นอนไม่หลับ ปัญหาการนอนที่พบเจอได้บ่อย อันตรายหรือไม่?

นอนไม่หลับ นอนหลับยาก อันตรายต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง?

นอนไม่หลับ

นอนไม่หลับเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน สาเหตุของการนอนไม่หลับมีหลายปัจจัย ตั้งแต่ความเครียดจากการทำงาน ปัญหาที่พบเจอในแต่ละวัน หรือรวมถึงปัจจัยทางสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ นอกจากนี้ ภัยเงียบจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือก่อนนอนก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนอีกด้วย

หากคุณกำลังพบเจอปัญหานอนไม่หลับนอนหลับยากเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้ร่างกายอ่อนล้า อารมณ์แปรปรวน ไม่มีสมาธิในการทำงานและอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงอื่น ๆ ตามมา

อาการนอนไม่หลับคืออะไร?

นอนไม่หลับ (Insomnia) คือ ภาวะที่บุคคลหนึ่งมีปัญหาในการนอนหลับ ทั้งปัญหานอนไม่หลับ หรือสะดุ้งตื่นบ่อยครั้งในระหว่างคืน จนทำให้รู้สึกพักผ่อนไม่เพียงพอ มีอาการอ่อนเพลียตลอดทั้งวัน ภาวะนอนไม่หลับสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทหลัก ได้แก่ 

  • นอนไม่หลับชั่วคราว (acute insomnia) เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ มักมีสาเหตุมาจากความเครียดหรือความกังวล 
  • นอนไม่หลับเรื้อรัง (chronic insomnia) เป็นอาการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมากกว่า 3 คืนต่อสัปดาห์และติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน อาจพัฒนาไปสู่การเป็นโรคนอนไม่หลับได้ 

มีปัญหาการนอน นอนไม่หลับ ปรึกษาคุณหมอที่แอปฯ BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ส่งยาถึงที่ 

นอนไม่หลับมีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร?

สะดุ้งตื่นกลางดึก

นอนไม่หลับส่งผลให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ บางครั้งอาจสะดุ้งตื่นกลางดึกหรือตื่นกลางดึก และไม่สามารถกลับไปนอนหลับได้ปกติ ซึ่งมีผลเสียต่อร่างกายโดยตรง เช่น

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้
  • เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น เช่น ไข้หวัด น้ำมูก อาเจียน ปวดหัว
  • ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติ อ้วนง่ายขึ้น
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เครียด วิตกกังวล
  • เสี่ยงเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน
  • เสี่ยงเกิดโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคแพนิก 
  • มีปัญหาด้านความจำ ความสามารถในการตัดสินใจ
  • เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

นอนไม่หลับและการวินิจฉัยมีขั้นตอนอย่างไร?

เพื่อให้การรักษาโรคนอนไม่หลับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในขั้นตอนการวินิจฉัยโดยแพทย์จึงเป็นส่วนสำคัญ เพราะอาการนอนไม่หลับอาจเป็นผลจากโรคหรือภาวะอื่นที่ซ่อนอยู่ โดยทางการแพทย์จะมีวิธีวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับ ดังนี้

  • ซักประวัติการนอนหลับ แพทย์จะสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับนิสัยการนอน เวลานอน เวลาตื่น รวมถึงสภาพแวดล้อมในห้อง และอาการอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง เช่น การตื่นกลางดึก ความวิตกกังวล หรือนอนแล้วมีอาการกระตุกร่วมด้วย
  • ตรวจร่างกายโดยรวม เพื่อหาสาเหตุที่แฝงอยู่ซึ่งอาจเป็นต้นตอของภาวะนอนไม่หลับ แพทย์จะตรวจสอบอาการทางกายภาพต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ
  • บันทึกไดอารี่การนอน ทางแพทย์จะให้ผู้ป่วยช่วยบันทึกเวลาการนอนหลับ เวลาตื่น อารมณ์ และพฤติกรรมที่อาจส่งผลต่อการนอน เพื่อหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับกระสับกระส่าย ช่วยให้แพทย์เห็นภาพรวมของปัญหาการนอนหลับของผู้ป่วยได้อย่างละเอียด
  • Sleep Test เป็นการตรวจการนอนหลับในห้องปฏิบัติการเฉพาะ โดยจะติดเซนเซอร์เพื่อวัดการทำงานของร่างกายในขณะนอนหลับ เช่น การทำงานของสมอง การเคลื่อนไหวของดวงตา การเต้นของหัวใจ การหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เป็นต้น โดย Sleep Test ช่วยยืนยันการวินิจฉัยและหาสาเหตุของการนอนไม่หลับที่ซับซ้อน อย่างโรคหยุดหายใจขณะหลับ หรือภาวะพฤติกรรมผิดปกติขณะนอนหลับ (Parasomnias) เช่น ละเมอลุกขึ้นเดินจากที่นอนขณะหลับ หรือมีอาการขยับตัวที่ผิดปกติอื่น ๆ

นอนไม่หลับสามารถรักษาด้วยวิธีใดบ้าง?

อาการนอนไม่หลับสมองไม่หยุดคิดหรือมาจากความกังวลและความเครียดสะสม แนวทางการรักษามีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี ซึ่งวิธีทำให้นอนหลับเป็นปกติได้นั้นควรเข้ารับการรักษากับแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้นและเลือกใช้วิธีรักษาอย่างถูกต้อง โดยวิธีรักษาอาการนอนไม่หลับ มีดังนี้

  • รักษาโดยไม่ใช้ยา เป็นแนวทางการรักษาด้วยการบำบัดด้านพฤติกรรม เพื่อมุ่งเน้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตประจำวันส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้น เช่น ตั้งเวลาเข้านอนและตื่นนอนให้สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการนอนที่เงียบสงบ เป็นต้น
  • รักษาโดยใช้ยา เป็นแนวรักษาอาการนอนไม่หลับหลังจากที่ผู้ป่วยพยายามรักษาด้วยวิธีการบำบัดพฤติกรรมแล้วไม่ได้ผล ซึ่งกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาแต่ละชนิดจะแบ่งตามอาการของผู้ป่วย โดยกลุ่มยาที่แพทย์นิยมใช้รักษาอาการนอนไม่หลับคือ Benzodiazepines ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้หลับง่ายขึ้น ยาชนิดนี้มีทั้งแบบออกฤทธิ์สั้นและยาว ซึ่งแพทย์จะเลือกให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย เช่น ผู้ที่หลับยากแต่หลับสนิท แพทย์อาจให้ยาออกฤทธิ์สั้น ส่วนผู้ที่ตื่นกลางดึกอาจได้ยาออกฤทธิ์ยาว อย่างไรก็ตาม หากใช้ยาไม่ถูกต้องหรือติดต่อกันนาน อาจเกิดอาการติดยาได้

มีอาการนอนไม่หลับ เริ่มดูแลตนเองเพื่อป้องกันอย่างไรดี?

วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีอาการนอนไม่หลับสามารถทำได้หลายวิธี เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับระยะแรก โดยแนะนำให้เริ่มต้นด้วยวิธีแก้อาการนอนไม่หลับแบบวิธีธรรมชาติ =

  • เข้านอนและนอนหลับให้เป็นเวลา เพื่อให้ร่างกาย ปรับสมดุลการให้เป็นปกติ
  • จัดสภาพแวดล้อมห้องนอนให้เหมาะกับการนอนหลับ เช่น ปิดไฟให้มืด เปิดแอร์อุณหภูมิพอเหมาะ
  • เมื่ออยู่บนเตียงนอนแล้วต้องปรับพฤติกรรมตนเอง โดยห้ามทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น นอนดูหนัง นอนเล่นมือถือ หรือทำงานเพื่อให้เราโฟกัสกับการนอนเพียงอย่างเดียว
  • หากิจกรรมที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย จิตใจสงบก่อนเข้านอนประมาณ 30 นาที
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนหลังเที่ยง
  • ลองงดการนอนหลับตอนกลางวัน 

อย่าปล่อยให้ปัญหาการนอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อชีวิตของคุณ

ปัญหาการนอนไม่หลับเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของหลาย ๆ และหากเกิดอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทางกายและทางจิตใจตามมาได้ 

แต่ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะการนอนไม่หลับในระยะแรกสามารถปรับปรุงได้ด้วยตนเอง โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน เช่น การกำหนดเวลานอนให้เป็นประจำทุกวัน การสร้างบรรยากาศห้องนอนที่ผ่อนคลาย และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือก่อนนอน หากลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษาปัญหาการนอนไม่หลับเบื้องต้น เครียด Burnout วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือปัญหาสุขภาพใจอื่น ๆ สามารถปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกที่แอปพลิเคชัน BeDee จากเครือ BDMS ได้ทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว ส่งยาถึงที่ดาวน์โหลด BeDee

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา