KBank ประกาศ ชาเลนเจอร์แบงก์ เตรียมลงทุน 22,000 ล้านบาท เล็งปิดดีลซื้อกิจการ 2-5 ดีลใน 2 ปี

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า สำหรับปีนี้และในช่วงอีกสองปีข้างหน้า ธนาคารกสิกรไทยจะลงทุนประมาณ 22,000 ล้านบาทในระบบต่างๆ และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มเติมจากที่ลงทุนไปแล้ว 12,700 ล้านบาทตลอดสองปีที่ผ่านมา และในอีก 12 เดือนข้างหน้านี้ ธนาคารคาดว่าจะปิดดีลซื้อกิจการและความร่วมมือในเชิงพาณิชย์กับกิจการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี 2-5 ดีล โดยใช้เงินลงทุน 30,000 ล้านบาท

kbank

3 การพลิกโฉม ที่เกิดขึ้นเป็น ‘ครั้งแรก’

ขณะนี้ธนาคารกสิกรไทยกำลังบุกเบิกเรื่องการปล่อยสินเชื่อเฉพาะทาง ที่เรียกว่า buy-now-pay-later ให้กับผู้ที่ทำงานอิสระ หรือ ไม่มีเอกสารยืนยันรายได้ โดยจะพิจารณาอนุมัติจากข้อมูลอื่นๆ แทน

ในช่วงหลายเดือนก่อนหน้านี้ที่ได้ใช้วิธีการดังกล่าวไป ธนาคารกสิกรไทยอนุมัติสินเชื่อเฉลี่ย 1,600 รายต่อวัน มีวงเงินสินเชื่อโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,500 บาท และสูงสุด 20,000 บาทในบางราย

เนื่องจากมีผู้คนจำนวนมากในกลุ่มผู้ประกอบการประเภทนี้ เป็นผู้ที่ไม่มีเอกสารหลักฐานทางการเงิน ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อธนาคารได้ และถูกบังคับให้ต้องหันไปหาเงินกู้จากแหล่งอื่นๆ ที่มีดอกเบี้ยแพง

ขัตติยากล่าวต่อไปว่า อีกหนึ่งอุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่อสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และรวมไปถึงกลุ่มอาชีพอิสระไม่ว่าจะรายได้สูงหรือต่ำ คือไม่มีเวลาไปติดต่อใช้บริการที่สาขาธนาคาร หรืออาจจะรู้สึกไม่สบายใจนักที่จะเข้าไปติดต่อขอใช้บริการ

line bk

นอกจากนี้ ยังมีบริการ LINE BK ที่เกิดจากความร่วมมือกับ LINE เปิดโอกาสให้สมัครขอสินเชื่อได้ โดยรู้ผลอนุมัติภายใน 24 ชั่วโมง และถ้าเป็นผู้ที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารกสิกรไทยอยู่แล้ว จะสามารถสมัครขอสินเชื่อและรู้ผลการอนุมัติได้ภายในเวลาประมาณ 5 นาที

จากฐานข้อมูลในปัจจุบัน พบว่าในจำนวนผู้ขอสินเชื่อผ่านบริการ LINE BK ในแอปพลิเคชัน LINE ทั้งหมด มีถึงหนึ่งในสามเป็นผู้ที่เพิ่งเคยได้รับเงินกู้จากธนาคารเป็นครั้งแรกในชีวิต เกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมด เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ประมาณครึ่งหนึ่งมีรายได้ไม่ถึง 15,000 บาทต่อเดือน และเกือบ 80% อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด

ทั้งนี้ คาดหวังว่า ภายในสิ้นปีนี้ตั้งเป้าจะมีลูกค้ารายย่อยรวมถึงธุรกิจขนาดเล็กได้รับสินเชื่อจำนวนกว่า 600,000 ราย รวมวงเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท

kbank

ขยายช่องทางเข้าถึงบริการธนาคารในต่างจังหวัดผ่านร้านขายของชำ

ธนาคารกสิกรไทยยังอยู่ในระหว่างการเจรจากับกลุ่มค้าปลีก เพื่อนำเสนอช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อธุรกิจขนาดย่อมให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกขนาดเล็กของครอบครัวในต่างจังหวัด โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน นอกจากนั้น ธนาคารกสิกรไทยยังตั้งเป้าจะปล่อยสินเชื่อรายย่อยแก่ลูกค้าของร้านค้าดังกล่าวอีกด้วย

ธนาคาร ตั้งเป้าว่า ภายในสิ้นปีนี้จะสามารถขยายจำนวนร้านค้าที่ให้บริการปล่อยสินเชื่อเข้าไปในต่างจังหวัด ได้มากกว่าพันๆ ร้านค้าผ่านเครือข่ายพันธมิตร

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา