KCG ไม่ได้มีดีแค่บัตเตอร์คุกกี้ มีเนยและชีสกินส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 เพิ่มนำเข้าเนื้อวัว เนื้อแกะ ฯลฯ

เพราะ KCG มีดีมากกว่าบัตเตอร์คุกกี้

ถ้าจำกันได้ คุกกี้กล่องแดงในตำนาน คือคุกกี้ที่คนมักนำมาจับของขวัญปีใหม่กัน แต่บริษัท KCG ที่เป็นบริษัทผู้ผลิตบัตเตอร์คุกกี้แบรนด์อิมพีเรียล มีธุรกิจที่หลากหลายมากกว่านั้น

KCG

สำหรับสินค้ากลุ่มเนยและชีส เป็นอันดับ 1 -ของไทย ไตรมาส 3/2567 มีส่วนแบ่งตลาด 55% และผลิตภัณฑ์ชีส 31.6% รวมยอดขายผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมมูลค่า 1,063.4 ล้านบาท

เป็น Top 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับประกอบอาหารและเบเกอรี่ (FBI) โดยไตรมาส 3/2567 ผลิตภัณฑ์ประกอบการทำเค้กและแพนเค้กมีส่วนแบ่งตลาด 14.2% และผลิตภัณฑ์ยีสต์มีส่วนแบ่งตลาด 9.2%

รวมยอดขายกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับการประกอบอาหารและเบเกอรี 507.8 ล้านบาท และกลุ่มผลิตภัณฑ์ Biscuits ซึ่งไตรมาส 3/2567 มีส่วนแบ่งตลาด 26.1% มูลค่า 181.4 ล้านบาท

ความสำเร็จ 3 เรื่องในปี 2567

ดำรงชัย วิภาวัฒนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KCG เล่าว่า ปี 2567 ประสบความสำเร็จ 3 เรื่องด้วยกัน ดังนี้

เรื่องแรก คือ สินค้าประเภทใหม่ๆ มี dynamic ทั้งการออกผลิตภัณฑ์ที่เป็นรสชาติท้องถิ่น เช่น แดรี่โกลด์ ชีสกะเพรา ออกในซุปเปอร์มาร์เก็ต เตรียมขายในคอนวีเนียนสโตร์ สะดวกกับการทานกับอาหารและทานด่วน มีรสชาติที่ผนวกให้เข้ากันระหว่างตะวันตกบวกรสชาติตะวันออก

เรื่องที่สอง คือปรับเพิ่มพอร์ทสินค้า วัตถุดิบประเภทเนื้อวัว เนื้อแกะ ลอบสเตอร์ ทำให้พอร์ทแข็งแกร่งมากขึ้น ปัจจุบันเป็นผู้นำการขายสินค้าประเภทเนยและชีสในตลาด B2C อยู่ในอัตรา 53% ตลาด B2B เป็น 43% และ Export 4%

ปีนี้ สามารถขยายสัดส่วนลูกค้า B2B และ B2C ให้เติบโตใกล้เคียงกันได้ ทำให้เห็นถึงการบริหารพอร์ตฟอลิโอของ KCG ที่ทำได้ดี โดยมียอดขาย 13% ผลิตภัณฑ์ชีส ขณะที่ตลาดโตเฉลี่ย 7% เท่านั้น ส่วนผลิตภัณฑ์หมวดเนย โต 7% ขณะที่ตลาดโต 4% กว่าเท่านั้น ถือว่าเติบโตเหนือตลาดเป็นเบอร์ 1 ผลิตภัณฑ์ ชีสและเนย

ปีนี้ยังมีการเปิดใช้โลจิสติกส์พาร์ค (KCG Logistics Park) ในจังหวัดสมุทรปราการเป็นศูนย์กระจายสินค้า และคลังสินค้าที่ออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลายของตลาด

มีการลงทุนปีที่แล้วต่อเนื่องถึงปีนี้ ใช้เวลาก่อสร้าง ติดอุปกรณ์ เบ็ดเสร็จ 1 ปี เสร็จสิ้น เดือน 6, 7 ที่ผ่านมา เดือน 8 เปิดใช้ 100% ทำให้ค่าใช้จ่ายเช่าคลังสินค้าด้านนอกลดลง

ปีนี้เสร็จสิ้นการขยาย KCG Logistics Park จะติดตั้งโซลาร์รูป เอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ ใช้งบ 50 ล้านบาท คาดการณ์ว่าติดตั้งเสร็จพร้อมใช้จะอยู่ช่วงปลายปีนี้ จะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าประมาณ 10 ล้านบาท จะติดตั้งโซลาร์รูฟ 4 พื้นที่ คือสมุทรปราการ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี คลังสินค้าล่าสุด มีกำลัง 2.3 เมกะวัตต์ พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟไปใช้ในบิสกิต คุกกี้ 3-4 ปีจะครอบคลุมค่าใช้จ่าย

การขยายกำลังการผลิตโรงเนย ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 18,000 ตันต่อปี ทั้งโครงการใช้เงิน 217 ล้านบาท ใช้เวลาปีกว่าในการทำการขยายกำลังการผลิต จะขยายเป็น 23,000 ตันปีหน้า ซึ่งก็ใช้เงิน IPO มาขยายธุรกิจ การผลิตเนยยังมีเงินส่วน ebitda หรือกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายมาใช้โดยไม่ต้องกู้

ปัจจุบัน พยายามใช้ระบบอัตโนมัติมาใช้ในการบรรจุกล่อง inner box การผลิตจากการคำนวณ 400 แผ่นต่อนาที ได้เทคโนโลยีจากเยอรมนี

ปีนี้ถือเป็นปีที่ดี เพราะได้รับรางวัล การประเมิน CGR Rating มีการประเมินเป็น 5 ดาวอยู่ในเกณฑ์ดีเลิศ ได้รางวัล Investor Choice Award เพิ่งเข้าตลาดปีเศษๆ ก็ได้รับรางวัลแล้ว และยังได้รับการประเมินจากสถาบันไทยพัฒน์ ติดอันดับหลักทรัพย์ ล่าสุดได้เป็นหุ้นที่มีการเปิดเผยข้อมูลชัดเจนโปร่งใส ซึ่งก็ไม่
ดูแต่ Performance, กำไร และผลประกอบการอย่างเดียว ดูแลเรื่องความยั่งยืนแก่โลกด้วย

สำหรับ 4 เทรนด์การทานอาหารปี 2568/ 2025

1) แสดงตัวตน ทานและถ่ายรูปโพสต์ ซึ่งก็รวมถึงเชฟด้วย ทำอาหารให้มีซิกเนเจอร์ของตัวเอง

2) อาหารเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคน ได้พบปะพูดคุย มีสังคมใหม่ๆ เกิดขึ้น

3) อาหารที่ฮีลกาย ฮีลใจ ทำให้สุขภาพดีด้วย มีความอร่อย ชอบในการทาน

4) อาหารไม่ทำลายโลก ใช้วัตถุดิบรักษ์โลก ทั้งแพคเกจจิง วิธีการผลิต เอาวัตถุดิบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

เทรนด์สุขภาพพูดกันมาหลายปี ปีหน้าไทยเข้าสู่ชุมชนคนสูงอายุ ดูจากคนเกิดใหม่ และคนสูงวัยอายุมากขึ้น สำหรับ KCG คาดว่า
ปีหน้าส่งออกน่าจะโต ไปทั้ง 2 ช่องทาง คือ B2B และ B2C กำลังขยายไปประเทศใหม่คือตะวันออกกลาง มีกำลังซื้อ มีศักยภาพ และแอฟริกา และจีนตลาดใหญ่มากซึ่งก็มีพารทเนอร์อยู่แล้วด้านเบเกอรี่

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา