GO GREEN TOGETHER แคมเปญใหม่จาก KBank ที่ชวนทุกคนดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยแนวคิด 8R

ท่ามกลางวิกฤตการณ์ต่าง ๆ มากมาย หนึ่งในปัญหาของโลกที่ยืนหนึ่งมายาวนาน คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) หรือ ภาวะโลกรวน ที่ส่งสัญญาณทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ภาครัฐและเอกชนทั่วโลกต่างมีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหานี้ร่วมกัน รวมทั้งประเทศไทยที่ได้มีการประกาศเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2065

ในฟากฝั่งภาคเอกชนของไทย หนึ่งในองค์กรที่เดินหน้าเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง คือ ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank ที่มีการออกบริการสินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อมและแคมเปญต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และเมื่อเข้าสู่เดือนมิถุนายน ในโอกาสเดือนแห่งวันสิ่งแวดล้อมโลก KBank ก็ได้ออกแคมเปญ GO GREEN TOGETHER ลดภาวะโลกรวนไปด้วยกัน เพื่อจุดประกายให้ทุกคนให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและลงมือสร้างการเปลี่ยนแปลง ด้วยการสื่อสารต่อผู้บริโภคผ่านทุกช่องทางของธนาคาร ด้วยการแนะนำแนวคิด 8R ที่ส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน ลดการเกิดขยะ และการผลิตใหม่ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งวงจรตั้งแต่การผลิตจนถึงการบริโภค

KBank ยังให้ทุกคนได้รู้สึกมีส่วนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมจริง ๆ ด้วยการเชิญชวนให้ร่วมกิจกรรมบนโซเชียล มีเดีย ของธนาคาร แชร์ไอเดียดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างน้อย 1 ใน 8R ทุก 1 คอมเมนต์ ธนาคารสมทบทุน 100 บาท ติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้โรงพยาบาลในถิ่นทุรกันดาร ส่วนรายละเอียดเชิงลึกของแคมเปญนี้จะเป็นอย่างไร และผลลัพธ์ที่ธนาคารคาดหวังคืออะไรบ้าง Brand Inside ชวนไปหาคำตอบร่วมกันครับ

kbank

KBank กับการเอาจริงเรื่องสิ่งแวดล้อม

การทำธุรกิจของ KBank ดำเนินอยู่ภายใต้หลักการธนาคารแห่งความยั่งยืนมาอย่างยาวนาน ด้วยการให้ความสมดุลทั้ง 3 เรื่องที่ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยธนาคารกสิกรไทยไม่ได้มุ่งเน้นแค่การเติบโตทางธุรกิจ แต่ให้ความสำคัญกับการให้ประโยชน์กับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

ยิ่งผลกระทบของภาวะโลกรวน หรือ Climate Change ที่กำลังสร้างผลเสียต่อการดำเนินชีวิตของทุกคน ทำให้การเดินหน้าเกี่ยวกับกลยุทธ์เรื่องสิ่งแวดล้อมของ KBank เข้มข้นขึ้น สอดคล้องกับองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกที่เริ่มเดินหน้าพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนด้วยการดำเนินธุรกิจแบบ ESG

หากเจาะไปที่นโยบายในการดูแลสิ่งแวดล้อม KBank ได้ประกาศความมุ่งมั่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการดําเนินงานของธนาคาร ภายในปี 2030 และกําหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในพอร์ตโฟลิโอของธนาคาร ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าที่จะสนับสนุนด้านการเงินและการลงทุนเพื่อความยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 1-2 แสนล้านบาท ภายใน พ.ศ. 2030 ซึ่งแผนงานของธนาคารในการไปสู่เป้าหมายดังกล่าวไม่ใช่แค่สร้างการเปลี่ยนแปลงเฉพาะการทำงานของธนาคารเท่านั้น แต่ KBank มีความตั้งใจจะประสานภาคส่วนต่าง ๆให้เกิดการมีส่วนร่วมในการและเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero ไปด้วยกัน

reuse

GO GREEN TOGETHER สร้าง Green Ecosystem ครบวงจร

หนึ่งในแผนกลยุทธ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของธนาคารกสิกรไทยที่เกิดขึ้นในปี 2565 คือการทำโครงการ GO GREEN TOGETHER ที่เชื่อมต่อและผลักดันให้เกิด Green Ecosystem ในประเทศไทยอย่างครบวงจร นำร่องด้วยการออกแคมเปญ Green Zero เพื่อให้ลูกค้าที่ต้องการจะมีรูปแบบการใช้ชีวิตและการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายขึ้น รองรับตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งผู้ประกอบการ ผู้รับเหมา และลูกค้าที่เป็น end user ซึ่งในปี 2565 KBank ตั้งเป้าหมายจะปล่อยสินเชื่อและการลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนจำนวน 25,000 ล้านบาท

ชวนเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ไลฟสไตล์กรีน

นอกเหนือจากแคมเปญด้านสินเชื่อสีเขียวแล้ว KBank ได้มีการออกแคมเปญ GO GREEN TOGETHER ลดภาวะโลกรวนไปด้วยกัน เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก เป้าหมายสำคัญก็เพื่อสร้าง Climate Awareness ให้เกิดขึ้น ชวนคนไทยเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ไลฟ์สไตล์กรีน เรียนรู้และลงมือทำอย่างจริงจัง ตามแนวคิด 8R ที่หัวใจคือ ลดการเกิดขยะด้วยการบริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งวงจรตั้งแต่การผลิตจนถึงการบริโภค

ที่ว่า ลดภาวะโลกรวนไปด้วยกัน คำว่า ด้วยกัน นั้นหมายถึง KBank และทุกคน ที่จะสามารถช่วยกันในเรื่องนี้ได้ ภายใต้หลักการ 8R ที่ไม่ยากจนเกินไปที่จะเริ่มต้นดูแลสิ่งแวดล้อม

สำหรับหลักการ 8R จะประกอบด้วย

  • Rethink คิดให้ถี่ถ้วนก่อนซื้อหรือบริโภคสินค้า
  • Reduce ลดการบริโภคที่มากเกินความจำเป็น
  • Reuse ใช้ซ้ำให้นานที่สุด
  • Recycle แยกขยะอย่างถูกวิธี เพื่อให้วัสดผ่านกระบวนการกลับมาใช้ใหม่ได้
  • Repair ซ่อมแซมสิ่งของใช้งานให้นานที่สุด
  • Regift ส่งต่อของที่ไม่ได้ใช้งานแล้วให้ผู้อื่นใช้งานต่อ
  • Recover นำของที่ไม่ได้ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์รูปแบบใหม่
  • Refuse ปฏิเสธสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น บรรจุภัณฑ์ซ้ำซ้อน วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งหมดนี้ช่วยลดการเกิดขยะที่ทำให้ลดการเกิดก๊าซมีเทน และลดการผลิตใหม่ที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย โดยสองก๊าซดังกล่าวคือก๊าซที่มีผลต่อภาวะโลกรวนโดยตรง และหากนึกไม่ออกว่าจะเริ่มต้นอย่างไร การนำแก้วกาแฟที่ยังใช้งานได้มาใช้เครื่องใช้สำนักงาน การสั่งอาหารแต่พอดี หรือการปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็นก็ช่วยได้ไม่น้อย

kbank

ชวนแชร์ไอเดียรักษ์โลก ต่อยอดคุณค่าเพื่อสังคม

นอกจากชวนทุกคนเปลี่ยนวิถีชีวิตมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น KBank ยังเปิดพื้นที่ให้ได้ร่วมสนุกเพื่อลงมือทำเพื่อโลกและส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้กับสังคม ด้วยการร่วมกิจกรรมบนเฟซบุ๊ก KBank Live มี 2 ขั้นตอนง่าย ๆ คือ

  1. เขียนคอมเมนต์ใต้โพสต์แคมเปญในเฟซบุ๊ก KBank Live แนบภาพบอกเล่าไอเดียหรือวิธีการรักษาสิ่งแวดล้อม อย่างน้อย 1R พร้อมติดแฮชแทก #GOGREENTOGETHER
  2. แชร์โพสต์เฟซบุ๊ก KBankLive ที่ให้ความรู้เรื่อง 8R และตั้งค่าเป็นสาธารณะ

ทุก 1 คอมเมนต์ ทาง KBank จะสนับสนุนเงิน 100 บาท รวมสูงสุด 1 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้แก่โรงพยาบาลในถิ่นทุรกันดาร ช่วยให้โรงพยาบาลเหล่านั้นประหยัดค่าไฟฟ้า และนำงบประมาณที่เหลือไปจัดหาเครื่องมือแพทย์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้ เป็นการต่อยอดกิจกรรมที่จะสร้างประโยชน์ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมไปพร้อม ๆ กัน

ถ้าใครยังอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับหลักการ 8R และตัวอย่างการใช้ชีวิตแบบรักษ์สิ่งแวดล้อมสามารถติดตามและร่วมกิจกรรมในแคมเปญได้จากเพจเฟซบุ๊ก KBank Live ตั้งแต่วันนี้จนไปสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2022

ทั้งหมดนี้คือรายละเอียดของแคมเปญ GO GREEN TOGETHER รวมถึงตัวอย่างของการเปลี่ยนวิถีชีวิตไปสู่การรักษ์สิ่งแวดล้อม และกลยุทธ์ของ KBank ในการก้าวสู่องค์กร Net Zero ที่นอกจากเริ่มจากตัวองค์กรเอง ยังสนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ด้วย

สรุป

GO GREEN TOGETHER เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนกลยุทธ์รักษ์สิ่งแวดล้อมของ KBank เพราะก่อนหน้านี้ทางธนาคารมีการทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่น สินเชื่อสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ถือเป็นการขับเคลื่อนเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ลูกค้า และประชาชนทั่วไปจับต้องได้จริง

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Branded Content เป็นบทความที่ได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์