Kantar: เปิดผลสำรวจแบรนด์ในไทยประจำปี 2020 ใครยอดฮิต-ใครดาวรุ่ง-ใครม้ามืด

Kantar จัดอันดับ “Thailand Brand Footprint 2020” อันดับแบรนด์ที่ผู้บริโภค “เลือกซื้อมากที่สุด” และ “เติบโตสูงที่สุด” ในกลุ่มสินค้า FMCG ประเภทเครื่องดื่ม อาหาร นม สุขภาพและความงาม และดูแลบ้าน ที่ทุกคนต่างรอคอย วิเคราะห์โดยมาตรวัดอัตราการเข้าถึงผู้บริโภค Consumer Reach Points (CRPs) เอกสิทธิ์เฉพาะจาก Kantar เพื่อสะท้อนว่าแบรนด์ใด ชนะ “Moment of Truth” วิเคราะห์จาก 571 แบรนด์ และครอบคลุมผู้บริโภคทั่วทั้งประเทศไทย

แบรนด์ยอดฮิต

5 แบรนด์ ‘ยืนหนึ่ง’ ที่สุดในประเทศไทยได้แก่

  • Dutch Mill ผู้บริโภคเลือกซื้อสูงถึง 186 ล้านครั้ง สูงที่สุดในกลุ่มสินค้าประเภทนม
  • Mama (มาม่า) 170 ล้านครั้ง สูงที่สุดในกลุ่มสินค้าประเภทอาหาร
  • Nescafé 139 ล้านครั้ง สูงที่สุดในกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องดื่ม
  • Colgate 128 ล้านครั้ง สูงที่สุดในกลุ่มสินค้าประเภทสุขภาพและความงาม
  • Hygiene 116 ล้านครั้ง สูงที่สุดในกลุ่มสินค้าประเภทดูแลบ้าน

แบรนด์ดาวรุ่ง

5 แบรนด์ ‘ดาวรุ่ง’ ที่มีอัตราเติบโตสูงสุดในประเทศไทยได้แก่

  • Wall’s ผู้บริโภคเลือกซื้อสูงถึง 24 ล้านครั้ง สูงขึ้น 3.6 ล้านครั้ง ในกลุ่มสินค้าประเภทนม
  • Mitr Phol (มิตรผล) 53 ล้านครั้ง สูงขึ้น 4.7 ล้านครั้ง ในกลุ่มสินค้าประเภทอาหาร
  • Singha Drinking Water (น้ำดื่มสิงห์) 39 ล้านครั้ง สูงขึ้น 9 ล้านครั้ง ในกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องดื่ม
  • Tepthai (เทพไทย) 10 ล้านครั้ง สูงขึ้น 4.3 ล้านครั้ง ในกลุ่มสินค้าประเภทสุขภาพและความงาม
  • Pro (โปร) 28 ล้านครั้ง สูงขึ้น 4 ล้านครั้ง ในกลุ่มสินค้าประเภทดูแลบ้าน

แบรนด์ม้ามืด

เป็นที่น่าจับตามองสำหรับ 2 แบรนด์ “ม้ามืด” ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อสูงถึง 10 ล้านครั้งเป็นครั้งแรกได้แก่

  • C-vitt ผู้บริโภคเลือกซื้อสูงถึง 11 ล้านครั้ง สูงขึ้น 5.8 ล้านครั้ง ในกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องดื่ม
  • Tepthai (เทพไทย) 10 ล้านครั้ง สูงขึ้น 4.3 ล้านครั้ง ในกลุ่มสินค้าประเภทสุขภาพและความงาม

3 ปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อ

ในบรรดา 571 แบรนด์ กว่า 50% มีอัตรา CRPs ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ โดยมี 3 ประการเบื้องหลังความสำเร็จที่ทำให้ชนะใจผู้บริโภคมากขึ้นคือ Innovation Healthy และ Convenience ผู้บริโภคมองหาสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาตาม Lifestyle และความต้องการใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการจับจ่าย อัตราการเติบโตอาจกลายเป็นสิ่งที่ยากขึ้นซึ่งมาพร้อมกับ New Norm ความสำคัญที่สุดคือแบรนด์ต้องทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค ให้ดี ให้ลึก

5 สิ่งที่แบรนด์ต้องทำเพื่อการเติบโต

  • New Needs: การตระหนักรู้ถึงความต้องการของผู้บริโภค และสร้างหมวดหมู่สินค้าใหม่
  • More Moments: การสร้างช่วงเวลาหรือโอกาสในการจับจ่ายมากยิ่งขึ้น โดยการทำให้สินค้าพร้อมซื้อและมีความเกี่ยวข้องกับผู้บริโภค
  • More Categories: การสร้างหมวดหมู่สินค้าที่แตกต่างออกไป เพื่อดึงดูดผู้บริโภคกลุ่มใหม่ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้รับการตอบสนองจากสินค้าที่มีอยู่เดิมของแบรนด์
  • More Targets: การสร้างสินค้าที่ดึงดูดความต้องการของผู้บริโภคในวงกว้างขึ้น เพื่อดึงดูดเป้าหมายใหม่
  • More Presence: การเพิ่มจำนวนช่องทางจัดจำหน่าย ที่ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงและจับจ่ายได้

ฮาวเวิร์ด ชาง กรรมการผู้จัดการ ประเทศไทยและมาเลเซีย Kantar (Worldpanel Division) กล่าวว่า “ก่อนที่จะมีผลกระทบจาก COVID-19 การเติบโตของตลาด FMCG ในประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงรูปร่าง ‘L’ จากจุดสูงสุดในปี 2011 ตั้งแต่นั้นมาค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาโดยมีอัตราการเติบโตอยู่ระหว่าง -0.4% และ 0.9%

แม้การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคจะต่ำ แต่ก็ยังมีแบรนด์ที่ยังคงชนะใจผู้บริโภคมากขึ้นในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ เรียนรู้จากความสำเร็จจะช่วยให้เราเข้าใจกุญแจสำคัญและต่อยอดจากแบรนด์เหล่านี้ 

ผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายเงินสำหรับสินค้าพรีเมี่ยม หากสินค้านั้นมีความเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคและมีคุณค่าสูงกว่าราคา ตลาดอาหารและเครื่องดื่มตอบโจทย์สิ่งเหล่านี้ โดยการเน้นย้ำในเรื่องของสุขภาพ คุณประโยชน์ทางโภชนาการ และรสชาติที่แปลกใหม่”

Photo: Shutterstock

ชีวานนท์ ปิยะพิทักษ์สกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ประเทศไทยและมาเลเซีย Kantar (Worldpanel Division) เสริม “แม้กำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศไทยจะอ่อนแอลง จากอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น และมาตรการ Movement Control ต่างๆ ที่ส่งผลทำให้เกิดการหยุดชะงักในหลายธุรกิจ หากเรียนรู้จากวิกฤตทางการเงินครั้งก่อนๆ จะแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคมักจะมีวิธีการจัดการค่าใช้จ่ายของพวกเขาเสมอ 

คำถามคือ ‘สินค้าของแบรนด์ไหนมีความจำเป็น’ เมื่อวิกฤตเกิดขึ้น กลยุทธ์การตลาดต้องปรับตัวอย่างไรหากผู้บริโภคมี Price Sensitive มากขึ้น หาก Lifeline Journey ปัจจุบันคือการผสานระหว่างช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ดังนั้นการสื่อสารแบบ Holistic จะมีความจำเป็นกว่าที่เคย ที่น่าจับตามองคือการแข่งขันของตลาด FMCG ในวันนี้และวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดที่ยากกว่าเดิม

สุดท้ายแล้วแบรนด์ต้องไม่เพียงเข้าใจความต้องการผู้บริโภคแบบผิวเผิน แต่ต้องมองเข้าไปถึงแก่นแท้แบบเชิงลึก ต่อสิ่งที่พวกเขาคิด สิ่งที่พวกเขาซื้อ อะไรที่ทำให้เขาเปลี่ยนใจไปบริโภคอีกแบรนด์ เพื่อแบรนด์จะได้สร้างผลกำไรในระยะยาว สามารถยืนหยัดในตลาดทุกสถานการณ์ และทำให้เกิด ‘Footprint’ อย่างยั่งยืน”

ที่มา – Kantar

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา