ผลพวงจากวิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ตลาดแรงงาน-แรงงานเปลี่ยนวิถี รูปแบบการทำงานแตกต่างจากเดิม
Simon Matthews ผู้จัดการระดับภูมิกาค ประเทศไทย, ตะวันออกกลางและเวียดนาม Manpower Group ผู้นำที่ปรึกษาด้านแรงงานเชิงนวัตกรรมกว่า 80 ประเทศทั่วโลก ระบุว่า ปีที่ผ่านมาทั่วโลกได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระบาด ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในทุกอุตสาหกรรม ทั้งยังเชื่อมโยงต่อตลาดแรงงานที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทั้งการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน
ปี 2563 ที่ผ่านมา เป็นปีแห่งการ Recovery สู่การ Renew ในปี 2564 ที่ต้องจับตาการฟื้นฟูครั้งสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องบูรณาการร่วมกัน อย่างไรก็ตาม แม้สัญญาณการฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่การตระหนักรู้ตื่นตัว เกิดขึ้นทั้งในภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐทั้งในประเทศและในระดับโลก ต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงจะได้รับมือกับทุกสถานการณ์และสามารถแก้ไขปัญหาจะบรรลุความสำเร็จได้
ด้านสุธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด Manpower Group ระบุว่า แนวโน้มปี 2564 ตลาดงานส่วนใหญ่มีกลยุทธ์และออกแบบการทำงานที่ลดต้นทุนมากขึ้น มีรูปแบบการจ้างงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น จากการจ้างงานแบบประจำมาเป็นรูปแบบการจ้างงานระยะสั้นประเภทต่างๆ ทั้งการจ้างงานชั่วคราว จ้างงานแบบสัญญาจ้างและการจ้างงานในรูปแบบ outsource จะเป็นที่นิยมมากขึ้น
นอกจากนี้ มีแนวโน้มการนำเทคโนโลยีมาทำให้ขั้นตอนการทำงานบางอย่างมีลักษณะอัตโนมัติมากขึ้น ทั้งในส่วนของกระบวนการทำงานงาน เช่น พนักงานขายหน้าร้าน พนักงานบริการลูกค้า งานธุรกิจ พนักงานขนส่ง และพนักงานฝ่ายผลิต Manpower Group พบว่า มีพนักงานที่หลากหลายช่วงอายุในองค์การมากขึ้น ปัจจุบันสัดส่วนแรงงานมีอายุระหว่าง 15-60 ปี ในส่วนของ Gen X, Y และ Z จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น แต่ละรุ่นมีวิธีคิดและการทำงานแตกต่างกันไปตามประสบการณ์
กลุ่มแรงงานจะหันเข้าหาการสร้างทางเลือกเพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้น คนทำงานประจำจะยังรักษาความมั่นคงในอาชีพและจะมีการสร้างรายได้เสริมจากการรับงานอิสระประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสายงานหรือเป็นงานที่ถนัด เช่น ทำขนม ทำอาหารขายออนไลน์ หรือการขายสินค้าออนไลน์ เป็นต้น
กลุ่มแรงงานอิสระจะรับงานที่หลากหลายมากขึ้น บางคนผันไปเป็นรายได้หลักและสร้างความมั่นคงจากงานระยะสั้นหลายๆ งาน พร้อมทั้งเพิ่มความรู้ความสามารถให้สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น
ทิศทางตลาดแรงงานปี2564 มีความสอดคล้องกัน 8 ใน10 สายงาน แต่ลดลงมากจากปีที่แล้ว 10% เนื่องจากตลาดแรงงานยังอยู่ในภาวะชะลอตัวอีกทั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 ทำให้ไม่มีการขยายโครงสร้าง
จากผลสำรวจโดย Manpower Group พบว่า 10 อันดับสายงานที่ตลาดงานต้องการ ดังนี้ สายงานขายและการตลาด 23.10% สายงานบัญชีและการเงิน 9.58% สายงานขนส่งและงานโลจิสติกส์ 9.50% สายงานวิศวกร 8.52% สายงานไอที 7.78% งานระยะสั้น 6.96% สายงานธุรการ 6.80% สายงานบริการลูกค้า 5.32% สายงานการผลิต 5.24% และสายงานบริการทางการแพทย์และสุขาพ 3.28%
10 อันดับสายงานที่ตลาดแรงงานต้องการ ดังนี้ สายงานขายและการตลาด 29.70% สายงานวิศวกร 15.23% สายงานบริการลูกค้า 13.43% สายงานธุรกิาร 7.4% สายงานทรัพยากรบุคคล 7.37% สายงานไอที 5.9% สายงานบัญชีและการเงิน 5.66% สายงานขนส่งและงานโลจิสติกส์ 5.51% งานระดับผู้บริหาร 3.51% และสายงานการผลิต 2.28%
ผลสำรวจยังระบุอีกว่า สายงานขนส่งและโลจิสติกส์มีอัตราการเติบโตสูงสุดเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาอยู่ 4.83% ตามทิศทางธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ, ค้าขายออนไลน์และธุรกิจเดลิเวอรี่ ด้านงานขายและการตลาดขึ้นอันดับ 1 มา 5 ปีต่อเนื่องกัน สะท้อนให้เห็รว่าการเติบโตทางธุรกิจให้ความสำคัญกับบุคลากรที่เป็นตัวกลางในการนำเสนอสินค้าและบริการ โดยเฉพาะสินค้าความงาม เทคโนโลยีต่างๆ
นอกจากนี้ กลุ่มงานระยะสั้น ประเภทงานบริการทางการแพทย์และสุขภาพมีความต้องการแรงงานเป็นจำนวนมาก และเป็นตลาดงานที่มีความสำคัญในปัจจุบัน งานกลุ่มธุรการ งานบริการลูกค้าและงานการผลิตยังมีความต้องการสูง ส่วนอาชีพที่มาแรงปี 2564 มี 10 อาชีพ ดังนี้ งานขายและการตลาด งานบัญชีและการเงิน งานขนส่งและโลจิสติกส์ งานวิศวกร งานไอที งานระยะสั้นต่างๆ งานธุรการ งานบริการลูกค้า งานการผลิต และงานบริการทางการแพทย์และสุขภาพ
นอกจากนี้ สำนังานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 สูงสุด 5 อันดับ ดังนี้ ธุรกิจท่องเที่ยว รายได้ลดลง 73% ธุรกิจบันเทิง รายได้ลดลง 59% ธุรกิจรับจ้าง บริการ รายได้ลดลง 44% ธุรกิจการผลิต รายได้ลดลง 42% ธุรกิจอาหาร รายได้ลดลง 41% สอดคล้องกับแนวโน้มที่ภาคแรงงานต้องเตรียมพร้อมในการปรับเปลี่ยนรับความเปลี่ยนแปลง
ที่มา – Manpower Group
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา