สถานการณ์ล่าสุดของโรคโควิด-19 ตอนนี้ ไวรัสระบาดทั่วโลกติดเชื้อรวมกว่า 90,000 ราย เสียชีวิตแล้วกว่า 3,000 ราย ผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีน แต่สองสัปดาห์ล่าสุดเริ่มมีการแพร่ระบาดมากขึ้นทั้งในยุโรป ตะวันออกกลาง สหรัฐอเมริกา และยังมีเคสใหม่ๆ เกิดขึ้นในแอฟริกาและละตินอเมริกาด้วย
2 เดือนที่ผ่านมา หลายประเทศในเอเชียรับมือกับโควิด-19 หลายด้านด้วยกัน ทั้งจำกัดการเดินทาง ทั้งกักกันโรค ไปจนถึงมาตรการฉุกเฉินที่จะยับยั้งไม่ให้ไวรัสแพร่ระบาดหนักกว่าเดิม ทั้งนี้ CNN ได้ถอดบทเรียนทั้งดีและร้ายที่ประเทศในเอเชียรับมือกับโควิด-19 ดังนี้
จงโปร่งใสกับสาธารณชน
ความโปร่งใสของรัฐบาลและการที่ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วถึง การให้ความช่วยเหลือด้วยการให้ความรู้กับพลเมืองของประเทศว่าด้วยเรื่องความเสี่ยงและมาตรการเฝ้าระวังที่จำเป็น ช่วยลดความหวาดกลัวของประชาชนได้ดี ในแง่นี้รวมถึงการจัดการข่าวลือได้อย่างชาญฉลาดของรัฐด้วย
สิงคโปร์ ส่งข้อมูลอัพเดตให้สาธารณชนรับรู้ทุกวัน มีการติดเชื้อเพิ่มใหม่กี่ราย มีคนไข้กี่รายที่รักษาหายและถูกปล่อยตัวออกจากโรงพยาบาลแล้ว และมีเคสใหม่ๆ ที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้นกี่ราย รัฐบาลสิงคโปร์แม้เป็นเพียงประเทศขนาดเล็กแต่ทีมผู้บริหารและผู้นำประเทศปกครองประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดการโควิด-19 จนองค์การอนามัยโลกประทับใจ
ในฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ หน่วยงานรัฐบาลทำหน้าที่รณรงค์ให้ข้อมูลข่าวสารเชิงรุกแก่ประชาชนเสมอ สิ่งใดที่สามารถทำได้ หรือทำไม่ได้ มีการกระจายข่าวสารทั่วประเทศผ่านโปสเตอร์ โฆษณาทางโทรทัศน์ ฯลฯ ในญี่ปุ่น พบว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อหวัดธรรมดาลดลงอย่างมาก เพราะมีการทำความเข้าใจ สร้างความตระหนักรู้ ให้การศึกษาแก่ประชาชนอยู่ตลอดเวลา
การขาดแคลนข้อมูลที่เชื่อถือได้ ทำให้เกิดข่าวลือเพิ่มขึ้นง่าย ในสิงคโปร์เมื่อมีข่าวลือจะมีการจัดการกับข่าวลือนั้นทันที ทำให้ข้อมูลข่าวลือหยุดแพร่กระจายอย่างรวด ทั้งนี้ ความโปร่งใสของข้อมูล ช่วยลดความหวาดกลัวของผู้คนได้
สิ่งสำคัญคือ รัฐบาลต้องกล้าที่จะแบ่งปันข้อมูลข่าวสารที่เป็นความจริงกับสาธารณชนช่วยลดอัตราการตายได้ ในเดือนธันวาคมที่่ผ่านมา หลังไวรัสเริ่มแพร่กระจาย หมอหลี่ เหวินเหลียงพยายามเตือนประชาชน จนถูกตำรวจจับและเสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์
Whistle-blower doctor, Li Wenliang, has died from the coronavirus. Police had accused him of “spreading rumours” when he posted warnings online about the outbreak https://t.co/G5u6bSKeuH pic.twitter.com/czhcflehr6
— SCMP News (@SCMPNews) February 7, 2020
รักษาระยะให้ห่างจากสังคม: เก็บตัวบ้างก็ได้ อย่าไปอยู่รวมตัวกันในพื้นที่เสี่ยง
ไวรัสแพร่กระจายง่ายโดยเฉพาะในพื้นที่ปิด มาตรการที่สำคัญที่สุดที่รัฐบาลจะสามารถทำได้ คือการให้ประชาชนหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ใกล้กัน หลีกเลี่ยงที่จะอยู่รวมกันเยอะๆ ในพื้นที่ปิด หลายประเทศในเอเชียเลือกใช้มาตรการหยุดการเรียนการสอน ยกเลิกการรวมตัวกันเยอะๆในงานเทศกาลต่างๆ เช่น เทศกาลตรุษจีน ปิดพื้นที่ที่ให้ใช้งานสาธารณะเช่น สระว่ายน้ำ และให้ประชาชนทำงานจากบ้านได้ (Work from home)
ในจีน จำนวนครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรหรือราว 780 ล้านรายถูกจำกัดการเดินทาง ต้องเริ่มมาตรการที่จะทำให้ผู้คนอยู่ห่างกัน เมืองใหญ่หลายแห่งในยุโรปเริ่มใช้มาตรการนี้แล้ว เราจะเห็นอิตาลีมีการระบาดอย่างรวดเร็วช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่ฝรั่งเศสมีการปิดโรงเรียนไปแล้วกว่า 100 แห่ง ส่งผลกระทบต่อนักเรียนราว 28,000 ราย พิพิธภัณฑ์ Louvre และ opera house ในมิลานก็ถูกสั่งปิด งานฮาฟมาราธอนในปารีสก็ถูกยกเลิก
รู้จักเตรียมตัวก่อน ประเมินให้ไว ใช้มาตรการเชิงรุก จะได้ไม่พ่ายแพ้ต่อไวรัส
รัฐบาลสามารถเตรียมตัวก่อนที่ไวรัสจะแพร่กระจายได้ เดือนมกราคมหลังจากมีข้อมูลชัดเจนแล้วว่าไวรัสระบาดอย่างรวดเร็วในเอเชีย หลายประเทศเตรียมพร้อมรับมือด้วยการจัดพื้นที่เพื่อเป็นสถานที่กักกันโรค มีการสั่งซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ล่วงหน้า และจัดตั้งคณะกรรมมาธิการหลายภาคส่วนเพื่อรับมือฉุกเฉิน
ไต้หวัน ตอบสนองกับการแพร่ระบาดของไวรัสอย่างรวดเร็ว จัดตั้งศูนย์สั่งการภายในปลายเดือนมกราคมทันที ภายหลังที่มีการติดเชื้อคนแรกในไต้หวัน จัดเตรียมเตียงพยาบาลสำหรับแยกผู้ติดเชื้อทันทีกว่า 1,000 เตียง ตามด้วยจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และจัดการกับข่าวลืออย่างรวดเร็ว ในฮ่องกง สเปรย์ฆ่าเชื้อ กระดาษชำระ หน้ากากอนามัย ทิชชูเปียกสำหรับฆ่าเชื้อขาดตลาดทันทีหลังไวรัสระบาด
ไทย เป็นพื้นที่แรกที่มีการแพร่ระบาดไวรัสนอกจีน หลังพบเคสแรกที่ติดเชื้อ ทางการจัดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิทั้งในฮับการขนส่งทันที หลายประเทศในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เริ่มใช้มาตรการแบบเดียวกับไทย ซานฟรานซิสโกประกาศภาวะฉุกเฉิน หลายมลรัฐประกาศใช้เงินเพื่อเตรียมพร้อมรับมือไวรัสระบาด
นิวยอร์กเตียมพร้อมหลายสัปดาห์ มีการจัดจำหน่ายหน้ากากอนามัยกว่า 1.5 ล้านชิ้น มีการร้องขอให้เพิ่มจำนวนการจำหน่ายหน้ากากอนามัยกว่า 300,000 ชิ้น มีการเตรียมพร้อมเตียงในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1,200 เตียงเพื่อแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส
ตรวจสอบให้ไว ลดอัตราความเร็วในการแพร่กระจายของไวรัส
เกาหลีใต้คือตัวอย่างที่ดีในแง่ของการแพร่กระจายของไวรัส การตรวจสอบขั้นต้น การเฝ้าระวัง การรายงานผลของอาการจาการติดเชื้อ ช่วยเรื่องนี้ได้มาก กระทรวงสาธารณสุขออกแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ทโฟนเพื่อให้ประชาชนตรวจเช็คอาการของพวกเขาได้เองทุกวัน พวกเขาสามารถแจ้งข้อมูลกับหน่วยงานรัฐในพื้นที่ได้หากมีเหตุจำเป็นที่ต้องร้องขอเพื่อให้ความช่วยเหลือ
เกาหลีใต้ยังทำสถานที่ที่ประชาชนสามารถขับรถเข้าไปตรวจเช็คอาการได้เอง (drive-through coronavirus testing site) ใช้เวลาไม่กี่นาทีก็สามารถตรวจเช็คได้โดยไม่จำเป็นต้องลงจากรถยนต์ ทำให้ง่ายต่อการตรวจสภาพร่างกายตัวเองและยังปลอดภัยต่อบุคลากรทางกรแพทย์ด้วย
ฝึกทำทุกกระบวนการที่สร้างสุขพลานามัยที่ดีอยู่เสมอ
ล้างมือบ่อยครั้งด้วยสบู่และน้ำ ใช้เวลากับมันอย่างน้อย 20 วินาที ปกป้องตัวเองจากการไอ จามในที่สาธารณะจพยายามป้องกันไม่ให้สารคัดหลั่งของตัวเองแพร่กระจายใส่ผู้อื่นเสมอ ไม่ว่าจะด้วยการใช้หน้ากากอนามัยหรือผ้าเช็ดหน้า หรือทิชชูเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย หลีกเลี่ยงที่จะสัมผัสตา ปาก และใบหน้าตัวเองเพื่อป้องกันตัวเองก่อนเบื้องต้น หลายประเทศรณรงค์เรื่องนี้
เสนอให้พนักงาน Work from home หรือให้ความยืดหยุ่นการอยู่ออฟฟิศ
ผู้คนนับล้านๆรายในเอเชียสามารถทำงานจากที่บ้านได้ หรือไม่ก็มีเวลายืดหยุ่นในการนั่งทำงานในออฟฟิศ หลายบริษัทให้พนักงานทำงานจากบ้าน เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องเข้าทำงานในออฟฟิศ หลายโรงเรียนหยุดทำการ พ่อแม่ทำงานจากบ้านเพราะต้องดูแลลูกๆ หลายบริษัทใช้ vdo conference ใช้แอปพลิเคชันส่งข้อความสื่อสารกัน เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของไวรัส ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อเมื่อผู้คนมารวมตัวกัน
Highly requested pictures ??
They limited toilet paper to one customer, but still …
Also nearly sold out: rice, some instant noodles, some sanitary products #coronavirusjapan pic.twitter.com/Z039qRi11z
— Tokyo_Diaries 東京日記 (@tinastokyodiary) February 29, 2020
อย่าซื้อสินค้าด้วยความตระหนก
ในฮ่องกงมีการแห่ซื้อสินค้าอย่างหนักหน่วงเพราะความกลัวไวรัสระบาด ทั้งกระดาษชำระ ทั้งหน้ากากอนามัย ทิชชูเปียกที่สามารถฆ่าเชื้อได้ รวมไปถึงข้าวสารอาหารแห้ง ในฮ่องกงยังมีการปล้นกระดาษทิชชูด้วย
Coronavirus – Cats and dogs ‘thrown from tower blocks’ in China after fake news rumours animals are causing spread https://t.co/2BXWfO42fk
— R E A L I S T I C (@Realist50063598) February 27, 2020
อย่ากลัวสัตว์เลี้ยงของตัวเอง
มีการตรวจพบเชื้อไวรัสในสัตว์เลี้ยงที่ฮ่องกงในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้คนเลี้ยงสัตว์กลัวที่จะสัมผัสสัตว์เลี้ยงเพราะกลัวติดเชื้อไวรัส ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า มันไม่ได้เกิดขึ้นทั่วไป โคโรนาไวรัสสามารถอยู่บนพื้นผิววัตถุต่างๆ ได้ หมายความว่า มันอาจจะอยู่บนตัวหมา ตัวแมว แต่ไม่ได้ติดเชื้อไวรัส
Sheila McClelland ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ Lifelong Animal Protection ในฮ่องกง ระบุว่า เชื้อไวรัสที่อยู่บนตัวหมาแมวมันไม่ได้กระจายเชื้อให้ติดได้ง่ายเหมือนวัตถุต่างๆที่เราสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นลูกบิดประตู เสาหรือราวในรถไฟฟ้าที่คนติดเชื้อไวรัสไปสัมผัสทิ้งไว้ อย่ากักกันสัตว์เลี้ยงหรือใส่หน้ากากให้หมาแมว แต่ให้ล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสสัตว์เลี้ยง และอย่าลืมเอาทิชชูฆ่าเชื้อโรคเช็ดหรือทำความสะอาดที่อุ้งเท้าสัตว์เลี้ยงด้วย หลังจากที่ปล่อยพวกเขาออกไปนอกบ้าน
Pet cats and dogs cannot pass the new coronavirus on to humans, but they can test positive for low levels of the pathogen if they catch it from their owners. https://t.co/i61dHjhnRD
— The Associated Press (@AP) March 5, 2020
อย่าเหยียด เกลียดกลัว หรือต่อต้านคนติดเชื้อไวรัส อย่าเหยียดกลัวคนเอเชีย
ลำพังแค่ติดเชื้อไวรัสก็แย่พอแล้ว การแสดงอาการเหยียดต่อคนติดเชื้อ ต่อคนป่วย ไม่ช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้น วิธีที่เหมาะสมคือกักกันโรค ให้เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์พอๆ กับที่คุณเคารพตัวเอง ไม่มีใครอยากติดเชื้อไวรัสหรืออยากเป็นตัวแพร่กระจายไวรัสหรอก
It’s appalling to see new reports of people being targeted due to their race, ethnicity or purported association with #COVID19. @WHO once again calls for an end to stigmatization & discrimination at a time when solidarity and compassion must be paramount. https://t.co/yH501Q7BoY
— Tedros Adhanom Ghebreyesus (@DrTedros) March 4, 2020
อย่ากลัวจนตื่นตระหนก
รัฐบาลมีหน้าที่รับมือกับไวรัสระบาด และยังมีหน้าที่ทำให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนก เพียรบอกแผนการรับมืออย่างสม่ำเสมอ อย่าปิดบังข้อมูล ยิ่งประชาชนรับรู้ความจริงมากเท่าไร ยิ่งทำให้ความกลัวลดน้อยลง อัตราการตายของไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 อยู่ที่ 2% สูงกว่าอัตราการตายจากไข้หวัดใหญ่ 0.1% ต่ำกว่าโรคซาร์สอยู่ที่ 9.6% และต่ำกว่าเมอร์ส 35%
คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอทั้งผู้สูงวัย ทั้งเด็กล้วนมีโอกาสติดเชื้อไวรัสจนเป็นสาเหตุทำให้ป่วยหนัก ช่วยกันดูแลตัวเอง ดูแลสังคม อย่าโทษกันไปมา อย่าโทษสื่อมวลชนที่พูดความจริง เรียนรู้ความจริงที่เกิดขึ้นทั่วโลกเพื่อจะรับมือกับไวรัสระบาด โรคโควิด-19 ได้อย่างไม่ตื่นตระหนก
ที่มา – CNN
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา