เร่งทำตลาด หลังคู่ต่อสู้เพลี่ยงพล้ำ ปั้น “หัวเว่ย” ขยับแชร์สมาร์ทดีไวซ์

การแข่งขันทางธุรกิจ เมื่อมีฝ่ายใดเพลี่ยงพล้ำ ก็จะถูกผู้เล่นรายอื่นส่งกลยุทธ์มาเหยียบย้ำให้จมดิน ซึ่งครั้งนี้เกิดขึ้นกับวงการสมาร์ทดีไวซ์ หลัง Galaxy Note 7 รุ่นเรือธงของ “ซัมซุง” ดันเกิดปัญหา จนต้องเรียกคืนเครื่องไปทั้งหมดก่อนวางจำหน่าย ดังนั้นผู้เล่นรายอื่นจึงเร่งทำกลยุทธ์การตลาด หนึ่งในนั้นคือ “หัวเว่ย” เบอร์หนึ่งสมาร์ทโฟนจากจีน

อัดงบไม่ยั้งหวังปั้นแบรนด์เป็นที่รู้จักในไทย

ทศพร นิษฐานนท์ รองผู้อำนวยการ บริษัท หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด บอกว่า ในเดือนมิ.ย. บริษัทได้ใช้งบประมาณกว่า 150 ล้านบาทเพื่อทำตลาดสมาร์ทโฟนตระกูล P9 ที่มีกล้องหลังคู่ และร่วมออกแบบกับ Leica (ไลก้า) ยักษ์ใหญ่ในวงการถ่ายภาพ แต่หลังจากนี้จะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เน้นไปที่การสร้างการรับรู้แบรนด์ “หัวเว่ย” ในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายสิ้นปีที่ 85% ของประชากรไทยต้องรู้จักแบรนด์หัวเว่ย จากปัจจุบันอยู่ราว 60%

“หลังจากนี้จะมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ เข้ามาทำตลาดคอนซูเมอร์อีก โดยหัวเว่ยจะชูเรื่องการตอบโจทย์ในทุกระดับราคา ผ่านสเปกที่คุ้มค่า เช่นสมาร์ทโฟนตอนนี้เรามีตระกูล P9 เป็นรุ่นเรือธง ราคามากกว่า 15,000 บาท รองลงมาเป็นตระกูล Mate และ Y ครอบคลุมตั้งแต่ราคา 5,000 บาทขึ้นไป ทำให้ปีนี้บริษัทตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาดสินค้าคอนซูเมอร์ หรือสมาร์ทโฟน กับแท็บเลต ในประเทศไทยไว้ที่ 5% และสร้างรายได้เพิ่มเป็นเท่าตัว ส่วนใหญ่มาจากสินค้ากลุ่มสมาร์ทโฟน และราว 2 ดิจิตต้นๆ จะมาจากสินค้าแท็บเลต”

%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b8%97%e0%b8%a8%e0%b8%9e%e0%b8%a3

โคแบรนด์ดิ้งช่วยเพิ่มภาพลักษณ์

ทั้งนี้ “หัวเว่ย” เลือกใช้วิธี “โคแบรนด์ดิ้ง หรือการร่วมกับแบรนด์ชั้นนำต่างๆ ในการพัฒนาสินค้า โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อกลางปี 2558 ผ่านการร่วมกับ Harman Kardon (ฮาร์มัน คาร์ดอน) ยักษ์ใหญ่ในวงการเครื่องเสียง ผ่านการให้ฝั่งนั้นร่วมออกแบบแท็บเลต Media Pad M2 ทำให้มีจุดเด่นเรื่องเสียง หลังจากนั้นเมื่อกลางปีนี้ได้ร่วมกับ Leica ในการพัฒนากล้องบนสมาร์ทโฟนรุ่น P9 และล่าสุดได้ส่งแท็บเลตรุ่นใหม่ Media Pad M3 โดยร่วมกับ Harman Kardon อีกครั้ง เพื่อใช้แบรนด์ดังช่วยสื่อสารการตลาด

“วิธีที่ง่ายที่สุดในการทำให้แบรนด์ที่ไม่เป็นรู้จักโด่งดังขึ้นมา หนึ่งในนั้นคือการร่วมกับแบรนดืที่มีชื่อเสียง และมีจุดเด่นในนวัตกรรมแต่ละประเภทอยู่แล้ว เพราะเมื่อแบรนด์ที่ไม่เป็นที่รู้จัก มีการซัพพอร์ทจากแบนด์ดัง ความน่าเชื่อถือก็มีมากขึ้น ซึ่งหัวเว่ยเองก็พยายามทำให้ผู้บริโภครู้จักมากขึ้น โดยการร่วมกับ Leica ก็ทำให้แบรนด์เราเป็นที่สนใจมากขึ้น และจากนี้จะมีการทำตลาดด้วยวิธีนี้อย่างต่อเนื่อง เช่นชูเรื่องระบบเสียงที่จูนโดย Harman Kardon ทำให้การรับชมมัลติมีเดียต่างๆ ได้ประสิทธิภาพสูงสุด”

p9_2

ตลาดแท็บเลตเริ่มนิ่ง

อย่างไรก็ตามตลาดแท็บเลตในประเทศไทยเริ่มทรงตัวแล้ว หลังจากหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนมียอดขายทั้งตลาด 5 แสนเครื่อง/ปี จากที่เคยขายเป็นหลักล้านเครื่องเมื่อ 2 – 3 ปีก่อนตามข้อมูลของบริษัทวิจัยไอดีซี ดังนั้นตลาดแท็บเลตจึงมีช่องว่างให้เข้าไปอยู่ โดยการเข้าไปทำตลาดของหัวเว่ยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ระดับเริ่มต้นราคาต่ำกว่า 5,000 บาท ในตระกูล T ที่รุ่น T2 จะรองรับ 4G ในราคา 4,590 บาท และรุ่นไฮเอนด์ Media Pad M3 ราคา 12,990 บาท

tablet-1632908_1920

สรุป

ก่อนหน้านี้ตลาดแท็บเลตถูกขับเคลื่อนโดยโครงการแท็บเลตนักเรียน ทำให้ผู้บริโภคตอนนั้นอยากได้อุปกรณ์นี้ และแท็บเลตราคาถูกจากจีนก็ขายดีมาก แต่พอผู้บริโภครู้แล้วว่าแท็บเลตใช้อะไรได้บ้าง ความนิยมก็เริ่มลดลง ดังนั้นถ้าจะทำตลาดแท็บเลตตอนนี้ต้องสื่อให้ผู้บริโภครู้ให้ได้ว่า แท็บเลตที่มีขนาดจอ 7 นิ้ว มีอะไรแตกต่างจากสมาร์ทโฟน 5.5 นิ้วบ้าง

 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา