านประกันสุขภาพ long term care ญี่ปุ่นมีแล้ว มีประกันสุขภาพและมี Long term care จากบริษัทเอกชน 

การอยู่ร่วมกันระหว่างรุ่น 

ในเรื่องที่อยู่อาศัย การเคหะแทนที่จะสร้างอย่างเดียว ควรทำระบบคนเข้าถึงแหล่งเงินซื้อบ้านหรือคอนโด เพื่อเอาพ่อแม่มาอยู่ได้ในเมืองได้ การมีงานทำ ควรมีการจ้างงานผู้สูงอายุที่ชัดเจน 

สิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุยังไม่แพร่หลาย หรือยังไม่เข้าใจกันในสังคม ประเทศไทย ซึ่ง Human Rights of Adult Person เรามี Human Rights เด็ก, สตรี แต่ผู้สูงอายุต้องมีด้วย แทนที่จะมองว่าเป็นภาระ แต่เขาก็มีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ในฐานะเป็นมนุษย์ที่จะอยู่อย่างดี

ในแง่เศรษฐศาสตร์ เรามองแรงงานคือปัจจัยการผลิต แต่ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต เศรษฐศาสตร์ เขาให้ความหมายว่าแรงงานคือคน แรงงานคือมนุษย์ Human Being เรามองอะไรในสังคม มองที่ตัวตน มากกว่ามองที่ตำแหน่งหรือปัจจัยการผลิต 

รศ.ดร. เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์ พูดถึงประเด็น Aging ในส่วนของครอบครัวและการเกื้อกูล ได้เปรียบเทียบผลการศึกษา จากรอบ 1-4 เน้นศึกษาเรื่องรูปแบบการอยู่อาศัยและการเกื้อกูลกับบุตรวัยผู้ใหญ่ที่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

เปรียบเทียบ สรุปเป็น 3 ประเด็น

  • ผู้สูงอายุไทยอาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีขนาดเล็กลง
  • บุตรยังเป็นที่พึ่งหลักของพ่อแม่
  • เกิดรูปแบบใหม่ของการเกื้อกูล หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างบิดา มารดา กับบุตร เรียกว่า Distant-supportive
Elder
Photo by CDC on Unsplash

ผู้สูงอายุไทยอยู่ในครัวเรือนขนาดเล็กลง

จากปี 2558 ครัวเรือนมีจำนวน 3.6 คน ต่อมา ปี 2565 จำนวนสมาชิกลดลงเหลือ 3.4 คน จากการสำรวจพบว่า รอบแรก 1 ครัวเรือน จะมีคน 3 รุ่นอาศัยอยู่ด้วยกัน อยู่ที่ 42.6% แต่เมื่อปี 2565 พบว่าอัตราลดลงอยู่ที่ 28.9%

  • ปี 2558 คนสูงวัยอยู่ตามลำพังคนเดียว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 9.4% เป็น 12.6% ในปี 2565
  • ปี 2558 คนสูงวัยอยู่ในครัวเรือนด้วยกันตามลำพัง กลายเป็น 1 ครัวเรือนเหลือเพียงคนวัยเดียว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 17.7% เป็น 31.4% ในปี 2565
  • ปี 2565 ผู้สูงอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป อยู่คนเดียว 8.9% และอยู่กับผู้ที่ไม่ใช่ครอบครัวหรือญาติ 1.2%

บทบาทที่เปลี่ยนไป

ผู้สูงอายุจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวหรืออยู่ด้วยกันเอง บุตรหลานจะไม่ได้อยู่กับผู้สูงอายุ จะอยู่คนละครัวเรือนกับผู้สูงอายุบทบาทผู้สูงอายุที่เคยเป็นเสาหลักก็กลายเป็นผู้สนับสนุน 

นำมาสู่นโยบาย 3 ประการ

สองประการแรก คือจัดระบบเยี่ยมเยียนและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ คือ one community one part เป็นการส่งเสริมความเงียบเหงาทางสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ

สามคือ Long term care เตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว

บุตรยังเป็นที่พึ่งหลักของบิดา มารดา

  • การเกื้อกูลระหว่างกันไม่เปลี่ยนแปลง ปี 2558 อยู่ที่ 95.2% ปี 2565 อยู่ที่ 94.8%
  • การรับความช่วยเหลือจากบุตรอย่างเดียวลดลง จากปี 2558 อยู่ที่ 28.3% ปี 2565 ลดลงอยุ่ที่ 16.5%
  • การแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือกับบุตรเพิ่มขึ้น ปี 2558 อยู่ที่ 64.3% เพิ่มขึ้นในปี 2565 เป็น 73.6%

จำนวนเงินที่ได้รับจากบุตรลดลง

  • ปี 2558 ได้รับเงิน 24,000 บาทต่อปี ลดลง ปี 2565 เป็น 10,000 บาทต่อปี

การเกื้อกูลระหว่างบิดา มารดา สูงอายุกับบุตรวัยผุ้ใหญ่มี 4 รูปแบบ

  • Tight-knit ใกล้ชิดสนิทสนม 29%
  • Normative กตัญญู รับอย่างเดียว ไม่ได้ให้ลูกเลย 24%
  • Sociable เข้ามาแค่เจ๊าะแจ๊ะ พูดคุย 6%
  • Detached การแยกกันอยู่

พบว่าปี 2563 มีการใกล้ชิด สนิทสนม หรือเข้ามาพูดคุยบ้างอยู่ที่ 59% การแยกกันอยู่ในอัตรา 41% ต่อมาในปี 2565 พบว่ารูปแบบการเกื้อกูลเปลี่ยนแปลงไป

กลายเป็น

  • Tight-knit การเกื้อกูลแบบแลกเปลี่ยน ทั้งรับและให้ 40.2%
  • Distant-supportive 4.8%
  • Sociable พูดคุยมากขึ้นแต่ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือ 25.3%

ปี 2565 ในสัดส่วนของความใกล้ชิดสนิทสนม การเข้ามาเจ๊าะแจ๊ะพูดคุย และเพิ่ม Distant-supportive หรือการพักอาศัยของบุตรอยู่ห่างไกลจากบิดา มารดา ไม่ค่อยพบเห็นหน้ากัน แต่พูดคุยกับบุตรบ่อยๆ โดยใช้ Social media และได้รับความช่วยเหลือจากบุตรทั้งในรูปแบบของเงินและไม่ใช่เงิน และมีการให้ความช่วยเหลือที่ไม่ใช่เงินกับบุตรด้วย

นโยบายที่แนะนำคือ ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต สอนให้ผู้สูงอายุรู้จักการใช้ Social Media พร้อมจัดหาอุปกรณ์ในราคาถูกและให้สามารถเข้าถึง internet ได้อย่างทั่วถึง เพราะส่วนใหญ่ บุตรไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน เข้าเมืองเพื่อหางานทำ อาชีพบิดา มารดาที่ทำงานที่บ้านไม่มี ก็ต้องเข้าในเมืองและใช้โซเชียลมีเดียซัพพอร์ทกัน

HART NIDA

ผศ.ดร.รติพร ถึงฝั่ง พูดถึงประเด็น Aging

ประเด็นความคาดหวังและความพึงพอใจในชีวิตจากคะแนนจาก 0-10 คะแนน ดังนี้

  • ความคาดหวังและความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุมีระดับคะแนน 0-4 คะแนน คือน้อยกว่า 50%
  • 5 คะแนน = 50%
  • 6 คะแนนขึ้นไป คือมากกว่า 50%

HART NIDA

HART NIDA

HART NIDA

  • มิติความคาดหวังว่าอายุยืน 10-15 ปี การศึกษาในปี 2565 (รอบ 4) คาดว่าจะมีอายุยืนยาวขึ้น
  • มิติโอกาส มองไปข้างหน้า โอกาสที่หวังจะมีมรดกให้ลูกหลาน 1 ล้านบาทหรือมากกว่า โดยรอบ 1 กับรอบ 4 ความคาดหวังใกล้เคียง 30% กว่า
  • โอกาสการเงินแย่ลง เพิ่มสูงขึ้น
  • โอกาสที่ลูกหลานจะมีสภาพเศรษฐกิจดีกว่าผู้สูงวัยรึเปล่า ปี 2558 จาก 71.2% เป็น 64.5% ในปี 2565 มีอัตราที่ลดลงสอดคล้องกับจุดที่มองว่าเศรษฐกิจอาจจะแย่ลง

การแก้ปัญหา ผู้สูงอายุแก้ปัญหาด้วยตัวเองมากขึ้น มีการพึ่งพาคำปรึกษาจากบุตรลดลง จาก 42.1% เหลือ 24.5% สะท้อนภาพเรื่อง distance supportive บุตรดูแลบิดามารดาในระยะไกล

ประเทศไทยมีนโยบายอะไรบ้าง

  1. ด้านสุขภาพ: สร้างสุขภาพกายและใจแก่ผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว (ผู้ที่กำลังจะสูงอายุ)
  2. ด้านครอบครัวและการเกื้อกูล: สร้างการมีส่วนร่วมในครอบครัวและในชุมชน (สร้างความสัมพันธ์ข้ามรุ่นและสร้างเครือข่ายทางสังคม)
  3. ด้านการมีงานทำ: สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจสำหรับผู้สูงอายุวัยต้นและผู้ที่กำลังจะสูงอายุ

Speakers อภิปราย ดังนี้

  1. ผศ.ดร. ดารารัตน์ อานันทนะสุวงศ์ ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ และหัวหน้าโครงการ HART
  2. ผศ.ดร.ปรีชา วิจิตรธรรมรส ผู้อํานวยการศูนย์คลังปัญญาและสารสนเทศ
  3. รศ.ดร.เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์ อาจารย์คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  4. รศ.ดร.พาชิตชนัต ศิริพานิช อาจารย์คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  5. ผศ.ดร.รติพร ถึงฝั่ง อาจารย์คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  6. ผศ.ดร.ธิฏิรัตน์ พิมลศรี อาจารย์คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

อ้างอิง – HART NIDA

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา