ที่ไหนๆ ก็หวงความโสด แต่ที่สิงคโปร์ไม่หวง: มีคนแต่งงานเพิ่มขึ้น มีการหย่าร้างน้อยลง

ที่ไหนๆ ก็หวงความโสด แต่สำหรับที่สิงคโปร์ ไม่หวง!

ประเทศในโลกส่วนใหญ่แต่งงานกันน้อยลง หรือไม่ก็อยู่ด้วยกันโดยไม่แต่งงาน แต่สำหรับที่สิงคโปร์นอกจากไม่หวงความโสดแล้ว ยังแต่งงานมากขึ้น แถมหย่าน้อยลงด้วย

ปี 2022 ที่ผ่านมา สำนักงานสถิติของสิงคโปร์รายงานว่ามีการแต่งงานเพิ่มขึ้นและมีการหย่าน้อยลง มีการจดทะเบียนสมรสรวม 29,389 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2021 ราว 3.7% นี่ถือเป็นจำนวนการจดทะเบียนสมรสที่สูงที่สุดในสิงคโปร์นับตั้งแต่ปี 1961 ที่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลขึ้น ก่อนหน้านี้ก็มีการจดทะเบียนเยอะมากเช่นกันแต่ไม่สูงเท่านี้ คือช่วงปี 2014 มีการจดทะเบียนสมรส 28,407 ราย

ทั้งนี้ CNA ก็ได้มีการชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างระหว่างอัตราการแต่งงานและหย่าร้างต่างกัน คือแต่งงานเพิ่มขึ้นและหย่าน้อยลง

Wedding

การแต่งงานในสิงคโปร์

เมื่อเทียบกับรอบสิบปีที่ผ่านมา อัตราการแต่งงานเพิ่มขึ้นในปี 2022 ในสัดส่วน 47.0 ต่อชายโสด 1,000 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 15-49 ปีเพิ่มขึ้นจากปี 2012 ที่มีอัตราส่วนอยู่ที่ 43.8 คน ขณะเดียวกัน มีการแต่งงานในหญิงโสดอายุระหว่าง 15-49 ปี อยู่ที่ 45.5 เพิ่มจากปี 2012 ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ 39.4 ต่อ 1,000 คน

สัดส่วนการแต่งงานในปี 2022 ที่ผ่านมา มีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นทั้งหญิงและชาย ถือว่ามากขึ้นในระดับที่สูงที่สุดรอบ 20 ปี ซึ่งถ้าเทียบไปในปี 2002 ก่อนหน้านั้นสองทศวรรษ อัตราการแต่งงานผู้ชายอยู่ที่ 47.5 และผู้หญิงอยู่ที่ 45.8

ไม่ใช่แค่สัดส่วนการแต่งงานที่เพิ่มขึ้นเท่านั้นแต่อายุในการแต่งงานก็เพิ่มขึ้นด้วย เมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อนหน้า โดยในปี 2022 มีอัตราเฉลี่ยการแต่งงานอยู่ที่ 30.1 ปี (30 ปี 1 เดือน) ถึง 30.7 ปี (30 ปี 7 เดือน) ขณะที่ปี 2002 อายุเฉลี่ยของการแต่งงานผุ้ชายอยู่ที่ 28 ปีถึง 29.3 ปี

อย่างไรก็ดี จำนวนการแต่งงานในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาก็ถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่า 5 ปีก่อนหน้า โดยในช่วงปี 2018-2022 มีการแต่งงาน 26,562 ราย ขณะที่ 5 ปีก่อนหน้าคือช่วงปี 2013-2017 อยู่ที่ 27,833 คน ซึ่งในช่วงปี 2020 มีการแต่งงานลดลง อันเนื่องมาจากสาเหตุโควิดระบาดด้วย

การหย่าร้าง

มีการหย่าร้างในปี 2022 อยู่ที่ 7,107 ราย ราว 9.9% ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้าที่ 7,890 ราย ซึ่งการหย่าร้างสำหรับชายหญิง ลดลงในปี 2022

มีการหย่าร้างทุกๆ 6.2 คนต่อผู้ชายพันคน ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งถือว่าลดลงจากสัดส่วน 7.1 ในปี 2012 ส่วนผู้หญิงก็มีสัดส่วนการหย่าร้าง 5.9 คนต่อผู้หญิงพันคนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ลดลงจากสิบปีก่อนหน้าที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 6.7 ต่อพันคน

นอกจากนี้ ยังมีค่าเฉลี่ยอายุที่มีการหย่าร้างกันเพิ่มขึ้นจาก 10 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2012 อยู่ที่อายุ 41.6 ปีมาเป็นอายุ 44.4 ปีในปี 2022 ผู้ชายจะหย่าร้างช่วงวัย 38 ปีขึ้นไป ขณะที่ผู้หญิงหย่าร้างช่วงวัย 40.5 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ดีอัตราเฉลี่ยรายปีของการหย่าร้างมีจำนวนลดลง จากช่วงปี 2018-2022 หย่าร้างที่ 7,385 คน ขณะที่ห้าปีก่อนหน้ามียอดเฉลี่ยหย่าร้างรายปีอยู่ที่ 7,509 คน

ที่มา – CNA

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา