RCEP คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับนักลงทุนและเศรษฐกิจไทย

ช่วงปี 2565 ที่ผ่านมาไทยได้เข้าร่วมความตกลงเขตการค้าเสรีใหม่ที่ชื่อว่า RCEP ซึ่งมีประเทศสมาชิกรวมทั้งสิ้นกว่า 15 ประเทศ และถือเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับ RCEP ให้มากยิ่งขึ้น

RCEP คืออะไร 

RCEP ย่อมาจาก Regional Comprehensive Economic Partnership หรือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ถือเป็นความตกลงทางการค้าเสรี (FTA – Free Trade Area) ฉบับที่ 14 ของไทย ที่เป็นผลมาจากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 15-18 พฤศจิกายน 2554 ที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซียน เป็นการแสดงเจตนารมณ์ในการส่งเสริมให้เกิดกลุ่มเศรษฐกิจตามแผนงานการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

RCEP ถือเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเนื่องจากหากพิจาณาในแง่ขนาดเศรษฐกิจแล้วนั้น RCEP จะมีสัดส่วน 27.7 ของ GDP โลกในปี 2562 ซึ่ง RCEP นี้ได้มีการบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา

RCEP มีประเทศอะไรเข้าร่วมบ้าง

สำหรับประเทศสมาชิกของ RCEP นั้นมีอยู่ 15 ประเทศ ซึ่งมีประเทศในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้  ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ โดยที่ก่อนหน้านี้มี อินเดีย อยู่ในประเทศที่อาจจะเข้าร่วม RCEP ด้วย แต่ยังติดปัญหาเรื่องของความพร้อมของอินเดีย เนื่องจากหากไม่มีกำแพงภาษีหรือมีการลดอัตราภาษีแล้วจะทำให้สินค้าจากประเทศอื่นๆ โดนเฉพาะจีนทะลักเข้ามาในอินเดียมากเกินไป ส่งผลให้อุตสาหกรรมของอินเดียสูญเสียเสถียรภาพ

RCEP ส่งผลอย่างไรต่อประเทศสมาชิก

ด้วยขนาดจำนวนของประชากรราว 2,300 ล้านคน คิดเป็น 30.2% ของประชากรโลก และมูลค่า GDP รวมกัน 28.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 33.6 ของ GDP โลก RCEP เป็นความตกลงทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางการค้าและส่งเสริมตลาดการค้าในกลุ่มประเทศสมาชิกด้วยกันเอง โดยประเทศไทยนั้นได้รับประโยชน์จากความตกลง RCEP ยกตัวอย่างการยกเลกภาษีนำเข้าสินค้าจำนวนกว่า 39,000 รายการและมีสินค้าที่ลดภาษีเหลือ 0% ทันทีกว่า 29,000 รายการ สำหรับประเทศอื่นๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จะมีการลดและยกเลิกภาษีศุลการสำหรับสินค้าหลายๆ อย่างที่ส่งออกจากไทยเช่น ผลไม้สด ผลไม้แปรรูป พลาสติก เคมีภัณท์ รถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ รวมไปถึงสินค้าประมง ยางพารา ผลิตภัณท์แปรรูปจากยาง เป็นต้น

แม้ประเทศไทยจะมีการใช้ FTA กับประเทศอาเซียนหลายประเทศอยู่แล้ว แต่ยังมีสินค้าหลายประเภทที่ยังคงมีการจัดเก็บภาษี ภายหลังมีการเข้าร่วม RCEP สินค้าเหล่านั้นจะถูกปรับอัตราจัดเก็บภาษีให้เหลือ 0% ได้เลย

สินค้าที่ไทยจะได้ประโยชน์จาก RCEP มี 5 หมวดดังนี้

1. หมวดสินค้าเกษตร 

2. หมวดอาหาร ผักผลไม้แปรรูป อาหารแปรรูป

3. หมวดสินค้าอุตสาหกรรม 

4. หมวดบริการ หมวดการก่อสร้าง ธุรกิจด้านสุขภาพ ธุรกิจด้านภาพยนตร์บันเทิง อนิเมชั่น และ

5. การค้าปลีก

ทั้งนี้ RCEP เป็นโอกาสอันดีที่จะทำให้ผู้ประกอบการหลายรายที่ต้องการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่ไม่เคยมีข้อตกลง FTA มาก่อน แต่ก็ต้องมีการระวังในเรื่องของการแข่งขันกับสินค้านานาประเทศที่จะมีการเข้ามาทำตลาดมากขึ้น

Source: kasikornbank.comBBC News ,kpi.ac.th

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา