ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2564 พบว่า ตลาดคอนโดมิเนียมในโซนกลางเมืองชะลอการเปิดตัวลง ขณะที่ความต้องการบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้านค้าปลีกดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำสุดในรอบหลายปี ขณะที่ตลาดโรงแรมมีการปรับตัวมากขึ้น
รัฐวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ หัวหน้าแผนกวิจัยและที่ปรึกษาการพัฒนาโครงการ CBRE ประเทศไทย ระบุว่า เป็นครั้งแรกที่ตลาดคอนโดมิเนียมในย่านใจกลางกรุงเทพฯ ไม่มีการเปิดตัวโครงการใหม่ติดต่อกันสองไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 2 ถึงไตรมาส 3 ของปีนี้ ขณะที่ตลาดคอนโดมิเนียมย่านมิดทาวน์และชานเมืองมีการเปิดตัวโครงการใหม่บ้างแต่ก็น้อยกว่าปกติ มีคอนโดเปิดตัวช่วง 9 เดือนแรกของปี 11,760 ยูนิต ลดลง 72% จากปี 2562 ลดลง 37% จากปี 2563
โครงการบ้านแนวราบได้รับความสนใจ มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ ส่งผลให้ผู้พัฒนาโครงการบางรายมีจำนวนบ้านพร้อมขายไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ซื้อ การพัฒนาโครงการใหม่อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปีก่อนจะเปิดตัวหรืออาจนานกว่านั้นหากต้องซื้อที่ดินด้วย
ส่วนตลาดค้าปลีกเมื่อเดือนสิงหาคม 2564 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคตกลงสู่จุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2541 สืบเนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบทางการเงินเชิงลบ รวมทั้งธุรกิจหยุดชะงัก ไม่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นใตลาด สถานการณ์ไม่แน่นอนเช่นนี้ส่งผลให้ผู้ค้าปลีกปรับตัวอย่างรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลงจึงทำให้ห็นรูปแบบค้าปลีกที่มีความยืดหยุ่นและขนาดเล็กลงมากขึ้น เช่น ฟู้ดทรัค คลาวด์คิทเช่น และป๊อปอัพ สโตร์ ทั่วกรุงเทพฯ
ตลาดโรงแรมมีความสร้างสรรรค์มากที่สุดในแง่การปรับให้เข้ากับมาตรการข้อจำกัดพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป มีการเปลี่ยนจากการเข้าสถานที่กักตัวทางเลือก (ASQ) เป็นระบบเทสต์ แอนด์ โก รวมถึงการปรับตัวให้เข้าพักแบบ Staycation การพยายามดึงอัตราการเข้าพักให้กลับมาดีขึ้น ธุรกิจต่างๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ปกติมาเกือบ 2 ปีแล้วตลาดอาคารสำนักงานได้รับผลกระทบอย่างมากจากการลดขนาดพื้นที่และการย้ายพื้นที่ของผู้เช่าที่ถูกผลกระทบทางเศรษฐกิจ ปริมาณการใช้พื้นที่สำนักงานใหม่ติดลบ 3 ไตรมาสติดต่อกัน รวมติดลบ 80,026 ตารางเมตร ตัวเลขติดลบเช่นนี้ไม่เห็นมาตั้งแต่วิกฤตการเงิน 2541 แล้ว
ที่มา – CBRE Thailand
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา