ธนาคารกรุงไทยได้เปิดตัว บริษัท อินฟินิธัส บาย กรุงไทย จำกัด โดยตั้งเป้าพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและต่อยอดไปนวัตกรรมใหม่ๆ ผ่านแนวคิดในเรื่อง Open Ecosystem และช่วยธุรกิจรายเล็กให้อยู่รอดได้
ธนาคารกรุงไทย หรือ KTB ได้เปิดตัวบริษัทร่วมทุนในชื่อ อินฟินิธัส บาย กรุงไทย ซึ่งจะเป็นบริษัทวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ หลังได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้จัดตั้งบริษัทขึ้นมาได้ในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยในงานเปิดตัววันนี้ผู้บริหารของธนาคารกรุงไทยได้เน้นถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ของธนาคาร เพื่อที่จะต่อยอดให้กับธุรกิจต่างๆ
สำหรับ อินฟินิธัส บาย กรุงไทย วิสัยทัศน์ของบริษัทคือ Infinite Innovation โดยจะยึดมั่นในการทำงานแบบ Fail Fast และ Learn Faster ผลงานที่ผ่านมานั้นได้คิ
ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ได้กล่าวว่า ในฐานะธนาคารพาณิชย์ของรัฐ และเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ธนาคารได้เตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ Digital Economy โดยพัฒนาแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์การให้บริการทางการเงินและยุทธศาสตร์ที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง โดยเขาได้เปรียบเทียบว่าตัวธนาคารเปรียบเหมือนกับเรือบรรทุกเครื่องบินที่ดำเนินธุรกิจแบบเดิม แต่ต้องมีการหาโอกาสธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งเปรียบได้กับเรือเร็วแบบ Speed Boat
ขณะที่ สมคิด จิรานันตรัตน์ ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ได้กล่าวถึงการเปิดตัว อินฟินิธัส บาย กรุงไทย ว่า โลกอนาคตจะเป็นการเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ โดยจะมีองค์ประกอบสำคัญคือ
- ไม่ต้องปรากฏตัวในการแสดงตัวตน หรือแสดงเอกสาร แต่ผู้ใช้งานได้ใช้ระบบดิจิทัลแทน
- การเข้าสู่อุตสาหกรรมไร้ขอบเขตที่ไม่มีพรมแดน
- การสร้างบริการที่สนองตอบความต้องการของผู้บริโภคได้แบบทันที ทันควัน โดยเขาได้เน้นถึงเรื่องการซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทยผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่ต้องรอรับเอกสารและใช้เวลาหลายวัน
ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ได้กล่าวเสริมว่า หลังจากนี้ อินฟินิธัส บาย กรุงไทย ต้องการพัฒนานั้นจะเปรียบได้เหมือนกับระบบ Ecosystem 3 สิ่งของรถไฟ ที่มีระบบรางเปรียบเหมือนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบ Digital ID หรือ Digital Paper ฯลฯ ตัวรถไฟที่มาวิ่งเปรียบเหมือน Digital Platform เช่น บริการของรัฐบาลหรือตัวระบบ Digital Asset ที่พัฒนาต่อเนื่องเช่นระบบ Blockchain ที่เป็นเบื้องหลังสำหรับการซื้อขายพันธบัตร
ขณะที่ตัวสถานีรถไฟเปรียบคล้ายกับ Open Ecosystem ที่มีร้านค้าหรือธุรกิจต่างๆ เข้ามาดำเนินธุรกิจภายในสถานีรถไฟ ผ่านระบบ Open API เช่น ด้านการเงิน ด้านการสนับสนุนธุรกิจ เช่น เอกสารที่เป็นดิจิทัล ฯลฯ รวมไปถึงบริการอื่นๆ ในหลังจากนี้ เช่น Intelligence Services
โดย 3 เป้าหมายของ อินฟินิธัส บาย กรุงไทย ได้แก่
- Regional Digital Leadership โดยเน้นไปที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา พม่า ที่ใช้เงินบาทไทย สามารถทำให้เพื่อนบ้านซื้อของในสกุลเงินไทยได้สะดวกมากขึ้น
- Growth Stimulus for Small Player ช่วยธุรกิจรายเล็กรายน้อย ซึ่งผู้บริหารของธนาคารได้กล่าวย้ำในเรื่องนี้อย่างมากว่าธุรกิจรายย่อยของไทยมีความสำคัญ
- Springboard for Startup โดยหลังจากนี้ถ้าหากระบบ Open Ecosystem ของธนาคารสำเร็จก็อาจทำให้สตาร์ทอัพของไทยเข้ามาใช้งานได้ ซึ่งจะเป็นตัวเร่งการเติบโตขึ้นไปอีก
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา