ชัดเจนแล้วว่าปี 2019 นี้กองทุนที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีอย่างกองทุนรวมหุ้
ว่าแต่ช่วงหุ้นไทยตกลงแบบนี้ถึงช่วงต้องซื้อหรือยัง?
CIMBT ชี้หุ้นตกควรซื้อ LTF ปีหน้าเตรียมซื้อกองทุน SEF ผลตอบแทนใกล้กัน
ดุษณี เกลียวปฏินนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารผลิตภัณฑ์การออม ธุรกิจราย
ทั้งนี้กลยุทธ์ในการซื้อ LTF ที่ดีที่สุดยังเป็นการทยอยซื้อในแต่ละเดือนเพื่อให้ได้ราคาเฉลี่ย (เพราะการซื้อเป็นก้อนมีความเสี่ยงที่จะติดดอยได้) ที่ผ่านมากองทุน LTF RMF ถือเป็นส่วนที่บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) จะให้ความสนใจและพยายามสร้างผลตอบแทนสูงเพื่อจูงใจนักลงทุน โดยเฉลี่ย 5 ปี กองทุน LTF ให้ผลตอบแทนอยู่ราว 5-8% ต่อปี
อย่างไรก็ตามปี 2020 คาดว่าการแข่งขันในธุรกิจกองทุนเพื่อการลดหย่อนภาษีจะเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะการออกกองทุนหุ้นยั่งยืน (SEF) ที่จะออกมาแทนที่ LTF ตั้งแต่ปีหน้า สิทธิในการลดหย่อนภาษีจะลดลงเหลือ 250,000 บาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 500,000 บาทต่อราย
“ปีหน้าเราน่าจะเห็นบล.ออกโปรโมชั่นให้ลูกค้าย้ายกองทุนมาที่ตัวเองมากขึ้น โดยให้โปรโมชั่นได้ไม่เกิน 0.2% ของเงินลงทุนตามเกณฑ์ที่ผู้กำกับกำหนดไว้ จากปัจจุบันบล.จะเน้นเพิ่มฐานลูกค้าให้นำเงินเข้ามาลงทุนมากขึ้น”
จุดเด่น-จุดด้อยของ SEF มีอะไรบ้าง?
ขณะนี้ต้องรอดูประกาศของกระทรวงการคลังว่ากองทุน SEF จะมีเงื่อนไขอย่างไร โดยช่วงเดือนต.ค.-ธ.ค.2019 น่าจะเห็นลักษณะกองทุนที่จะเปิดขายในปีหน้า แต่จากเค้าโครงในปัจจุบันจุดเด่นของ SEF คือ ผลตอบแทนจะใกล้เคียงกับ LTF ในปัจจุบันที่ให้ผลตอบแทน 5 ปีเฉลี่ยที่ 5-8% ต่อปี และเนื่องจากส่วนใหญ่เน้นการลงทุนระยะยาว หากลงทุนได้ราว 7-8 ปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 8% ต่อปี
จุดเด่นอีกอย่างคือ จะเน้นการลงทุนในหุ้นประเทศไทย เช่น หุ้นใน SET 50 หุ้นที่มีธรรมภิบาล แม้บางกองผลตอบแทนอาจะไม่น่าสนใจ แต่เมื่อเป็นหุ้นใหญ่ในตลาดไทยเป็นกลุ่มใหญ่ที่นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนอยู่แล้ว
ส่วนจุดด้อย คือ SEF อาจไม่เร้าใจเหมือนเดิมเพราะขยับฐานให้เข้าถึงผู้ลงทุนจำนวนมากขึ้น แต่จำนวนเงินต่อคนที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้น้อยลง ตามนโยบายของภาครัฐที่ต้องการออก SEF เพื่อให้คนวางแผนการลงทุนมากขึ้น และไม่ได้ใช้ลดหย่อนภาษีอย่างเดียว ดังนั้นในระยะแรกภาครัฐต้องโปรโมทอีกมาก
“เดิม LTF ผู้ที่ใช้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีได้เต็มๆ มักเป็นกลุ่มรายได้ 3 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นการเพิ่มเพดานการลงทุนเป็น 30% ของเงินรายได้ แต่วงเงินการซื้อไม่เกิน 250,000 บาทต่อรายจะทำให้สิทธิประโยชน์นี้เข้าถึงกลุ่มคนได้มากขึ้นเช่นกัน”
ช่วงหุ้นผันผวนต้องปรับพอร์ทฯ ลงทุนอย่างไร?
ช่วงนี้ยอมรับว่าการลงทุนค่อนข้างยาก เพราะมีปัจจัยผันผวนทั้งจากในและต่างประเทศ ส่วนปีที่ผ่านมาและหลังจากนี้จะมีกฎหมาย และกฎเกณฑ์ใหม่ๆ เริ่มใช้ เช่น การเก็บภาษีบนผลตอบแทนจากตราสารหนี้เพื่อให้เท่าเทียมกับเงินฝาก ปีหน้าเริ่มใช้ภาษีที่ดิน (อันนี้มองว่าไม่กระทบเพราะเก็บไม่สูงมาก แต่ต้องเสียเวลาไปจ่ายที่เขต) ฯลฯ
ดังนั้นการวางแผนการลงทุนช่วงนี้ ได้แก่
- แบ่งเงินส่วนสภาพคล่องสำหรับการใช้จ่าย อย่างน้อย 3-6 เดือนของรายจ่ายในแต่ละเดือน และหากเป็นผู้ประกอบการควรเตรียมอย่างน้อย 1 ปี
- หารายรับประจำ เช่น การลงทุนใน Fix income อย่าง หุ้นกู้ควรเลือกที่มี Rating สำหรับการลงทุนและสามารถซื้อขายในตลาดรองได้ หากเป็นกลุ่มเกษียณอายุสามารถใช้ประกันชีวิตแบบบำนาญ
- พอร์ทสร้างผลตอบแทน แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
3.1 การลงทุนในสินทรัพยท์ที่ค่อนข้างความเสี่ยงไม่สูงมาก เช่น หุ้นที่มีธรรมภิบาล ส่วนนี้อาจใช้เงินราว 60-70% ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละคน
3.2 การลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยง เพื่อเพิ่มผลตอบแทน อาจต้องให้เวลาเพื่อจับการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนอาจจะอยู่ที่ 30% - การลงทุนทางเลือก เช่น ทองคำ ที่ดิน
สรุป
หลังจากนี้ยังต้องจับตามองความชัดเจนจากกระทรวงการคลัง ว่ากองทุนใหม่ที่มาแทน LTF จะเป็นอย่างไร แต่การจัดพอร์ทลงทุนของแต่ละคนยังต้องจัดแบบเฉพาะเพื่อให้ตรงกับความเสี่ยงที่รับได้ และความรู้ในสิ่งที่ลงทุน
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา